ชาวบังกลาเทศ
ชาวบังกลาเทศ

ชาวบังกลาเทศ

ชาวบังกลาเทศ (เบงกอล: বাংলাদেশী;[25] อังกฤษ: Bangladeshi) เดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ชาวเบงกอล (อังกฤษ: Bangalee)[26] เป็นพลเมืองของประเทศบังกลาเทศ ชื่อ "บังกลาเทศ" ตั้งตามชื่อภูมิภาคประวัติศาสตร์เบงกอลซึ่งประเทศนี้ประกอบเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางด้านตะวันออกสุด สถานภาพพลเมืองบังกลาเทศถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2514 เมื่อผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรของอดีตปากีสถานตะวันออกกลายเป็นพลเมืองของสาธารณรัฐแห่งใหม่[27] บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ในทางภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่เป็นชาวอินโด-อารยัน พูดภาษาเบงกอล และนับถือศาสนาอิสลาม ประชากรบังกลาเทศอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมเบงกอลซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางอารยธรรมแบบเมืองและอารยธรรมการเกษตรมานานหลายพันปี พื้นที่สูงของประเทศซึ่งได้แก่เขตเนินเขาจิตตะกองและจังหวัดสิเลฏเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆชาวมุสลิมเบงกอลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทางศาสนากลุ่มใหญ่ของบังกลาเทศด้วยจำนวนประชากร 146 ล้านคนซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวจิตตะกอง, ชาวรังปุรี และชาวสิเลฏีเป็นประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดจิตตะกอง, รังปุระ และสิเลฏตามลำดับ ชนกลุ่มน้อยชาวฮินดูเบงกอลในบังกลาเทศมีจำนวนมากกว่า 16,238,167 คนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.07 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ชาวมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวเบงกอลเป็นชุมชนผู้ย้ายถิ่นเข้าที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่ชาวจักมาซึ่งเป็นชนกลุ่มทิเบต-พม่า (แต่พูดภาษาจักมาซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดรองจากชาวเบงกอลซึ่งเป็นชนกลุ่มอินโด-อารยัน[28] ชาวสานถาลซึ่งเป็นชนกลุ่มออสโตรเอเชียติกเป็นชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุดชาวบังกลาเทศพลัดถิ่นอาศัยอยู่หนาแน่นในตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร ชาวบังกลาเทศหลายแสนคนผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีสถานภาพพลเมืองสองสัญชาติในประเทศเครือจักรภพอย่างสหราชอาณาจักรและแคนาดา

ชาวบังกลาเทศ

ซาอุดีอาระเบีย 1,309,004 คน (2556)[2]
สหรัฐ 12,099 คน (2559)[17]
รัสเซีย 392 คน[20]
กาตาร์ 220,403 คน (2556)[7]
มาเลเซีย 352,005 คน (2556)[5]
สิงคโปร์ 150,000 คน (2558)[9]
กรีซ 11,000 คน[18]
โอมาน 148,314 คน (2556)[10]
ออสเตรเลีย 27,809 คน (2554)[14]
อิตาลี 113,811 คน (2554)[11]
โปแลนด์ 2,500 คน
สเปน 7,000 คน[18]
แอฟริกาใต้ ~200,000 คน (2561)[8]
บาห์เรน 100,444 คน (2556)[12]
คูเวต 279,169 คน (2556)[6]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1,089,917 คน (2556)[3]
ญี่ปุ่น 12,374 คน (2559)[16]
สหราชอาณาจักร 451,529 คน (2554)[4]
ผู้พลัดถิ่น ป. 4.5 ล้านคน
เกาหลีใต้ 8,514 คน (2557)[19]
แคนาดา 24,600 คน (2549)[15]
มัลดีฟส์ 47,951 คน (2556)[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวบังกลาเทศ http://www.immi.gov.au/media/publications/statisti... http://www.banbeis.gov.bd/bd_pro.htm http://bdlaws.minlaw.gov.bd/bangla_sections_detail... http://www12.statcan.gc.ca/census-recensement/2006... http://www.ethnologue.com/country/BD/languages http://www.lavoro.gov.it/Ministero/Organizzazione/... http://www.mofa.go.jp/mofaj/area/bangladesh/data.h... http://www.immigration.go.kr/HP/COM/bbs_003/ListSh... http://en.banglapedia.org/index.php?title=Chakmas,... http://www.irinnews.org/report/90913/bangladesh-mi...