ศัพทมูลวิทยา ของ ชอร์บา

คำว่า ชอร์บา ในภาษาต่าง ๆ มีที่มาหลากหลาย โดยอาจแผลงมาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นว่า ชูรบะฮ์ (شوربة)[3][4] ซึ่งแปลว่า 'ซอสข้น';[5] แผลงมาจากศัพท์ในภาษาเปอร์เซียว่า โชร์บา (شوربا) ซึ่งมาจากคำว่า โชร์ (شور, 'เค็ม') ประสมกับคำว่า อาบ (آب, 'น้ำ') หรือคำว่า มา (ما, 'สตู, แกง');[6] หรืออาจมาจากคำที่สมมุติว่าเป็นคำร่วมเชื้อสายคำหนึ่งซึ่งพบทั้งในภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย[7]

ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ชอร์เบอ (โรมาเนีย: ciorbă), ชอร์โป (คีร์กีซ: шорпо), โชร์บา (อามารา: ሾርባ), โชร์ปา (อุยกูร์: شورپا / шорпа), โชร์วา (ปาทาน: شوروا; อุซเบก: shoʻrva), ชูร์บัด (โซมาลี: shurbad), ชูร์ปา (รัสเซีย: шурпа) และ โซร์ปา (คาซัค: сорпа / sorpa)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชอร์บา http://www.afghankitchenrecipes.com/recipe/shorwa-... https://books.google.com/books?id=HCLPCgAAQBAJ&q=s... https://books.google.com/books?id=gFK_yx7Ps7cC&q=s... https://books.google.com/books?id=le8uAQAAIAAJ https://books.google.com/books?id=pZ-1AQAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=zINY5Dpa_-kC&q=s... https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/foo... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Chorba... https://a1.ro/lifestyle/food/ce-ciorba-prefera-sa-... https://adevarul.ro/locale/iasi/teorii-istorie-cul...