การแต่งกาย ของ ชาวพม่า

ดูบทความหลักที่: การแต่งกายของพม่า

ชาวพม่าจะนิยมนุ่งโสร่ง ชายชาวพม่าจะนุ่งโสร่งที่เรียกกันว่า โลนจี (လုံချည်) ส่วนผู้หญิงจะนิยมนุ่งโสร่งแบบ ทะบี (ထဘီ) และทาแป้งทานาคา (သနပ်ခါး) ทั้งชายและหญิงจะใส่รองเท้าแตะแบบพม่า ญะพะนะ (ကတ္တီပါဖိနပ်‌)

ในโอกาสที่เป็นทางการหรืองานพิธีการ ชายชาวพม่าจะใส่เสื้อคอจีนสีขาว ที่เรียกว่า ไตปอน (တိုက်ပုံ) นุ่งโสร่งแบบโลนจีสีโทนเข้มและใช้ผ้าโพกหัว ที่เรียกว่า กองบอง (ခေါင်းပေါင်း) ส่วนหญิงชาวพม่าจะใส่ผ้าซิ่นและนุ่งโสร่งแบบทะบี

อาหาร

ดูบทความหลักที่: อาหารพม่า

อาหารพม่ามีหลากหลายแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่อาหารพม่าได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและอาหารอินเดีย การปรุงอาหารของพม่านั้นจะใช้การผัดแบบจีน การแกงแบบอินเดีย ซึ่งใช้ความร้อนแต่อาจจะปรุงเผ็ดเล็กน้อย ส่วนใหญ่มักจะใช้กะปิในการปรุง รวมทั้ง หัวหอม กระเทียม ขิง พริกแห้งและขมิ้น ส่วนข้าว (ထမင်း ทมีน) เป็นวัตถุดิบหลัก ชาวพม่านิยมใช้ชาในการต้มเพื่อดื่มและนำมาทำสลัดหรือกินเป็นเมี่ยง ละแพะ (လက်ဖက်သုပ်) จัดเป็นอาหารประจำชาติพม่า ส่วน ก๋วยเตี๋ยว (ခေါက်ဆွဲ ฮกุ๊ก ซเว) ได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน โมนฮีนกา (မုန့်ဟင်းခါး) เป็นอีกหนึ่งอาหารประจำชาติของพม่า ส่วนโรตี จปาตี ก็ได้รับความนิยมในพม่าด้วย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

ดนตรี

ดนตรีของพม่าแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ประกอบด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่าลมเป็นหลัก แต่ ซองเกาะ (စောင်းကောက်) เป็นพิณลักษณะรูปร่างคล้ายเรือ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวพม่า เครื่องดนตรีแบบอื่น ๆ ได้แก่ ปัตตะลา (ระนาดพม่า) วาลัตก๊อก แล๊กวิน และ ปัตเหวี่ยง เพลงพม่าสมัยใหม่มักได้รับอิทธิพลแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีคันทรีจากสหรัฐ อย่างไรก็ตามแร็พและฮิปฮอปก็ยังได้รับความนิยม

เทศกาล

ดูบทความหลักที่: ตะจาน

เทศกาลทางศาสนาพุทธและวันหยุดจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวพม่า ตะจาน (သင်္ကြန်) หรือเทศกาลน้ำซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นปีใหม่ของพม่าในเดือนเมษายน ตัวอย่างหนึ่งเช่น ตะดิงยุต ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของวันเข้าพรรษา จะมีการเฉลิมฉลองกับเทศกาลแห่งแสงในเดือนตุลาคม กะตีนา (ကထိန်) หรือ กฐิน พิธีถวายผ้าไตรจีวรบูชาพระสงฆ์จะจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมและอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน

ศาสนาและความเชื่อ

ดูบทความหลักที่: นะ (วิญญาณ)
ศาลนะในพม่า

ชาวพม่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ผู้คนนิยมถือศีลห้า ให้ทาน และ วิปัสสนา ส่วนเด็กชายชาวพม่าก็จะเข้าร่วมพิธีชินบยู ในขณะเดียวกันชาวพม่าก็นับถือบูชานะ ซึ่งเป็นศาสนาพื้นบ้านเคียงคู่ศาสนาพุทธไปด้วย นะที่ชาวพม่านับถือเป็นผีหรือวิญญาณที่สิงสถิตตามธรรมชาติหรือตามสถานที่ต่างๆ โดยศาสนาพื้นบ้านนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับศาสนาชินโตของญี่ปุ่น การบูชานะของชาวพม่านั้นจะนับถือนะทั้งหมด 37 ตน ในแต่ละบ้านของชาวพม่าจะมีศาลเทพนะเล็กๆไว้บูชาเพื่อความเป็นมงคลและช่วยคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย

การตั้งชื่อ

ในอดีต ชาวพม่ามักนิยมใช้ชื่อสั้นๆ มักจำกัดเพียงหนึ่งหรือสองพยางค์เท่านั้น อย่างไรก็ตามการตั้งชื่อตามเทรนด์จะนิยมตั้งชื่อให้ยาว (4 หรือ 5 พยางค์ สำหรับเพศหญิงและ 3 พยางค์ สำหรับผู้ชาย) ได้รับความนิยมมากขึ้น ชื่อแบบพม่ามักใช้คำยืมมาจากภาษาบาลี ชาวพม่ามักใช้วันเกิด (ปฏิทิน 8 วันแบบดั้งเดิมซึ่งรวมถึง ยาฮู, บ่ายวันพุธ) เป็นพื้นฐานสำหรับการตั้งชื่อ แม้ว่าการปฏิบัตินี้ไม่ได้เป็นสากล[5] ตัวอักษรชื่อมักจะมาจากกลุ่มที่อยู่ในตัวอักษรพม่า[6]

ชาวพม่ามักจะตั้งชื่อดังตัวอย่างต่อไปนี้:

วันเขียน
วันจันทร์ (တနင်္လာ)က (กะ), ခ (ขะ), ဂ (ะ ค/ก), ဃ (ฆะ), င (งะ)
วันอังคาร (အင်္ဂါ)စ (ซา), ဆ (ฮา), ဇ (ซ่า), ဈ (ซ่า), ည (ย่าห์)
วันพุธ (ဗုဒ္ဓဟူး)လ (รา), ဝ (วา)
ยาฮู (บ่ายวันพุธ) (ရာဟု)ယ (ยา), ရ (ยา, ลา)
วันพฤหัสบดี (ကြာသပတေး)ပ (พา), ဖ (ฮพา), ဗ (บา), ဘ (บา), မ (มา)
วันศุกร์ (သောကြာ)သ (ต่ะห์), ဟ (ฮา)
วันเสาร์ (စနေ)တ (ตะ), ထ (ฮตะ), ဒ (ดะ), ဓ (ดะ), န (นะ)
วันอาทิตย์ (တနင်္ဂနွေ)အ (อะ)