ทฤษฎีชั่วรุ่น ของ ชั่วรุ่น

ปีเกิดของชั่วรุ่นในโลกตะวันตก

แม้มโนทัศน์ชั่วรุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และพบได้ในวรรณกรรมสมัยโบราณ[3] แต่ยังมีมิติทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาในแง่ของความเป็นส่วนหนึ่งและอัตลักษณ์ที่อาจใช้นิยามชั่วรุ่น มโนทัศน์ชั่วรุ่นสามารถใช้เพื่อหารุ่นเกิดหนึ่ง ๆ ในพฤติการณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจำเพาะได้ เช่น "เบบีบูมเมอร์"[3]

นักประวัติศาสตร์ ฮันส์ เยเกอร์ แสดงให้เห็นว่าในประวัติศาสตร์อันยาวนานนี้ มีสำนักคิดสองแห่งรวมกันเกี่ยวกับการเกิดชั่วรุ่น คือ "สมมติฐานอัตราชีพจร" และ "สมมติฐานประทับ"[4] สมมติฐานอัตราชีพจรระบุว่า ประชากรทั้งหมดของสังคมหนึ่งสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มรุ่นที่ไม่ซ้อนทับกัน ซึ่งแต่ละรุ่นมี "บุคลิกภาพเสมอกัน" ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะรุ่นเพราะช่วงเวลาที่แต่ละรุ่นบรรลุนิติภาวะ[5] การเคลื่อนไหวของรุ่นเหล่านี้จากช่วงชีวิตหนึ่งไปอีกช่วงหนึ่งจะสร้างวัฏจักรเวียนซ้ำซึ่งก่อกำเนิดประวัติศาสตร์ของสังคมนั้น ปัจจุบันตัวอย่างทฤษฎีชั่วรุ่นแบบอัตราชีพจรที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ ทฤษฎีชั่วรุ่นสเตราส์-ฮาว

นักสังคมศาสตร์มักปฏิเสธสมมติฐานอัตราชีพจร โดยเยเกอร์อธิบายว่า "ผลลัพธ์รูปธรรมของทฤษฎีอัตราชีพจรสากลของประวัติศาสตร์นั้นมีน้อยมาก โดยมีข้อยกเว้นน้อย และเหตุผลเดียวกันกับทฤษฎีอัตราชีพจรบางส่วน เนื่องจากทฤษฎีทั้งสองโดยทั่วไปเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่มีความรู้หลักการสถิติศาสตร์ใด ๆ ผู้ประพันธ์มักสังเกตได้น้อยถึงขอบเขตของป่าชื่อและจำนวนที่ทฤษฎีนำเสนอขาดการจัดระเบียบตามชั่วรุ่นที่น่าเชื่อถือ"[6]

นักสังคมศาสตร์ยึดถือ "สมมติฐานรอยประทับ" ของชั่วรุ่น ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงทฤษฎีชั่วรุ่นของคาร์ล มันน์ไฮม์ สมมิตฐานรอยประทับกล่าวว่า ชั่วรุ่นเกิดจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เจาะจงซึ่งทำให้คนหนุ่มสาวรับรู้โลกแตกต่างจากผู้สูงอายุในเวลานั้น ฉะนั้นทุกคนอาจไม่เป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่น แต่เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์สังคมและชีวประวัติที่ไม่เหมือนชั่วรุ่นอื่นของช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ร่วมกันเท่านั้นที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "ชั่วรุ่นตามที่เป็นจริง"[7] เมื่อยึดถือสมมติฐานรอยประทับ นักสังคมศาสตร์เผชิญกับความท้าทายหลายประการ พวกเขาไม่สามารถยอมรับการติดชื่อและขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นที่มาจากสมมติฐานอัตาชีพจรได้ (เช่น เจนะเรชันเอ็กซ์หรือมิลเลเนียล) แต่ขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินแบบอุปนัยและการจัดว่าผู้ใดเป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินผ่านการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ[8]

ทุกชั่วรุ่นมีความเหมือนและต่างกัน รายงานสำนักวิจัยพิวปี 2550 ชื่อ "Millennials: Confident. Connected. Open to Change" สังเกตความท้าทายของชั่วรุ่นที่กำลังศึกษา โดยว่า "การวิเคราะห์ชั่วรุ่นมีที่ทางอย่างยาวนานและพิเศษในวิชาสังคมศาสตร์ และเราเข้าร่วมกับนักวิชาการเหล่านั้นที่เชื่อว่าไม่เพียงแต่เป็นไปได้เท่านั้น แต่มักให้ความกระจ่างอย่างสูง ในการค้นหาคุณลักษณะเอกลักษณ์และใช้แยกแยะกลุ่มอายุชาวอเมริกันใด ๆ แต่เรายังรู้ว่านี่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่แน่นอน เราให้ความสนใจว่ามีความแตกต่างมากในทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรมและวิถีชีวิตภายในชั่วรุ่นหนึ่งเช่นเดียวกับมีความแตกต่างระหว่างชั่วรุ่น แต่เราเชื่อว่าความเป็นจริงนี้ไม่ลดทอนคุณค่าของการวิเคราะห์ชั่วรุ่น เพียงแต่เพิ่มความน่าพึงใจและความซับซ้อนของชั่วรุ่นเท่านั้น"[9] ทฤษฎีชั่วรุ่นอีกส่วนหนึ่งคือการรับรู้วิธีที่เยาวชนมีประสบการณ์ต่อชั่วรุ่นของตนเอง และวิธีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโลกส่วนที่พวกเขาอาศัยอยู่ "การวิเคราะห์ประสบการณ์ของเยาวชนในสถานที่มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจกระบวนการแยกปัจเจก ความไม่เสมอภาคและของชั่วรุ่นที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น"[10] การสามารถมองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยของเยาวชนในต่างกาละและเทศะเพิ่มส่วนเพิ่มเติมในการทำความเข้าใจชีวิตประจำวัรของเยาวชน ซึ่งทำให้ทำความเข้าใจเยาวชนได้ดีขึ้น และวิธีที่ชั่วรุ่นและสถานที่มีบทบาทในพัฒนาการของพวกเขา[11]

สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าลากขอบเขตรุ่นการเกิดที่ใด แต่สำคัญที่ปัจเจกและสังคมตีความขอบเขตดังกล่าวอย่างไร และการแบ่งอาจก่อให้เกิดกระบวนการและผลลัพธ์อย่างไร ทว่า การจัดหมวดรุ่นอายุมีประโยชน์ต่อนักวิจัยเพื่อประโยชน์ในการสร้างขอบเขตในงานของตน[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชั่วรุ่น http://www.mccrindle.com.au/resources.htm http://members.optusnet.com.au/exponentialist/Gene... http://www.history.com/topics/baby-boomers http://usatoday30.usatoday.com/money/advertising/s... http://money.usnews.com/money/retirement/articles/... http://www.wisegeek.com/what-is-generation-jones.h... http://docupedia.de/zg/Jureit_generation_v2_en_201... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/classe... http://www.koreaherald.co.kr/NEWKHSITE/data/html_d...