ประวัติ ของ ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย

ทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างโมเรฮ์กับแม่สอดผ่านพม่าได้รับการเสนอครั้งแรกในการประชุมรัฐมนตรีไตรภาคีเกี่ยวกับการเชื่อมโยงการคมนาคมในย่างกุ้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545[8] ซึ่งเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจรความยาวประมาณ 1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์)[9][10]

ช่วงโมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่-มโหย่-กะเล่วะ

ถนนมิตรภาพอินเดีย–พม่า มีความยาว 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) เชื่อมต่อระหว่างโมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่-มโหย่-กะเล่วะ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงไตรภาคี ถนนสายนี้สร้างโดยองค์การถนนชายแดน (BRO) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกอินเดีย องค์การถนนชายแดนบำรุงรักษาถนนจนถึงปี พ.ศ. 2552 หลังจากเส้นทางดังกล่าวถูกถ่ายโอนให้กับรัฐบาลพม่า[11] ตามข้อตกลงเดิมระหว่างอินเดียและพม่าในโครงการถนนมิตรภาพ รัฐบาลอินเดียจะรับผิดชอบการขยายและปูพื้นถนนที่อยู่ในเขตทาง ส่วนรัฐบาลพม่าจะบำรุงรักษาสะพานขนาด 1 ช่องจราจรทิศทางเดียวที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดแนวโครงการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่าไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่จะซ่อมแซมสะพานตามข้อตกลงได้[12] ทำให้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 อินเดียประกาศว่าจะลงทุนเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซ่อมแซมทางหลวงที่มีอยู่ และซ่อมแซมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพสะพานทั้ง 71 แห่งที่รัฐบาลพม่าไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้[13] ส่วนพม่าระบุว่าจะดำเนินการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพช่วงยาจี-โมนยวา และเปิดมอเตอร์เวย์ระหว่างมัณฑะเลย์-เนปยีดอและย่างกุ้ง หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกข้อผูกพันธ์ดังกล่าว โดยคาดว่าอินเดียจะปรับปรุงเส้นทางจากโมเรฮ์สู่โมนยวา ซึ่งมีการเสนอเส้นทางอื่นสำหรับการขยายและปรับปรุงระหว่างมัณฑะเลย์-เนปยีดอและย่างกุ้ง[14]

รัฐบาลอินเดียยังมีแผนที่จะสร้างถนนจากโซคาธาร์ รัฐมิโซรัม ผ่านชายแดนโซคาธาร์-ริห์เข้าสู่ตีเดนในรัฐชีนของพม่า ซึ่งจะเป็นอีกเส้นทางผ่านแดนจากอินเดียที่จะไปบรรจบกับทางหลวงไตรภาคีในพม่า[15]

ช่วงกะเล่วะ-ยาจี

ระหว่างการเยือนอินเดียของทีนจอ ประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับรัฐบาลอินเดีย โดยรัฐบาลอินเดียจะสนับสนุนเงินทุนในการก่อสร้างสะพาน 69 แห่ง รวมไปถึงทางหลวงช่วงตะมู่-ไคโกเนะ-กะเล่วะ ระยะทาง 149.70 กิโลเมตร (93.02 ไมล์) และปรับปรุงเส้นทางช่วงกะเล่วะ-ยาจี ระยะทาง 120.74 กิโลเมตร (75.02 ไมล์)[16][17][18][19][20][21][22] อินเดียได้ให้เงินทุนสำหรับการปรับปรุงสะพาน 73 แห่งตลอดเส้นทางในพม่าซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[23][24] อินเดียและพม่าลงนามในข้อตกลงเพื่อเร่งมือในการก่อสร้างทางหลวงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559[25][26][27] ปราบีร์ เดอ ผู้ประสานงานศูนย์อาเซียน-อินเดียร์ ณ ฝ่ายวิจัยและระบบสารสนเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา กล่าวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ว่าองค์การถนนชายแดนได้เสร็จสิ้นการปรับปรุงเส้นทางช่วงตะมู่-กะเล่วะ-กะเล่-มโหย่ ระยะทาง 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) ภายใต้วงเงิน 27.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[28] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรเงินจำนวน 256 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปรับปรุงทางหลวงระยะทาง 1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์) จากโมเรฮ์ในมณีปุระ ผ่านตะมู่ในพม่าไปสู่แม่สอดในไทย[29] เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 องค์การทางหลวงแห่งชาติอินเดียได้ให้สัมปทานการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนช่วงกะเล่วะ-ยาจีมูลค่า ₹1,200 โคร (5.1 พันล้านบาท) ให้กับบริษัทร่วมทุนของบริษัทปุนลอย (Punj Lloyd) และวราฮา อินฟรา จำกัด ระยะทาง 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร โดยสัญญางานวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างในโครงการนี้ใช้เงินทุนทั้งหมดจากกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย[30] ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561 การก่อสร้างช่วงยาจี-กะเล่วะโดยบริษัทปุนลอยได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 ปี คือเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ด้วยวงเงินงบประมาณมูลค่า 11,770 ล้านรูปี ตามสัญญาแบบอีพีซีโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจ[31] โดยเป็นเส้นทางมาตรฐานสากลขนาด 2 ช่องจราจรในแต่ละทิศทาง (รวม 4 ช่องจราจร) ไหล่ทางลาดยาง ประกอบด้วยที่พักรถบรรทุกจำนวน 6 แห่ง ที่หยุดรถประจำทางและที่พักผู้โดยสาร 20 แห่ง จุดพักรถ 1 แห่ง การเสริมความแข็งแรกของสะพานหลัก 4 แห่ง สะพานรอง 9 แห่ง และก่อสร้างสะพานหลักใหม่ 3 แห่ง และสะพานรอง 2 แห่ง[31]

ช่วงเมียวดี-ติงกะหยิงหย่อง-ก่อกะเรก

ทางหลวงช่วงเมียวดี-ติงกะหยิงหย่อง-ก่อกะเรก มีระยะทาง 25.6 กิโลเมตร (15.9 ไมล์) เปิดใช้งานโดยเจ้าหน้าที่ของทางการไทยและพม่าเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558[32] ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างติงกะหยิงหย่องและก่อกะเรก จาก 3 ชั่วโมง เหลือ 45 นาที การก่อสร้างช่วงดังกล่าวเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ในวันเดียวกันนั้นได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เที่เมืองเมียวดี ประเทศพม่า เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 2 ที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอแม่สอดในฝั่งไทย และเมียวดีในฝั่งพม่า[33][34][35][36]

ช่วงเอ็นดู-สะเทิม

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พม่าได้อนุมัติข้อเสนอจากรัฐบาลไทยในการดำเนินการขยายเส้นทางความยาว 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) ช่วงถนนระหว่างสะเทิมในรัฐมอญและเอ็นดูในรัฐกะเหรี่ยง การขยายเส้นทางดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลไทยมูลค่า 51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ขอบเขตการขยายผิวถนนและปรับปรุงผิวถนนให้ดีขึ้น พม่ายังขอให้ไทยช่วยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนอื่น ๆ ของทางหลวงด้วย[37][38][39]

การจัดหาเงินทุน

ในเดือนพฤษภาคม นิติ อายอก (NITI Aayog) ของอินเดียเสนอให้จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle) ที่เป็นเจ้าของโดยทั้งสามประเทศเพื่อติดตามและดำเนินการโครงการดังกล่าว[40]

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย https://www.orfonline.org/research/the-role-of-bim... https://www.tripoto.com/trip/india-delhi-to-thaila... https://www.telegraphindia.com/north-east/highway-... http://www.irrawaddy.com/news/burma/burma-road-pro... http://www.irrawaddy.com/multimedia-burma/slow-con... http://www.mizzima.com/business-domestic/myanmar-l... http://www.financialexpress.com/india-news/governm... http://www.financialexpress.com/economy/mea-direct... http://www.financialexpress.com/archive/up-thailan... https://thediplomat.com/2021/01/connectivity-gaini...