การดำรงชีวิต ของ ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นดำรงชีวิตด้วยการกินปลา รวมถึงกุ้งปูในลำธารเป็นอาหาร จะอาศัยด้วยการหลบซ่อนใต้ก้อนหินใต้น้ำในเวลากลางวัน ออกหากินในเวลากลางคืนด้วยการดักซุ่ม ปกติแล้วเป็นสัตว์ที่รักสงบและเชื่องช้างุ่มง่าม แต่สามารถฉกกัดด้วยความดุร้ายและรุนแรงได้เมื่อถูกรบกวน มีผู้ถูกกัดเมื่อไปจับตัวอยู่บ่อย ๆ[2] มีประสาทสัมผัสเป็นตุ่มที่ผิวหนัง โดยเฉพาะที่ส่วนปาก เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ในน้ำ[2] รวมถึงการดมกลิ่น มีการศึกษาพบว่าซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นจะจับปลากินเพียงวันละตัวเท่านั้น[3]

การขยายพันธุ์

ในช่วงฤดูร้อน ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นจะออกมารวมตัวกันในลำธาร ด้วยการย้ายขึ้นไปยังบริเวณต้นน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องปีนป่ายขึ้นไปยังบนบกและใช้เวลานานนับสัปดาห์[3] เพื่อต่อสู้กันเพื่อแย่งอาณาเขตการผสมพันธุ์และเฟ้นหาตัวเมีย ด้วยการกัดกันอย่างรุนแรง[4] ด้วยการเลือกทำเลที่ทำรังริมฝั่งน้ำ โดยที่พฤติกรรมการวางไข่ยังคงเป็นปริศนา แต่เชื่อกันว่าซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นทุกตัวจะเดินกันเป็นวงกลม และเมื่อตัวเมียปล่อยไข่ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าปฏิสนธิ ตัวที่ใหญ่ที่สุดจะปล่อยน้ำเชื้อมากที่สุดและไข่จะได้รับน้ำเชื้อมากที่สุด โดยใช้เวลาวางไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 500 ฟอง ซึ่งตัวเมียอาจจะวางไข่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง แต่เมื่อเสร็จแล้วก็จะกลับไปยังถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงตัวผู้ตัวอื่น ๆ ด้วย ยกเว้นตัวผู้ตัวที่เป็นผู้ทำรังจะเฝ้าดูแลไข่ ไข่ใช้เวลาฟักเกือบ 50 วัน ความยาวแรกเกิดเพียง 30 มิลลิเมตร ตาค่อนข้างโต ขาก็ยังไม่พัฒนาเต็มที่ และมีพู่เหงือกปรากฏเห็นชัดเจน ในช่วงนี้จะหายใจด้วยเหงือกเหมือนกับปลา จนกว่าจะอายุครบ 4 ปี การเคลื่อนไหวจึงต้องใช้การว่ายน้ำคล้ายกับปลาหรือลูกอ๊อด อีกทั้งยังมีถุงไข่แดงสีเหลืองใช้สำหรับเป็นอาหารสำรอง เมื่อถุงนี้ยุบลง

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ลูกผสมในวัยอ่อน

จึงจะออกหากินด้วยตัวเอง โดยมีซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นตัวผู้คอยดูแล จนกว่าอายุจะครบ 4 เดือน เมื่อฤดูกาลผ่านจากช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูหนาว เมื่อลูกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นความยาวได้ 4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ก็จะออกหากินด้วยตัวเอง แต่ในช่วงที่เป็นวัยอ่อนนั้นไม่สามารถที่ป้องกันตัวเองได้ จึงต้องซ่อนตัวอยู่ใต้กองใบไม้หรือก้อนหินใต้น้ำ มีลูกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นเพียง 1 ใน 500 ตัวเท่านั้นที่จะเจริญเติบโตจนเป็นวัยเต็มตัว[3]

ปัจจุบัน ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นบางส่วนได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน ทำให้สายพันธุ์ดั้งเดิมสูญเสียไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ทำการศึกษาและอนุรักษ์ส่วนนี้ จะทำการแยกตัวที่เป็นลูกผสมออกมาจากที่อยู่ธรรมชาติ ซึ่งสถานะของซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ใกล้เคียง

ซาลาแมนเดอร์ ซาลาแมนเดอร์ (สิ่งมีชีวิตในตำนาน) ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น ซาลาแมนเดอร์ไฟ ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ ซาลาแมนเดอร์แท้ ซาลาแมนเดอร์เอเชีย ซาลาแมนเดอร์หางใบพาย ซาลาแมนเดอร์ แอททร้า