อาการไม่พึงประสงค์ ของ ดอกซีไซคลีน

อาการไม่พึงประสงค์และข้อควรระวังจากดอกซีไซคลีนนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่อยู่ในกลุ่มเตตราไซคลีน โดยการเกิดผื่นแบบอีริธีมาหลังจากผิวหนังได้รับการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงนั้นพบการเกิดในผู้ที่ใช้ดอกซีไซคลีนในการป้องกันมาลาเรียได้มากถึงร้อยละ 7.3–21.2 ทั้งนี้มีการศึกษาทางคลินิกซึ่งได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันมาลาเรียของยาต้านมาลาเรียหลายชนิด การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ใช้ในการศึกษานี้พบว่า ดอกซีไซคลีนไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางผิวหนังมากกว่ายาอื่นที่ใช้ในการศึกษาจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ไม่มีการจำแนกชนิดของอาการข้างเคียงทางผิวหนัง) ผื่นที่เกิดขึ้นจากการได้รับดอกซีไซคลีนนั้นสามารถหายเป็นปกติได้เองหลังจากที่มีการหยุดใช้ยาดังกล่าวไประยะหนึ่ง[53] นอกจกานี้แล้ว ดอกซีไซคลีนยังมีข้อดีกว่ายาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มเดียวกันคือ ไม่ก่อให้การทำงานของไตบกพร่องจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเสื่อมสลายของตัวยา[54]

อาการไม่พึงประสงค์ที่แสดงต่อไปนี้เป็นเพียงอาการไม่พึงประสงค์ที่มีอุบัติการณ์การเกิดสูงกว่า 0.1% (> 1 / 1,000) ซึ่งอาจมีการเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาดอกซีไซคลีนขึ้นได้ แต่มีอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างต่ำ (<1 / 1,000, น้อยกว่า 0.1%) แต่ส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรง[55]

อวัยวะที่ได้รับผลกระทบความถี่ตามเกณฑ์ CIOMSชนิดของอาการไม่พึงประสงค์
การทดสอบในห้องปฏิบัติการพบได้ไม่มากการเพิ่มขึ้นของระดับยูเรียในเลือด
ความผิดปกติของเลือดพบได้ไม่มากโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, เกล็ดเลือดต่ำ, นิวโตรฟิลในเลือดต่ำ และอีโอสิโนฟิลในเลือดสูง
ความผิดปกติของระบบประสาทพบได้ไม่มากปวดศีรษะ
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารพบได้ไม่มาก

ไม่รุนแรง:อาการแสบร้อนช่องปาก, คลื่นไส้, อาเจียน, คอหอยอักเสบ
รุนแรง: กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ และลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อจุลชีพ, เยื่อบุช่องปากอักเสบ

ความผิดปกติของผิวหนังพบได้ไม่มากผื่นนูนแบนและผื่นอีริธีมา, ผิวหนังไวต่อแสง
อื่นๆบ่อยมากฟันมีความไวต่อความร้อนมากผิดปกติ

อันตรกิริยา

การรับประทานยาดอกซีไซคลีนร่วมกับอาหาร, ยาลดกรด, อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแคลเซียม, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก, ยาระบายที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม อาจส่งผลลดประสิทธิภาพในการรักษาของดอกซีไซคลิน เนื่องจากอาหาร, ยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังข้างต้นจะทำให้ดอกซีไซคลีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยลง[56]

...อาหารสามารถลดการดูดซึมดอกซีไซคลินลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการดูดซึมยากลุ่มเตตราไซคลีนนั้นจะเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน มีรายงานว่าผลิตภัณฑ์จากนม, อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมไบคาร์บอเนต, เกลือแคลเซียมและแมกนีเซียม, ยาระบายที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมและธาตุเหล็ก มีกลไกที่มีผลต่อการดูดซึมของยากลุ่มนี้ ผ่านการเกิดคีเลชันและเพิ่มพีเอชในกระเพาะอาหาร ... จากเหตุผลดังกล่าว จึงควรแนะนำให้แนะนำผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยดอกซีไซคลีนควรรับประทานในขณะท้องว่าง...[57]

ในอดีตเป็นที่เชื่อกันว่าดอกซีไซคลีนทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของฮอร์โมนคุมกำเนิดลดลง เนื่องจากการกระตุ้น CYP450 แต่การศึกษาวิจัยล่าสุดกลับพบว่า ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีนส่วนใหญ่ (รวมถึงดอกซีไซคลีน) นั้นไม่ได้มีผลรบกวนประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของฮอร์โมนดังกล่าวให้ลดต่ำลงจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แพทย์หลายคนยังคงแนะนำให้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยสำหรับคนมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยดอกซีไซคลีนในขณะที่กำลังรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์[58][59][60]

การใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ดอกซีไซคลีนได้รับการจัดระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในระดับ D เช่นเดียวกันกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆในกลุ่มเตตราไซคลีน เนื่องจากยาปฏิชีวนะในกลุ่มดังกล่าวมีผลในการขัดขวางการพัฒนาของกระดูกและฟันของตัวอ่อนในครรภ์ รวมไปถึงทารกแรกเกิดและเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 8 ปี[61] ดังนั้น ดอกซีไซคลีนจึงมีข้อห้ามใช้ในกลุ่มประชากรดังกล่าว ยกเว้น ในกรณีใช้สำหรับการรักษาโรคแอนแทรกซ์ หรือมีข้อห้ามใช้ที่รุนแรงต่อยาปฏิชีวนะอื่น หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นแล้วไม่ได้ผล[44]

ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกขับออกทางน้ำนมหรือถูกขับออกได้น้อยมาก ทั้งนี้ แม้จะพบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์กับฟันและกระดูกของเด็กที่ได้รับการบริหารยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีนโดยตรง แต่ผลกระทบเหล่านี้ไม่ได้รับการบันทึกไว้ในทารกที่อาจได้รับยาดังกล่าวผ่านนมแม่ แม้ว่าปริมาณยากลุ่มดังกล่าวที่ถูกขับออกมาในน้ำนมจะมีปริมาณที่น้อยมาก แต่ในทางทฤษฎีแล้ว ทารกที่รับประทานนมแม่ในขณะที่แม่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มดังกล่าวก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ถึงแม้จะอยู่ในระดับที่เล็กน้อยก็ตาม[62]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดอกซีไซคลีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.10482... http://www.costco.com/Pharmacy/drug-results-detail... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0163-... http://www.fiercepharmamanufacturing.com/story/hik... http://www.goodrx.com/doxycycline-hyclate?drug-nam... http://www.ijidonline.com/article/S1201-9712 http://www.jle.com/en/revues/medecine/ejd/e-docs/0... http://www.jpgmonline.com/article.asp http://law.justia.com/cases/federal/district-court... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Doxycycline%20hyc...