ยุคน้ำแข็งสุดท้าย ของ ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

จุดเริ่มต้นของช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายที่ถูกเสนอไว้ คือ จุดสิ้นสุดของยุคธารน้ำแข็งก่อนลำดับหลังสุด (Penultimate Glacial Period หรือ PGP) เมื่อ 126 ka (1.26 แสนปีก่อน) เมื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส (เทือกเขาแอลป์) ถูกสืบต่อด้วยช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน (ริส-เวือร์ม)[6] โดยการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส-เวือร์มสิ้นสุดลงเมื่อ 115 ka (1.15 แสนปีก่อน) ด้วยการเริ่มต้นของยุคธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (LGP) ซึ่งในทวีปยุโรปรู้จักในชื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเวือร์ม (แอลป์) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเดเวนเซียน (บริเตนใหญ่) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งไวช์เซเลียน (ยุโรปเหนือ) ซึ่งคำเหล่านี้เทียบเท่ากันอย่างกว้าง ๆ ได้กับการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งวิสคอนซิน (อเมริกาเหนือ) แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะเริ่มต้นขึ้นภายหลังก็ตาม[6]

จุดสูงสุดธารน้ำแข็งสุดท้ายได้ดำเนินมาถึงช่วงพันปีต่อมาหลังจากเวือร์ม/ไวช์เซเลียน โดยประมาณระหว่าง 26 ka (2.6 หมื่นปีก่อน) ถึง 19 ka (1.9 หมื่นปีก่อน) เมื่อการละลายของธารน้ำแข็งเริ่มต้นขึ้นในซีกโลกเหนือ เวือร์ม/ไวช์เซเลียนนั้นอยู่มาจนถึง 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ในทวีปยุโรปเหนือ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของบริเตนใหญ่ ซึ่งถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็ง โดยธารน้ำแข็งนั้นกว้างไปจนถึงเกรตเลกส์ในทวีปอเมริกาเหนือ[2] ระดับน้ำทะเลลดลงและได้เกิดสะพานแผ่นดินขึ้นชั่วคราวสองแห่งอันมีความสำคัญต่อการอพยพของมนุษย์ ได้แก่ ด็อกเกอร์แลนด์ ซึ่งเชื่อมบริเตนใหญ่เข้ากับยุโรปแผ่นดินใหญ่ และ สะพานแผ่นดินเบริง ซึ่งเชื่อมพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐอะแลสกาเข้ากับไซบีเรีย[7][8]

ยุคน้ำแข็งสุดท้ายนั้นตามด้วยระหว่างธารน้ำแข็งถอยกลับสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะโลกร้อนจนถึง 12.9 ka (1.29 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอส ซึ่งเป็นการกลับคืนสู่สภาพธารน้ำแข็งจนถึง 11.7 ka (1.17 หมื่นปีก่อน) ทางภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาถือว่าการเกิดต่อเนื่องกันของสตาเดียลและอินเตอร์สตาเดียลนั้นเกิดขึ้นจากประมาณ 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ไปจนถึงสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน โดยการเกิดต่อเนื่องกัน ได้แก่ ดรายแอสเก่าที่สุด (สตาเดียล), ความผันผวนบือล์ลิง (อินเตอร์สตาเดียล), ดรายแอสเก่า (สตาเดียล), ความผันผวนเอลเลอโรด (อินเตอร์สตาเดียล) และท้ายที่สุด นั่นคือ ดรายแอสใหม่[9]

จุดสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอสนั้นเป็นขอบเขตระหว่างสมัยไพลสโตซีนและสมัยโฮโลซีน มนุษย์ในทุกส่วนของโลกยังคงมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีอยู่ในยุคหินเก่า เครื่องมือและอาวุธเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นด้วยหินหรือเครื่องไม้ ชนร่อนเร่เคลื่อนย้ายไปตามฝูงสัตว์ ขณะที่ชนไม่ร่อนเร่ออกหาอาหารมาในลักษณะของการเก็บของป่าล่าสัตว์[10]

ใกล้เคียง

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ช่วงอายุชิบาเนียน ช่วงอายุปีอาเซนเซียน ช่วงอายุเมฆาลายัน ช่วงอายุซานเคลียน ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน ช่วงอายุกรีนแลนเดียน ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย http://www.ancient-wisdom.com/francelascaux.htm http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/egypt/histo... http://people.oregonstate.edu/~carlsand/carlson_en... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17600185 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19144388 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23344358 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25831543 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27638208 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27813680 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4394292