ดาวเคราะห์นอกระบบที่น่าสนใจ ของ ดาวเคราะห์นอกระบบ

จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบ แยกตามปีที่ค้นพบ

การค้นพบครั้งแรก

การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกมีการบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1992 เมื่อ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน และ เดล เฟรล ได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบลงในวารสาร Nature โดยประกาศการค้นพบดาวเคราะห์รอบพัลซาร์แห่งหนึ่ง คือ PSR 1257+12[19] โวลส์ชานค้นพบพัลซาร์ระดับมิลลิวินาทีตัวปัญหานั้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 ณ หอดูดาวอเรบิโก นี่เป็นการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกที่ได้รับการยืนยัน และยังคงเป็นที่น่าสนใจอย่างมากเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวโคจรรอบพัลซาร์

การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักคือ ดาวเคราะห์ 51 Pegasi b ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ 51 Pegasi ค้นพบโดยมิเชล ไมยอร์และดีดีเย เกโล ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995[20] นักดาราศาสตร์ค่อนข้างตื่นเต้นกับการค้นพบ ดาวพฤหัสบดีร้อน ดวงนี้ หลังจากนั้นไม่นานการค้นพบดาวเคราะห์ในลักษณะเดียวกันก็มีมากขึ้น

การค้นพบที่น่าสนใจอื่น ๆ

หลังจากการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในครั้งแรก ก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ที่โดดเด่นและน่าสนใจมีดังต่อไปนี้

ค.ศ. 1996 ถึง 2006

ภาพวาดของดาวเคราะห์พัลซ่าร์ PSR B1620-26 b (ค้นพบปี 2003) มีอายุ 12,500 ล้านปี จัดเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีอายุมากที่สุดที่ค้นพบในปัจจุบันภาพถ่ายในช่วงคลื่นอินฟราเรดของ 2M1207 (สีน้ำเงิน) และ 2M1207b (สีแดง) วัตถุทั้งสองแยกออกจากกันน้อยกว่าหนึ่งพิลิปดาบนท้องฟ้า ภาพถ่ายโดยหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Yepun ขนาด 8.2 เมตร ภาพวาดของดาวเคราะห์ OGLE-2005-BLG-390Lb (ซึ่งมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -220 องศาเซลเซียส) โคจรรอบดาวฤกษ์ที่ห่างจากโลก 20,000 ปีแสง (117.5 ล้านล้านไมล์) ค้นพบโดยวิธีไมโครเลนส์ของความโน้มถ่วง1996, 47 Ursae Majoris bเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวเคราะห์คาบยาวดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยโคจรรอบดาวฤกษ์ด้วยรัศมีวงโคจร 2.11 หน่วยดาราศาสตร์และความรี 0.049 ดาวเคราะห์คู่ของมันอีกดวงหนึ่งโคจรด้วยรัศมีวงโคจร 3.39 หน่วยดาราศาสตร์และความรี 0.220 ± 0.028 มีคาบการโคจร 2190 ± 460 วัน1998, กลีเซอ 876 บีเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบว่ามีวงโคจรรอบดาวแคระแดง Gliese 876 โดยมีรัศมีวงโคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้กว่าระยะที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบในเวลาต่อมาส่วนมากจะมีวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์เช่นกัน[30]1999, อัปซีลอนแอนดรอเมดาเป็นระบบดาวเคราะห์แบบพหุระบบแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่ถูกค้นพบ ประกอบด้วยดาวเคราะห์จำนวนสามดวง ทั้งหมดเป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัสบดี ได้แก่ ดาวเคราะห์ Upsilon Andromedae b, Upsilon Andromedae c, Upsilon Andromedae d ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1996, 1999 และ 1999 ตามลำดับ ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีมวล 0.687, 1.97 และ 3.93 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี และมีรัศมีวงโคจรห่างจากดาวฤกษ์ 0.0595, 0.830 และ 2.54 หน่วยดาราศาสตร์ตามลำดับ [31] ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการค้นพบว่าความเอียงของวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน1999, HD 209458 bดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เดิมได้ถูกค้นพบโดยวิธีความเร็วแนวเล็ง และต่อมาเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์การเคลื่อนผ่าน ซึ่งช่วยยืนยันผลการตรวจจับดาวเคราะห์ต้องสงสัยที่ค้นพบด้วยวิธีการวัดความเร็วแนวเล็งว่ามีอยู่จริง[32]2001, HD 209458 bนักดาราศาสตร์ผู้ใช้งานกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ประกาศว่า พวกเขาสามารถตรวจวัดชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 209458 b ได้ นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแถบสเปกตรัมของธาตุโซเดียมในชั้นบรรยากาศ แต่ก็มีความเข้มข้นน้อยกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจเป็นผลจากการที่มีเมฆบดบังบรรยากาศชั้นล่างเป็นจำนวนมาก[33] ในปี ค.ศ. 2008 ได้มีการวัดค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของชั้นเมฆ โครงสร้างของชั้นบรรยากาศบ่งชี้ว่าเป็นบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์2001, Iota Draconis bเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ถูกค้นพบรอบดาว Iota Draconis ซึ่งเป็นดาวยักษ์สีส้ม เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการมีอยู่และพฤติกรรมของระบบดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ยักษ์ ดาวยักษ์ส่งแสงสว่างเป็นช่วง ๆ แสดงถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลมากและมีความรีของวงโคจรค่อนข้างมาก วงโคจรของมันมีระยะทางมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ประมาณ 27.5 เปอร์เซ็นต์[34] ในปี ค.ศ. 2008 จุดศูนย์กลางของระบบจะมองเห็นอยู่ในกระจุกดาวลูกไก่ ใกล้กับดาว Epsilon Tauri2003, PSR B1620-26 bในวันที่ 10 มิถุนายน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นำโดย สเตน ซิกุร์ดสัน อาศัยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยืนยันถึงดาวเคราะห์นอกระบบที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ดาวเคราะห์ดังกล่าวตั้งอยู่ในกระจุกดาวทรงกลม M4 อยู่ห่างจากโลกไป 5,600 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง นี่เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เรารู้จักซึ่งพบว่าโคจรรอบระบบดาวคู่ โดยที่ดาวดวงหนึ่งในระบบดาวคู่เป็นพัลซาร์ และอีกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาว ดาวเคราะห์นี้มีมวลเป็นสองเท่าของดาวพฤหัสบดี และประมาณว่ามีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี[35]2004, Mu Arae cในเดือนสิงหาคม เครื่องวัดสเปกตรัม HARPS ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดาว Mu Arae ด้วยมวลประมาณสิบสี่เท่าของมวลโลก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของดาวแล้ว จัดว่าดาวเคราะห์นี้เป็น "ดาวเนปจูนร้อน" (hot Neptune) หรือ "ซูเปอร์เอิร์ธ" (super-Earth) ที่มีการค้นพบเป็นดวงแรก[36]2004, 2M1207 bเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล และเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดได้ จากการประมาณการครั้งแรกดาวนี้มีมวลเป็นห้าเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี แต่การประมาณครั้งอื่นได้ค่ามวลที่ต่ำกว่านี้ มีรัศมีวงโคจรจากดาวแคระน้ำตาล 55 หน่วยดาราศาสตร์ โดยที่ดาวแคระน้ำตาลดังกล่าวนี้มีมวลเพียง 25 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดีเท่านั้น อุณหภูมิของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์นี้สูงมาก (1250 เคลวิน) ซึ่งเกิดจากความหนาแน่นของความโน้มถ่วง[37] ปลายปี ค.ศ. 2005 ค่าองค์ประกอบของดาวเคราะห์ได้ปรับปรุงใหม่ โดยมีวงโคจรที่ 41 หน่วยดาราศาสตร์และมวลเป็น 3.3 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าดาวฤกษ์แม่อยู่ใกล้กับโลกมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน ในปี ค.ศ. 2006 มีการค้นพบแผ่นจานฝุ่นรอบดาว 2M1207 อันเป็นหลักฐานแสดงว่าการก่อตัวของดาวเคราะห์ยังคงดำเนินอยู่[38]2005, กลีเซอ 876 ดีในเดือนมิถุนายน มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สามของดาวแคระแดง กลีเซอ 876 ดาวเคราะห์นี้มีมวล 7.5 เท่าของโลก ปัจจุบันจัดว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองเท่าที่ค้นพบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก เป็นไปได้ว่าจะมีองค์ประกอบหลักเป็นหิน มีรัศมีวงโคจร 0.021 หน่วยดาราศาสตร์ คาบการโคจร 1.94 วัน[39]2005, HD 149026 bในเดือนกรกฎาคม มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีแกนใหญ่ที่สุด คือดาวเคราะห์ HD 149026 b โคจรรอบดาว HD 149026 มีแกนกลางขนาดประมาณ 70 เท่าของมวลโลก (ในปี 2008 พบว่าแกนมีขนาดประมาณ 80 ถึง 110 เท่าของมวลโลก) เป็นสัดส่วนประมาณสองในสามของมวลดาวเคราะห์[40]2006, OGLE-2005-BLG-390Lbในวันที่ 25 มกราคม มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ OGLE-2005-BLG-390Lb ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกมากที่สุด และอาจมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวเคราะห์นี้โคจรรอบดาวแคระแดง ซึ่งห่างจากโลก 21,500 ปีแสง เข้าไปในบริเวณใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือก การค้นพบทำโดยวิธีไมโครเลนส์ของความโน้มถ่วง ประมาณว่าดาวเคราะห์นี้มีมวลราว 5.5 เท่าของโลก จัดว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลน้อยที่สุดซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก ก่อนหน้าการค้นพบครั้งนี้ ดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลน้อยนั้นจะถูกพบใกล้กับดาวฤกษ์มาก แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่ของมันถึง 2.6 หน่วยดาราศาสตร์[41][42]2006, HD 69830เป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับดาวเนปจูน 3 ดวง ถือเป็นระบบดาวเคราะห์สามดวงระบบแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์โดยที่ไม่มีดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีอยู่เลย มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ทั้งสามดวงในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยโลวิส ดาวเคราะห์ทั้งสามดวงโคจรอยู่ในรัศมี 1 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์ HD 69830 b, HD 69830 c, HD 69830 d มีมวล 10, 12 และ 18 เท่าของโลกตามลำดับ ดวงที่อยู่นอกสุดคือ d จัดว่าอยู่ในแถบที่สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ พ้นจากนั้นไปล้อมไว้ด้วยแถบดาวเคราะห์น้อย[43]

ค.ศ. 2007 ถึง 2008

ภาพวาดของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733 b2007, HD 209458 b และ HD 189733 bในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 องค์การนาซาและวารสาร Nature ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ HD 209458 b และ HD 189733 b ว่าเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสองดวงแรกที่สามารถสังเกตสเปกตรัมได้[44][45] ซึ่งเป็นกระบวนการวิธีชนิดแรกที่ใช้ค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาจมีสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่มีปัญญาโดยสังเกตจากผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ กลุ่มนักค้นคว้าซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์นาซ่าประจำศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดภายใต้การนำของดอกเตอร์ เจเรมี ริชาร์ดสัน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ในวารสาร Nature ว่า สเปกตรัมที่สามารถวัดได้จากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ HD 209458 b อยู่ในช่วง 7.5 ถึง 13.2 ไมโครเมตร ผลการศึกษานี้นำไปสู่ทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย เส้นสเปกตรัมที่ตรวจพบควรมีค่าสูงสุดอยู่ที่บริเวณ 10 ไมโครเมตรซึ่งแสดงว่ามีไอน้ำในชั้นบรรยากาศ แต่ค่าสูงสุดนี้ไม่ปรากฏ แสดงว่าไม่มีไอน้ำในบรรยากาศ ทว่ากลับมีจุดยอดที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ปรากฏขึ้นที่ 9.65 ไมโครเมตรซึ่งแสดงถึงกลุ่มเมฆฝุ่นซิลิกา อันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยสังเกตพบมาก่อน จุดยอดเหนือการคาดการณ์อีกจุดอยู่ที่ 7.78 ไมโครเมตรเป็นตำแหน่งที่ยังไม่สามารถอธิบายอะไรได้ นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งนำโดย มาร์ค สเวน แห่งห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่น ได้ทำการศึกษาผลสังเกตจากข้อมูลของทีมของ ดร.ริชาร์ดสัน และได้ข้อสรุปอย่างเดียวกัน พวกเขาส่งผลงานไปยัง Astrophysical Journal Letters คณะทำงานอีกชุดหนึ่งนำโดย คาร์ล กริลแมร์ แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์ขององค์การนาซ่า ได้เฝ้าสังเกตดาวเคราะห์ HD 189733 b ผลการศึกษาของเขาถูกระงับการตีพิมพ์ใน Astrophysical Journal Letters ขณะที่มีการประกาศข่าวนี้ ต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ผลการสำรวจโดยศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์จึงได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature โดยระบุว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์สามารถตรวจจับร่องรอยของไอน้ำบนดาวเคราะห์ได้ ถือเป็นหลักฐานการค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกในดาวเคราะห์นอกระบบ[46]2007, กลีเซอ 581 ซีในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2007 เวลา 16.23 นาฬิกาตามเวลาฝั่งตะวันออกของอเมริกา Space.com ได้ประกาศว่าดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้สามารถมีน้ำในสถานะของเหลวและมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต[47] แม้จะยังไม่มีหลักฐานการตรวจพบน้ำในสถานะของเหลว แต่ตำแหน่งของดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในแถบที่อาจค้นพบสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขว่าอาจมีน้ำในสถานะของเหลวบนดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการอยู่อาศัยของดาว[48][49] เชื่อว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์อาจมีปรากฏการณ์เรือนกระจกคล้ายกับดาวศุกร์ ซึ่งทำให้อาจไม่พบน้ำในสถานะของเหลว ผลการศึกษานี้ระบุว่า ดาวเคราะห์ดวงที่สามในระบบ คือ กลีเซอ 581 ดี มีความเป็นไปได้ในการอยู่อาศัยมากกว่า เซท โชสแตก นักดาราศาสตร์อาวุโสและสถาบันเซติ ระบุว่าจากข้อมูลงานวิจัยทั้งสองชิ้น กลีเซอ 581 ถูกจัดให้เป็นระบบดาวที่มีโอกาสค้นพบสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา แม้จะยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชัดเจน การยืนยันตำแหน่งของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ใช้อุปกรณ์ HARPS ในกล้องดูดาวขนาด 3.6 เมตรของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปโดยใช้วิธีการวัดความเร็วแนวเล็ง2007, กลีเซอ 436 บี เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวเคราะห์คล้ายดาวเนปจูนที่ค้นพบเป็นดวงแรก ๆ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ต่อมามีการสังเกตพบการเคลื่อนผ่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งทำให้เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดและมีมวลน้อยที่สุดที่มีการเคลื่อนผ่าน (ขนาด 22 เท่าของมวลโลก) ภายในแกนกลางขนาดใหญ่ประกอบด้วยน้ำที่แข็งตัวซึ่งเรียกว่า น้ำแข็งร้อน (hot ice) ซึ่งสามารถคงอยู่ได้ทั้งที่อุณหภูมิของดาวร้อนจัดก็เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวซึ่งทำให้น้ำมีความหนาแน่นสูงมาก[50]2007, XO-3b เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวล 13.24 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี ถือเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากที่สุดที่สังเกตพบการเคลื่อนผ่าน และเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน โดยมีมวลมากกว่าขีดจำกัดมวลของดาวแคระน้ำตาลที่ 13 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี มีรัศมี 1.92 เท่าของดาวพฤหัสบดี จึงเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีคาบโคจร 3.19 วัน วงโคจรมีความรี 0.22 จัดว่ามีความเยื้องศูนย์กลางสูงมากสำหรับดาวเคราะห์ที่มีคาบการโคจรสั้น[51]2007, TrES-4 เป็นดาวเคราะห์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ที่สุดและมีความหนาแน่นน้อยที่สุด โดยมีรัศมี 1.7 เท่าของดาวพฤหัสบดี แต่มีมวล 0.84 เท่าของดาวพฤหัสบดี มีความหนาแน่นประมาณ 0.2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (ใกล้เคียงกับไม้บาลซ่า) มีรัศมีวงโคจรค่อนข้างเล็กทำให้มีอุณหภูมิสูง แต่ลำพังเพียงความร้อนจากดาวฤกษ์ยังไม่เพียงพอในการอธิบายขนาดอันใหญ่โตของดาวเคราะห์ได้[52]2008, OGLE-2006-BLG-109Lb และ OGLE-2006-BLG-109Lcในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ได้มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ ด้วยอัตราส่วนมวลและระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่ใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ การค้นพบนี้มีความสำคัญเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะค้นพบสิ่งมีชีวิตคล้ายในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ทำหน้าที่กวาดดาวเคราะห์น้อยออกจากบริเวณที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้[53]2008, HD 189733 bในวันที่ 20 มีนาคม วารสารวิทยาศาสตร์ Nature ได้ตีพิมพ์ผลสืบเนื่องของการศึกษาสเปกตรัมของดาวเคราะห์นอกระบบโดยประกาศถึงการค้นพบโมเลกุลอินทรีย์ในดาวเคราะห์นอกระบบเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ในปี 2007 เคยมีการตรวจพบไอน้ำจากการสังเกตสเปกตรัมของดาวเคราะห์ HD 189733 b มาก่อนแล้ว แต่การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ นอกจากน้ำแล้วยังพบว่าดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมีส่วนประกอบของมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ แม้ว่าโดยลักษณะของดาวเคราะห์ HD 189733 b จะเป็นไปได้ยากที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่ก็นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบโมเลกุลอินทรีย์ในดาวเคราะห์นอกระบบ[54]2008, HD 40307ในวันที่ 16 มิถุนายน มิเชล เมเยอร์ ได้ประกาศการค้นพบระบบดาวเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยซูเปอร์เอิร์ธสามดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีสเปกตรัม K โดยมีมวลระหว่าง 4 ถึง 9 เท่าของมวลโลก และมีคาบการโคจร 4 ถึง 20 วัน นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ที่ปราศจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ดาวเคราะห์คล้ายโลกทั้งสามดวงนี้เป็นดาวเคราะห์หินซึ่งถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ HARPS ในหอดูดาวลาซียา ประเทศชิลี[55] เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในกลุ่ม 7 ดวงแรกของวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นดาวเคราะห์ 45 ดวงที่ได้รับการยืนยัน ตรวจจับได้โดย HARPS เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2008 ผลจากการนี้ทำให้สัดส่วนดาวเคราะห์มวลต่ำเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีในอัตราส่วนถึง 3 ต่อ 1[3]2008; โฟมัลฮอต บีในวันที่ 13 พฤศจิกายน นาซ่า และ Lawrence Livermore National Laboratory ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบโคจรอยู่ในวงแหวนฝุ่นของดาวโฟมัลฮอต (Alpha Piscis Austrini) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพได้โดยตรงด้วยกล้องโทรทรรศน์เชิงแสง[56] มีมวลประมาณ 3 เท่าของดาวพฤหัสบดี[57][58]2008; HR 8799ในวันที่ 13 พฤศจิกายน วันเดียวกับที่ค้นพบดาว Fomalhaut b ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์สามดวงโคจรรอบดาว HR 8799 เป็นครั้งแรกที่สามารถถ่ายภาพระบบดาวเคราะห์ได้โดยตรง คริสเตียน มารัวส์ จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์เฮอร์สเบิร์ก สภาวิจัยแห่งชาติประเทศแคนาดา และคณะ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Keck กับกล้องเจมินีในฮาวาย ซึ่งภาพจากกล้องเจมินีได้ช่วยให้คณะทำงานนานาชาติสามารถค้นพบดาวเคราะห์ 2 ดวงในขั้นต้นได้จากข้อมูลที่เคยเก็บไว้ตั้งแต่ 17 ตุลาคม 2007 ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม 2007 และในฤดูร้อนปี 2008 คณะทำงานได้ยืนยันการค้นพบนี้ และพบดาวเคราะห์ดวงที่สามโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ยิ่งกว่าดวงอื่น ๆ โดยอาศัยภาพที่ถ่ายได้จากกล้องโทรทรรศน์ Keck II เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลสังเกตการณ์เดิมที่เคยบันทึกไว้ใน ค.ศ. 2004 ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ดาวเคราะห์ทั้งสามดวงนี้ปรากฏอยู่บนภาพ มวลของดาวเคราะห์และระยะห่างจากดาวฤกษ์มีค่าโดยประมาณดังนี้ 10 MJ @ 24 AU, 10 MJ @ 38 AU และ 7 MJ @ 68 AU ตามลำดับ[58][59]2009; COROT-Exo-7bวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2009 องค์การอวกาศยุโรป (โดยดาวเทียม COROT ของฝรั่งเศส) ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ COROT-Exo-7 ที่ระยะห่างน้อยกว่า 0.02 หน่วยดาราศาสตร์ แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวเคราะห์มีค่าราว 1.7 เท่าของโลก ทำให้ดาวเคราะห์นี้เป็นดาวซูเปอร์เอิร์ธขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ เนื่องจากดาวเคราะห์นี้พบในระยะประชิดกับดาวฤกษ์แม่มาก จึงเชื่อว่าอุณหภูมิพื้นผิวน่าจะสูงถึง 1000–1500 °C[60] 2009; กลีเซอ 581 อีวันที่ 21 เมษายน 2009 หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 4 โคจรรอบดาว Gliese 581 ที่ระยะห่างน้อยกว่า 0.03 หน่วยดาราศาสตร์ ประเมินว่าดาวเคราะห์นี้มีมวลต่ำสุดประมาณ 1.9 เท่าของมวลโลก ทำให้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่เบาที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจพบ[6]

ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบในแบบต่าง ๆ

การค้นพบดาวเคราะห์ดาวฤกษ์ปีที่ค้นพบหมายเหตุ
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ถูกค้นพบPSR B1257+12 B
PSR B1257+12 C
PSR B1257+121992ดาวเคราะห์พัลซาร์ดวงแรก ดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธดวงแรก
  • มีการคาดการณ์ถึงดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวแกมมาเซเฟย์ มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 1988
  • ค้นพบ HD 114762 b ตั้งแต่ปี 1989 แต่ได้รับการยืนยันเป็นดาวเคราะห์นอกระบบในปี 1996
การค้นพบครั้งแรกของแต่ละวิธีการ
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยวิธีการจับเวลาพัลซาร์PSR B1257+12 B
PSR B1257+12 C
PSR B1257+121992
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยวิธีการความเร็วแนวเล็ง51 Pegasi b51 Pegasi1995
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยวิธีการเคลื่อนผ่านOGLE-TR-56 bOGLE-TR-562002
  • ดาวเคราะห์นอกระบบที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่านดวงแรกคือ
    HD 209458 b ซึ่งได้ถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้แล้ว
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยวิธีการเลนส์ความโน้มถ่วงOGLE-2003-BLG-235L bOGLE-2003-BLG-235L/MOA-2003-BLG-53L2004
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยการสังเกตในช่วงแสงFomalhaut bFomalhaut2008
การค้นพบครั้งแรกแยกตามประเภทของระบบ
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบในระบบดาวเดี่ยวPSR B1257+12 B
PSR B1257+12 C
PSR B1257+121992ถูกค้นพบครั้งแรก
  • HD 114762 b ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 แต่ไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั่ง ค.ศ. 1996
ดาวเคราะห์แบบลอยอิสระที่ค้นพบครั้งแรกS Ori J053810.1-023626
(S Ori 70)
2004มีมวลประมาณสามเท่าของดาวพฤหัสบดี
  • วัตถุลอยอิสระไม่ถือว่าเป็นดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบในระบบดาวแบบพหุครั้งแรก55 Cancri b55 Cancri199655 Cnc เป็นระบบดาวที่ประกอบด้วยดาวแคระแดง
  • มีการคาดการณ์ถึงดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวแกมมาเซเฟย์ มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 1988
  • Gamma Cephei Ab เป็นคู่สัมพัทธ์ใกล้ชิดกับดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์นอกระบบแห่งแรกที่ค้นพบว่ามีวงโคจรรอบวัตถุสองวัตถุPSR B1620-26 bPSR B1620-261993โคจรรอบพัลซาร์และดาวแคระขาว
ระบบดาวเคราะห์นอกระบบแห่งแรกที่มีดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวงPSR B1257+12 A
PSR B1257+12 B
PSR B1257+12 C
PSR B1257+121992ระบบพัลซาร์ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์นอกระบบแห่งแรกที่ค้นพบในกระจุกดาวPSR B1620-26 bPSR B1620-261993อยู่ใน เมสสิเยร์ 4
การค้นพบครั้งแรกแยกตามประเภทของดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์พัลซาร์ที่ถูกค้นพบครั้งแรกPSR B1257+12 B
PSR B1257+12 C
PSR B1257+121992
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก (คล้ายดวงอาทิตย์)51 Pegasi b51 Pegasi1995
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวแคระแดงGliese 876 bGliese 8761998
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวยักษ์Iota Draconis bIota Draconis2002
  • Aldebaran b ถูกค้นพบในปี 1997 แต่ไม่ได้รับการยืนยัน
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวแคระขาวPSR B1620-26 bPSR B1620-261993
  • GD 66 b ถูกค้นพบในปี 2007 แต่ไม่ได้รับการยืนยัน
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล2M1207 b2M12072004สามารถถ่ายภาพโดยตรงเป็นดวงแรก
ดาวเคราะห์ลอยอิสระที่ถูกค้นพบครั้งแรกS Ori J053810.1-023626
(S Ori 70)
2004มีมวลประมาณสามเท่ามวลดาวพฤหัสบดี
  • วัตถุลอยอิสระไม่ถือว่าเป็นดาวเคราะห์
การค้นพบครั้งแรกแยกตามประเภทของดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์หินดวงแรกที่พบโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักOGLE-2005-BLG-390L bOGLE-2005-BLG-390L2006
การค้นพบครั้งแรกอื่น ๆ
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่พบการเคลื่อนผ่านHD 209458bHD 2094581999
  • OGLE-TR-56b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบโดยวิธีการเคลื่อนผ่าน
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพได้โดยตรง (ในช่วงคลื่นอินฟราเรด)2M1207 b2M12072004ดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวแคระน้ำตาลที่ถูกค้นพบครั้งแรก
ดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวทั่วไปดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพได้โดยตรง (ในช่วงคลื่นอินฟราเรด)??1RXS J160929.1-2105242008ดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ที่ถูกค้นพบครั้งแรก[61]
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่สามารถถ่ายภาพได้โดยตรงในช่วงคลื่นแสงFomalhaut bFomalhaut2008

ใกล้เคียง

ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวเคราะห์ ดาวเคียงเดือน (ละครโทรทัศน์) ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ ดาวเคราะห์รอบดาวคู่ ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน ดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์มหาสมุทร ดาวเคราะห์พเนจร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวเคราะห์นอกระบบ http://obswww.unige.ch/~udry/Gl581_preprint.pdf http://obswww.unige.ch/~udry/planet/planet.html http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://arstechnica.com/news.ars/post/20081113-two-... http://afp.google.com/article/ALeqM5iA-PPiKC8oJh3q... http://tech.uk.msn.com/news/article.aspx?cp-docume... http://www.nature.com/cgi-taf/DynaPage.taf?file=/n... http://www.nature.com/cgi-taf/DynaPage.taf?file=/n... http://www.nature.com/nature/journal/v355/n6356/ab... http://www.nature.com/nature/journal/v378/n6555/ab...