ชาวฮกเกี้ยน ของ ชาวฮกเกี้ยน

มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เป็นบริเวณที่มีชาวฮกเกี้ยนอาศัยอยู่

ชาวฮกเกี้ยนคือชนเผ่าจีนเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนของมณฑลฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) เมืองหลักคือเอ้หมึง (เซี่ยเหมิน) พื้นที่ของชาวฮกโล่อยู่ตั้งแต่เมืองเอ้หมึงลงมาจนถึงเขตมณฑลกวางตุ้ง เป็นชนเผ่าจีนฮกเกี้ยนที่มีมากที่สุดในบรรดา 2 กลุ่ม สำเนียงการพูดเป็นสำเนียงฮกเกี้ยนใต้หรือหมิ่นหนาน

ชาวฮกโล่ นอกจากจะเป็นคำเรียกของชนเผ่าจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยนแล้ว ยังเป็นคำเรียกชาวไต้หวันด้วย ชาวไต้หวันส่วนใหญ่เรียกแทนตัวเองว่า ฮกโล่ หรือถ้าตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Taiwanese[ต้องการอ้างอิง]

ชาวฮกเกี้ยนโพ้นทะเล

ชาวฮกเกี้ยนเป็นชนเผ่าจีนกลุ่มแรก ๆ ที่อพยพออกมาจากพื้นแผ่นดินใหญ่ไปตามประเทศต่าง ๆ เนื่องจากเป็นมณฑลที่อยู่ติดทะเลจึงสามารถออกจากประเทศได้ง่ายกว่ามณฑลอื่น ช่วงแรกที่อพยพมาจะเป็นผู้ที่มีฐานะมาทำการค้า แต่ช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มาแบบเสื้อผืนหมอนใบมาเป็นกุลี

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชาวจีนฮกเกี้ยนเริ่มอพยพมาสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคเริ่มอาณานิคมของดัตซ์ซึ่งต้องการแรงงานชาวจีนมาก ทำให้มีเรือไปรับชาวจีนฮกเกี้ยนทุกเดือน เดือนละหลายเที่ยว มาตุภูมิจุดกำเนิดของชาวฮกเกี้ยนมาจากหลากหลายเมืองครอบคุมทั่วบริเวณมณฑลฮกเกี้ยน แต่ส่วนมากมาจากเมืองชายฝั่งที่ติดทะเล โดยส่วนมากมาจาก เมืองจังโจว เมืองเฉวียนโจว เมืองฝูโจว เมืองเซี่ยเหมิน เมืองจังโจวและเฉวียนโจว เป็นพื้นที่บริเวณมีท่าเรือและผู้อพยพมากที่สุด

ประเทศไทย

คาดกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นจีนกลุ่มแรก ๆ จีนฮกเกี้ยนเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่นและเป็นชนเผ่าจีนอาสาช่วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราช แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยนถึง แม้ในประเทศไทยโดยรวมจะมีจำนวนน้อยแต่กลุ่มวัฒนธรรมฮกเกี้ยนเป็น 1 ใน 2 กลุ่มวัฒนธรรมจีนที่ได้รับความความนิยมมากพร้อมกับแต้จิ๋ว และมีจำนวนประชากรมากในภาคใต้ของประเทศไทยมากกว่าชาวจีนกลุ่มอื่น มีมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ตจนเกือบเป็นประชากรส่วนใหญ่ โดยส่วนมากเป็นชาวฮกเกี้ยน หรือ ชาวฮกโล่ ที่อพยพมากจากสิงคโปร์ และ มาเลเซีย อีกที ส่วนหนึ่งมาจากแผ่นดินใหญ่ ชาวฮกเกี้ยนอาศัยทางตอนใต้ในประเทศไทยมากกว่าภาคอื่น ๆ ชาวจีนแต่ละก๊กจะรวมตัวกันสร้างสมาคมของตัวเองเพื่อช่วยเหลือกันเองและช่วยเหลือสังคมในท้องถิ่น อาทิเช่นสมาคมฮกเกี้ยน สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮากกา สมาคมไหหลำ เมื่อเทศกาลสำคัญมาถึงชาวจีนแต่ละเชื้อสายจะมาช่วยเหลือกันโดยจะใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลักในการสื่อสาร ในภาคกลางของประเทศไทย ชาวจีนฮกเกี้ยนจะอาศัยอยู่บริเวณตลาดน้อย เยาวราช และฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร และกระจ่ายไปทั่วชุมชนที่มีชาวจีนอยู่ทั่วประเทศ

เมืองที่อพยพ

ชาวฮกเกี้ยนมีถิ่นฐานเดิมโดยมาจากเมืองเซี่ยเหมิน เมืองเฉวียนโจว เมืองจังโจว เมืองผูเถียน เมืองจางผิง เมืองหลงหยาน เมืองจางผู ฯลฯ มีเมืองท่าออกสู่ท้องทะเล คือ เมืองเซี่ยเหมิน (เอ้หมึง) เนื่องจากติดกับเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง จึงมักมีชาวแต้จิ๋วอพยพมาด้วย นับว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่ชาวแต้จิ๋วออกทะเลเช่นกัน

เมืองจางโจว

เมืองจางโจว หรือเมืองเจียงจิว เป็นเมืองทางใต้สุดของมณฑลฮกเกี้ยนอยู่ติดกับจังหวัดแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง สถาปนาเมือสมัยราชวงศ์ถัง ในปีช่วง ค.ศ. 686 ตามคำกราบบังคมทูลของ นายตันเกียวหลุน ที่ต้องการให้ให้พื้นที่บริเวณนี้เป็นท่าเรือประมง และ บริเวณเกษตรกรรม มีชื่อเสียงในการผลิตลิ้นจี่ และ อาหารทะเล ผู้อพยพจากเมืองนี้ส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณ ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย และจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทย เช่น ปัตตานี สงขลา นราธิวาส ฯลฯ

เมืองเฉวียนโจว

เมืองเฉวียนโจว หรือ เมืองจวนจิว เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับฉายาว่าเป็นช่องทางทะเล เมืองแห่งผ้าไหม สถาปนาในสมัยราชวงค์ถัง ในปี 684 โดย เดิมเมืองชื่ออู่หรงโจว ต่อมาในปี 711 เมืองได้เปลี่ยนชื่อใหม่เฉวียนโจว ในสมัยราชวงศ์หยวนได้เกิดสงครามขึ้นในภาคตะวันออก ในระหว่างสงครามทำให้คนจำนวนมากจากเมืองเฉวียนโจวหลบหนีไปยังฮ่องกงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อพยพจากเฉวียนโจว ส่วนใหญ่ตั้งหลักตัวอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ ซาราวัก ประเทศมาเลเซีย จังหวัดชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตกของไทย เช่น ภูเก็ต ระนอง กระบี่ พังงา ตรัง สตูล ฯลฯ

เมืองเซียะเหมิน

เมืองเซี่ยเหมิน 厦門 หรือ เมืองเอ้หมึง เซี่ยเหมินเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเจริญในมณฑลฝูเจี้ยน เซี่ยเหมินเป็นเมืองที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการตามนโยบายในการเปิดทางเศรษฐกิจของจีน ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยอังกฤษ ในสมัยพระจักรพรรดิกวางซวี่ แห่งราชวงศ์ชิงทำให้เมืองเอ้หมึงเป็นเมืองที่เจริญมาก โดยส่วนมากผู้ที่อพยพจากเมืองเอ้หมึงจะเป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเป็นเสียส่วนใหญ่