มนุษย์กับช้าง ของ ช้าง

การเลี้ยงและใช้งาน

ช้างได้เป็นสัตว์ใช้งานซึ่งถูกใช้ในหลายด้านโดยมนุษย์ ตราประทับที่ถูกพบในลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นการบอกว่าช้างถูกนำมาเลี้ยงเป็นครั้งแรกในอินเดียโบราณ อย่างไรก็ตาม ช้างไม่อาจนำมาเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ ช้างเพศผู้จะเกิดอาการตกมันตามสภาพขึ้นเป็นบางเวลาและควบคุมได้ยาก ดังนั้น ช้างที่มนุษย์นำไปใช้นั้นจึงมักเป็นช้างเพศเมีย โดยช้างศึกเป็นข้อยกเว้น เพราะช้างเพศเมียจะวิ่งหนีออกจะช้างเพศผู้ ทำให้มีแต่ช้างเพศผู้เท่านั้นที่สามารถถูกใช้ในสงครามได้ มักจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะจับช้างป่าอายุน้อยแล้วฝึกมันให้เชื่องกว่าเลี้ยงให้เติบโตในการดูแล

คนลาวได้มีการเลี้ยงช้างมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ และยังมีช้างเลี้ยงราว 500 ตัวยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่พบใช้งานอยู่ในแขวงไชยบุรี ช้างเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกใช้งานในอุตสาหกรรมตัดไม้ โดยมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกำลังผุดขึ้นเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ช้างยังมักถูกจัดแสดงในสวนสัตว์และอุทยานสัตว์ป่า ช้างราว 1,200 เชือกถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ทางตะวันตก การศึกษาพบว่าช้างในสวนสัตว์ในยุโรปมีอายุขัยเป็นครึ่งหนึ่งของช้างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครองในแอฟริกาและเอเชีย[76] จนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ช้างแอฟริกาที่อยู่ในการดูแลที่มีอายุมากที่สุด คือ รัวฮา (59 ปี) ที่สวนสัตว์บาเซล[77]

ช้างขนยุทโธปกรณ์หนักในอังกฤษช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในประเทศพม่า ไทย อินเดียและส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ ช้างได้ถูกใช้ในทางทหารโดยใช้เป็นแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอนโคนต้นไม้และการเคลื่อนย้ายซุง และมักถูกใช้ในการประหารชีวิตโดยเหยียบผู้ที่ถูกลงโทษ ช้างยังได้ใช้เป็นพาหนะสำหรับการล่าแบบซาฟารี และสัตว์พาหนะในพิธีกรรมของพระมหากษัตริย์หรือศาสนา ขณะที่ช้างเอเชียได้ถูกใช้เพื่อขนส่งและเพื่อความบันเทิง

การสงคราม

ภาพการใช้ช้างของคาร์เธจในสงครามกับโรมัน

ช้างศึกถูกใช้โดยกองทัพในอนุทวีปอินเดีย รัฐซึ่งทำสงครามกันในจีนในยุคจ้านกว๋อ และจักรวรรดิเปอร์เซียในสมัยหลัง การใช้ช้างในการสงรามถูกปรับใช้โดยกองทัพเฮเลนนิสติคหลังอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงเล็งเห็นคุณค่าของช้างต่อพระเจ้าพอรุส ที่โดดเด่นในจักรวรรดิปโตเลมีและเซลูซิด แม่ทัพคาร์เธจ ฮันนิบาล ใช้ช้างข้ามเทือกเขาแอลป์ระหว่างทำสงครามกับโรมัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จักรวรรดิขแมร์อันทรงอำนาจได้เข้าครอบงำในภูมิภาคในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยอาศัยการใช้ช้างศึกอย่างมาก เมื่ออำนาจของเขมรเสื่อมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาติที่มีอำนาจในเวลาต่อมา ได้แก่ พม่าและไทยก็ได้นำช้างศึกมาปรับใช้อย่างกว้างขวางด้วยเช่นกัน ยุทธหัตถีเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการใช้ช้างศึกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สวนสัตว์และละครสัตว์

มีเสียงคัดค้านเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อต้านการจับ การกักขัง และการใช้ช้างป่า[78] ผู้สนับสนุนสิทธิสัตว์ยืนยันว่าช้างในสวนสัตว์และละครสัตว์นั้น "ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บทางกายภาพเรื้อรัง การขาดสังคม ความตายอยากทางอารมณ์และการตายก่อนเวลาอันควร"[79] สวนสัตว์แย้งว่ามาตรฐานการดูแลช้างนั้นมีสูงมากและมีการจัดความต้องการขั้นต่ำสำหรับการดูแลช้าง อย่างเช่น พื้นที่อยู่อาศัยขั้นต่ำ การออกแบบสถานที่กั้นล้อม อาหาร การสืบพันธุ์ สิ่งประดับและการดูแลจากสัตวแพทย์ เพื่อรับประกันความอยู่ดีกินดีของช้างที่อยู่ในการควบคุม แต่ละครสัตว์นั้นยังมีประวัติไม่ดีอยู่ โดยมีข้อมูลรายงานว่า มีช้าง 27 เชือกที่เป็นของละครสัตว์ 3 คณะในสหรัฐอเมริกา ตายตั้งแต่ ค.ศ. 1992[80]

ช้างเป็นส่วนสำคัญในละครสัตว์มานานแล้ว เพราะเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดพอจะฝึกให้แสดงท่าทางได้หลายอย่าง อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นอยู่ของช้างในละครสัตว์นั้นไม่เป็นธรรมชาติ เพราะถูกกักขังในกรงขนาดเล็ก ถูกล่ามโซ่ที่ขา และขาดเพื่อนช้าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ช้างทำร้ายผู้เลี้ยงหรือควาญซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ช้างพบได้ทั่วไปในวัฒนธรรมสมัยนิยมตะวันตกในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์แปลก (exotic) [81] เพราะรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นเอกลักษณ์และขนาดรูปร่างที่ทำให้ช้างแตกต่างจากสัตว์อื่น และเพราะ เช่นเดียวกับสัตว์ในทวีปแอฟริกาอีกหลายชนิด เช่น ยีราฟ แรด และฮิปโปโปเตมัส ทำให้ชาวตะวันตกไม่คุ้นเคยกับสัตว์เหล่านี้[82] การอ้างถึงช้างที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในวัฒนธรรมสมัยนิยมนั้นอาศัยความแปลกของมันเป็นหลัก[82] ยกตัวอย่างเช่น "ช้างเผือก" เป็นภาษิตหมายถึง บางสิ่งที่มีราคาแพงและแปลก แต่มักใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้[82]

ช้างเป็นตัวละครที่ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มวรรณกรรมเด็ก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วช้างมักมีบทบาทเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมซึ่งน่ายกย่อง[81] มีหลายเรื่องที่เล่าเรื่องราวของช้างวัยเยาว์ที่อยู่ตัวเดียวกลับคืนสู่กลุ่มของมัน อย่างเช่น ดัมโบ้ (ค.ศ. 1942) [82] นอกเหนือไปจากสัตว์แปลกแล้ว ช้างในนิยายยังเป็นตัวแทนของมนุษย์[82] ซึ่งความคิดคำนึงถึงชุมชนและกันและกันได้ถูกแสดงให้เห็นว่าเป็นบางสิ่งที่น่าปรารถนา[83]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช้าง http://www.smh.com.au/articles/2006/02/16/11400642... http://www.upali.ch/basler_en.html http://www.upali.ch/ivory_en.html http://www.upali.ch/skin_en.html http://www.antaranews.com/en/news/71260/police-inv... http://www.circuses.com/pdfs/ringlingfactsheet.pdf http://www.eleaid.com/index.php?page=elephanttrunk... http://elephant.elehost.com/About_Elephants/Anatom... http://elephant.elehost.com/About_Elephants/Impact... http://www.elephant-facts.com/elephant-ears-skin-a...