ข้อกล่าวหาและข้อโต้แย้ง ของ ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์

เรื่องภาพถ่าย

ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ที่มีการอ้างว่าถ่ายทำบนดวงจันทร์ ได้ถูกกล่าวหาว่าถ่ายทำบนโลก

1. สัญลักษณ์กากบาทสำหรับระบุตำแหน่งในบางรูปภาพปรากฏที่หลังวัตถุ แทนที่จะอยู่ด้านหน้า

  • ในการถ่ายภาพ วัตถุที่มีสีสว่าง (วัตถุที่อยู่หลังสัญลักษณ์กากบาท) ทำให้วัตถุสีดำ (กากบาท) หายไป ซึ่งเป็นผลของการที่ฟิล์มได้แสงมากเกินไป

2. คุณภาพของภาพถ่ายดีอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าจะถ่ายในอวกาศ

  • นาซาเลือกภาพถ่ายที่ดีที่สุดสำหรับการนำเสนอต่อสื่อมวลชน ซึ่งก็ได้นำภาพดังกล่าวไปคัดเลือกอีกทีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ภาพส่วนใหญ่ถูกตัดกรอบเพื่อทำให้มีการวางองค์ประกอบที่ดีขึ้น ภาพที่ถ่ายนั้นยังถ่ายด้วยกล้องฮาสเซลบลาดคุณภาพสูงด้วยเลนซ์ไซสส์ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีภาพมากมายที่ได้แสงมากเกินหรือมีโฟกัสที่ผิดพลาด ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถดูได้ที่ Apollo Lunar Surface Journal

3. ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ โดยขณะเดียวกันนักบินไม่ได้มีการกล่าวถึงการมองเห็นดวงดาวในยานอวกาศ จากภาพถ่ายของหลายโครงการสำรวจอวกาศ

  • ไม่มีปรากฏภาพของดวงดาวในกระสวยอวกาศ, สถานีอวกาศเมียร์ สถานีอวกาศนานาชาติ และที่สังเกตการณ์บนโลกเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพในลักษณะนี้ ปกติจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ความเร็วสูง เพื่อป้องกันแสงที่ออกมาไฟส่องทำให้ภาพขาวจนเกินไป ในขณะเดียวกันที่ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้ ไม่สามารถถ่ายภาพดวงดาวได้

4. สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก

  • เนื่องจากต้นแหล่งของแสง จากดวงอาทิตย์ โลก และดาวอื่นๆ โดยแสงต่าง ๆ ที่ส่องเข้ามาที่ดวงจันทร์ มักจะเกิดความกระเจิงเนื่องจากฝุ่นหินบนดวงจันทร์

5. พื้นหลังของภาพที่ถูกรายงานว่าถ่ายจากคนละสถานที่กลับเหมือนกัน

  • การเปรียบเทียบอย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่าง

6. จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ

  • นักบินอวกาศได้รับการฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือการถ่ายภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้อุปกรณ์การถ่ายภาพยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้สะดวก ถึงขนาดที่ถ่ายได้สองภาพต่อหนึ่งวินาที ถ้าดูภาพที่ถ่ายมาจะพบว่าภาพจำนวนมากถูกถ่ายต่อเนื่องกัน

เรื่องการสื่อสาร

  1. การสื่อสารข้อมูลที่ควรจะดีเลย์ 2 วินาที ระหว่างสื่อที่อยู่บนโลกและนักบินจากดวงจันทร์ ซึ่งการส่งสัญญาณสองทาง ระยะทางประมาณ 400,000 กม. (250,000 ไมล์)
  2. สัญญาณที่ หอดูดาวปาร์กส (Parkes Observatory) ในประเทศออสเตรเลีย ควรจะได้ชัดเจนกว่าสัญญาณที่อื่น เปรียบเทียบจากในขณะที่ โดยเทียบกับตำแหน่งของดวงจันทร์ในขณะนั้น แต่หอดูดาวปาร์กส์รับข้อมูลจากหอดูดาวของสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่คนละซีกโลกของดวงจันทร์ โดยทางนาซาได้ให้ข่าวว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลลับซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบก่อน ถึงจะออกแก่สื่อมวลชนได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ http://abcnews.go.com/blogs/technology/2012/07/ame... http://lroc.sese.asu.edu/news/index.php?/categorie... http://history.nasa.gov/alsj/frame.html http://www.hq.nasa.gov/alsj/frame.html http://science.nasa.gov/science-news/science-at-na... http://www.nasa.gov/mission_pages/LRO/news/apollo-... http://www.clavius.org/index.html http://thaiastro.nectec.or.th/news/2002/special/mo... http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-1905...