ทักษาเวียงเชียงใหม่
ทักษาเวียงเชียงใหม่

ทักษาเวียงเชียงใหม่

ในการสร้างเวียงเชียงใหม่นั้น พญามังรายได้ทรงให้เหล่าโหราจารย์ ราชบัณฑิต คิดหาฤกษ์ยามในการสถาปนาเมืองตามแนวคิดและความเชื่อของคนโบราณที่ว่า เมืองนั้นก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคน เมื่อมีการสร้างเมืองขึ้นมาก็เหมือนกับการให้ชีวิตเมืองด้วย เมืองนั้นมีส่วนต่าง ๆ เหมือนคน มีหัว มีสะดือ มีส่วนต่าง ๆ อยู่ตามทิศต่าง ๆ และมีดวงเหมือนเหมือนคน เมืองแต่ละเมืองก็จะมีทิศของดวงต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อใดเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับเมือง หรือเกิดภัยพิบัติจะต้องมีการสืบชะตาเมืองเหมือนกับคนด้วย โดยความเชื่อเกี่ยวกับทิศของดาวเมืองนี้เป็นสิ่งที่บันทึกไว้ในคัมภีร์มหาทักษา หรือ ภูมิพยากรณ์ ของศาสนาพราหมณ์ โดยทักษา หมายถึง ชื่อเรียกกลุ่มดาวอัฐเคราะห์ หรือดาวทั้งแปด คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ ที่จัดเข้าระเบียบเป็น บริวาร อายุ เดช ศรี มูล อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) ไปตามทิศทั้ง 8 คือ บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ และอุดรทักษาเวียงเชียงใหม่นั้นกำหนดตามทิศต่าง ๆ ดังนี้