อเมริกาเหนือ ของ ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

กะโหลกของไบซันออกซิเดนทาลิส ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

จากประมาณ 2.8 หมื่นปีก่อน เกิดการอพยพย้ายถิ่นจากพื้นที่ไซบีเรียข้ามสะพานแผ่นดินเบริงไปยังพื้นที่อะแลสกาขึ้น ทำให้ชนดังกล่าวกลายเป็นชนพื้นเมืองอเมริกา เชื่อกันว่าชนเผ่าดั้งเดิมนั้นได้ย้ายถิ่นฐานลงไปยังอเมริกากลางและใต้ในเวลาต่อมา เนื่องจากแรงกดดันจากการอพยพมาในภายหลังนั้น[8][14]

ในระดับของช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาเหนือ ช่วงแรนโชลาเบรียนนั้นกินเวลาตั้งแต่ประมาณ 240,000 จนถึงประมาณ 11,000 ปีก่อน โดยชื่อของช่วงดังกล่าวตั้งตามแหล่งซากดึกดำบรรพ์แรนโช ลา เบรในรัฐแคลิฟอร์เนีย มีลักษณะเฉพาะคือไบซันที่สูญพันธุ์ไปแล้วในสมัยไพรสโตซีนพร้อมกับสปีชีส์อื่น เช่น ช้างแมมมอธ[24][25][26]

ไบซันออกซิเดนทาลิส และ ไบซันแอนทิคูอัส เป็นชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้วของไบซันปัจจุบันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งรอดชีวิตจากช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายในระหว่างประมาณ 1.2 ถึง 1.1 หมื่นปีก่อน ชาวโคลวิสพึ่งพาไบซันเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารหลัก ขณะที่การฆ่าอูฐ ม้า และมัสโคเซนในช่วงก่อนหน้านั้นพบที่หาดวอลลี มีอายุถึง 1.31 ถึง 1.33 หมื่นปีก่อน[27]

ใกล้เคียง

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ช่วงอายุชิบาเนียน ช่วงอายุปีอาเซนเซียน ช่วงอายุเมฆาลายัน ช่วงอายุซานเคลียน ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน ช่วงอายุกรีนแลนเดียน ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย http://www.ancient-wisdom.com/francelascaux.htm http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/egypt/histo... http://people.oregonstate.edu/~carlsand/carlson_en... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17600185 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19144388 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23344358 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25831543 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27638208 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27813680 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4394292