ความตึงเครียดของชั่วรุ่น ของ ชั่วรุ่น

นอร์แมน ไรเดอร์ เขียนใน บทปฏิทัศน์สังคมวิทยาอเมริกา ในปี 2508 เผยแพร่แก่วิชาสังคมวิทยาในเรื่องความขัดแย้งระหว่างชั่วรุ่นโดยเสนอว่าสังคม "ยังคงอยู่แม้สมาชิกปัจเจกของสังคมเสียชีวิต ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมประชากรศาสตร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรุ่นเกิดประจำปี" เขาแย้งว่าชั่วรุ่นบางทีอาจเป็น "ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพ" แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของ "โอกาสสำหรับการแปลงสภาพสังคม"[13] ไรเดอร์พยายามเข้าใจพลวัตที่มีบทบาทระหว่างชั่วรุ่น

ในเรียงความปี 2550 ที่ตีพิมพ์ใน วารสารปัญหาสังคม อะแมนดา เกรนิเยร์เสนอคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความตึงเครียดของชั่วรุ่น เกรนิเยร์ยืนยันว่าชั่วรุ่นต่าง ๆ พัฒนาแบบจำลองภาษาของตนเองซึ่งเอื้อต่อความเข้าใจผิดระหว่างรุ่นอายุ "คนสูงอายุและอายุน้อยมีวิธีพูดต่างกัน และอาจอธิบายบางส่วนได้จากจุดอ้างอิงในประวัติศาสตร์สังคม ประสบการณ์ที่ตัดสินทางวัฒนธรรมและการตีความของปัจเจก"[14]

คาร์ล มันน์ไฮม์ เขียนในหนังสือ เรียงความว่าด้วยสังคมวิทยาแห่งความรู้ เมื่อปี 2495 ยืนยันความเชื่อว่าบุคคลก่อรูปร่างขึ้นจากประสบการณ์มีชีวิตอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ฮาวและสเตราส์ยังเขียนเรื่องความคล้ายกันของบุคคลในชั่วรุ่นหนึ่งว่ามีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากวิธีที่ประสบการณ์มีชีวิตเหล่านี้ก่อกำเนิดชั่วรุ่นในแง่ค่านิยม ผลคือชั่วรุ่นใหม่จะคัดค้านค่านิยมของชั่วรุ่นเก่ากว่าทำให้เกิดความตึงเครียด การคัดค้านดังกล่าวระหว่างรุ่นและความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นจุดนิยามสำหรับการทำความเข้าใจชั่วรุ่นและสิ่งที่แยกชั่วรุ่นต่าง ๆ[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชั่วรุ่น http://www.mccrindle.com.au/resources.htm http://members.optusnet.com.au/exponentialist/Gene... http://www.history.com/topics/baby-boomers http://usatoday30.usatoday.com/money/advertising/s... http://money.usnews.com/money/retirement/articles/... http://www.wisegeek.com/what-is-generation-jones.h... http://docupedia.de/zg/Jureit_generation_v2_en_201... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.koreaherald.co.kr/NEWKHSITE/data/html_d...