รายการของรุ่น ของ ชั่วรุ่น

โลกตะวันตก

ภาพถ่ายนี้แสดงสี่ชั่วรุ่นของครอบครัวหนึ่ง: เด็กทารก แม่ ยาย และทวดของเขา (2008)

"โลกตะวันตก" สามารถนับรวมทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ อาจมีการแปรผันได้มากในภูมิภาคเหล่านี้ทั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม หมายความว่า รายการนี้กล่าวโดยรวม ๆ เท่านั้น การระบุลักษณะร่วมสมัยของรุ่นเหล่านี้มีใช้ในสื่อและโฆษณายืมไปใช้ โดยทั่วไปถือตรรกะของสมมติฐานอัตราชีพจร[16]

  • ลอสเจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นที่สาบสูญ") หรือเรียก เจเนอเรชัน ค.ศ. 1914 ในทวีปยุโรป[17] เป็นคำที่เกอร์ทรูด สไตน์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบายผู้ที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกลอสเจเนอรชันตรงแบบเกิดระหว่างปี 2426 ถึง 2443 สมาชิกทั้งหมดของรุ่นนี้เท่าที่ทราบเสียชีวิตแล้ว
  • เกรติสต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นยิ่งใหญ่ที่สุด") หรือเรียก "จีไอเจเนอเรชัน"[18] ได้แก่บุคคลที่รวมทหารผ่านศึกที่รบในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดระหว่างปี 2444 ถึง 2470[19] และบรรลุนิติภาวะระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นักหนังสือพิมพ์ ทอม โบรคอ เขียนเกี่ยวกับสมาชิกอเมริกันของรุ่นนี้ในหนังสือ เดอะเกรติสต์เจเนอเรชัน ซึ่งทำให้คำนี้แพร่หลาย[20]
  • ไซเลนต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นเงียบ") หรือเรียก ลักกีฟิว (คนส่วนน้อยผู้โชคดี) ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2468 ถึง 2485[21] ประกอบด้วยบางคนที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เข้าร่วมสงครามเกาหลีส่วนใหญ่ และอีกหลายคนในช่วงสงครามเวียดนาม
  • เบบีบูมเมอร์ ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันดับเบิลยู[22] หรือ มีเจเนอเรชัน เป็นรุ่นที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2507 อัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้นถูกพบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้พวกเขาเป็นรุ่นประชากรศาสตร์ที่ค่อนข้างใหญ่[23][24]
  • เจเนอเรชันเอกซ์ มักย่อเป็น เจ็นเอ็กซ์ เป็นรุ่นต่อจากเบบีบูมเมอร์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ปีเกิดช่วงตั้งแต่ต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 และสิ้นสุดปีเกิดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 คำดังกล่าวมีใช้ในต่างกาละและเทศะสำหรับวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมต่อต้านต่าง ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950
    • ในสหรัฐ บางคนเรียกคนชั่วรุ่นนี้ว่า รุ่น "เบบีบัสต์" เนื่องจากอัตราการเกิดลดลงหลังเบบีบูม[25] อัตราการมีบุตรของประชากรในสหรัฐเริ่มลดลงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 แต่นักประพันธ์ วิลเลียม สเตราส์ และนีล ฮาว (ซึ่งใช้นิยามช่วงปีเกิดยี่สิบปี ตั้งแต่ปี 2504 ถึง 2524) โดย 2534 มีรุ่นเอ็กซ์ประมาณ 88.5 ล้านคนในสหรัฐ[26]
  • มิลเลนเนียล ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันวาย[27] เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังเจเนอเรชันเอ็กซ์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นปีเกิดตั้งต้น จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดสิ้นสุด สำนักวิจัยพิวระบุว่า มิลเลเนียลจะมีจำนวนมากกว่าเบบีบูมเมอร์ในสหรัฐในปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะมีรุ่นบูมเมอร์ 72 ล้านคนและมิลเลนเนียล 73 ล้านคน[28]
  • เจเนอเรชันซี เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังมิลเลนเนียล นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดตั้งต้น[29] แต่แทบไม่มีความเห็นตรงกันในเรื่องปีเกิดสิ้นสุด

พื้นที่อื่น

  • ในเช็กเกียและสโลวาเกีย ชั่วรุ่นประชากรที่เกิดในเชโกสโลวาเกียระหว่างสมัยเบบีบูม ซึ่งเริ่มในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ระหว่างสมัย "การทำให้เป็นปรกติ" ชั่วรุ่นนี้เรียก "บุตรฮูซาก" ซึ่งเป็นชื่อของประธานาธิบดีและผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานของเชโกสโลวาเกีย[30]
  • ในสาธารณรัฐประชาชนจีน "ปาหลิงโฮ่ว" (八零后, หลังปี 80) หมายถึงผู้ที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในเขตเมืองของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยเติบโตขึ้นในประเทศจีนสมัยใหม่ คนชั่วรุ่นนี้จึงมีลักษณะมองอนาคตในแง่ดี มีความตื่นเต้นที่พบใหม่ต่อลัทธิบริโภคนิยมและการเป็นผู้ประกอบการ และยอมรับบทบาทประวัติศาสตร์ของพวกตนในการเปลี่ยนสภาพจีนสมัยใหม่ให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ[31] นอกจากนี้ยังมี "จิ่วหลิงโฮ่ว" (九零后, หลังปี 90) ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัยสมัยใหม่ การจำแนกชั่วรุ่นในวงกว้างขึ้นอาจเป็น "ชั่วรุ่นลูกคนเดียว" ที่เกิดระหว่างการใช้นโยบายลูกคนเดียวในปี 2523 ก่อนมีการผ่อนปรนเป็น "นโยบายลูกสองคน" ในปี 2556 การขาดพี่น้องมีผลทางจิตวิทยาใหญ่หลวงในชั่วรุ่นนี้ อย่างเช่น อัตนิยมเนื่องจากเป็นจุดสนใจของบิดามารดาเสมอ เช่นเดียวกับความเครียดของการเป็นผู้ดูแลบิดามารดายามเกษียณคนเดียวด้วย
  • ในประเทศโรมาเนีย ประชากรที่เกิดในปี 2532 เรียก "ชั่วรุ่นปฏิวัติ" เพราะคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปีนั้น และยังมีกลุ่มประชากรเรียก "Decrețeii" หมายถึงผู้ที่เกิดระหว่างที่ระบอบคอมมิวนิสต์ใช้กฤษฎีกา 770 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2532
  • ในเกาหลีใต้ รุ่นชั่วรุ่นมักนิยามตามการทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย โดยมีการเสนอการนับหลายอย่างรวมทั้งชื่ออย่าง "ชั่วรุ่นประชาธิปไตย" ชั่วรุ่น 386[32][33] (ซึ่งได้ชื่อตามคอมพิวเตอร์อินเทล 386 ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ใช้อธิบายบุคคลที่มีอายุปลาย 30 และต้น 40 ซึ่งเกิดในคริสต์ทศวรรษ 1960 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในคริสต์ทศวรรษ 1980 หรือเรียก "ชั่วรุ่น 3 มิถุนายน 1987") ซึ่งรู้เห็นการก่อการกำเริบเดือนมิถุนายน "ชั่วรุ่น 19 เมษายน" (ซึ่งต่อสู้กับระบอบซึง-มัน รีในปี 2503), "ชั่วรุ่น 3 กรกฎาคม" (ซึ่งต่อสู้กับสนธิสัญญาการทำให้ปรกติกับญี่ปุ่นในปี 2507), "ชั่วรุ่น 2512" (ซึ่งต่อสู้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้สามสมัย) และชั่วรุ่นชิน-เซ-แด ("ใหม่")[33][34][35]
  • ในประเทศไต้หวัน คำว่า "สตรอว์เบอร์รีเจเนอเรชัน" หมายถึงชาวไต้หวันที่เกิดหลังปี 2524 ซึ่ง "บอบช้ำง่าย" เหมือนกับสตรอว์เบอร์รี หมายความว่า พวกเขาไม่สามารถทนแรงกดดันทางสังคมหรือทำงานหนักได้เหมือนกับชั่วรุ่นบิดามารดา คำนี้ใช้กับผู้ที่ไม่ยอมอยู่ใต้บัญชา ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ เห็นแก่ตัว โอหัง และทำงานแบบขี้เกียจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชั่วรุ่น http://www.mccrindle.com.au/resources.htm http://members.optusnet.com.au/exponentialist/Gene... http://www.history.com/topics/baby-boomers http://usatoday30.usatoday.com/money/advertising/s... http://money.usnews.com/money/retirement/articles/... http://www.wisegeek.com/what-is-generation-jones.h... http://docupedia.de/zg/Jureit_generation_v2_en_201... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.koreaherald.co.kr/NEWKHSITE/data/html_d...