สถานะเส้นทาง ของ ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย

สถานะเส้นทางช่วงต่าง ๆ ของทางหลวงตามรายงานของกระททรวงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียได้แสดงไว้ดังตารางด้านล่าง[50][51] โดยระหว่างวันที่ 9–14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีการทดลองให้บริการรถโดยสารประจำทางบนเส้นทางอิมผาล-มัณฑะเลย์-เนปยีดอ บนเส้นทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อในช่วงระหว่างกะเล่วะ-ยาจี[52][53]

ลำดับเชื่อมต่อระยะทางสถานะหมายเหตุ
1.โมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่วะ149.70 กิโลเมตร (93.02 ไมล์)สร้างเสร็จ (2560)
2.กะเล่วะ-ยาจี120.74 กิโลเมตร (75.02 ไมล์)อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (256?)[30][31] ช่วนี้รวมไปถึงการสร้างสะพานใหม่ 69 แห่ง และถนนที่ต่อเนื่องกัน ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ความคืบหน้าการก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วร้อยละ 50 เนื่องจากความลาดชันของเส้นทาง โค้งหักศอก และความไม่มั่นคงทางการเมือง[54][55]
3.ยาจี-ชวงมา-โมนยวา64.4 กิโลเมตร (40.0 ไมล์)สร้างเสร็จ (2564)ผ่านอุทยานแห่งชาติอลองดอว์กัสสป
4.โมนยวา-มัณฑะเลย์136 กิโลเมตร (85 ไมล์)สร้างเสร็จ (256?)
5.มัณฑะเลย์-เลี่ยงมืองเมะทีลา123.13 กิโลเมตร (76.51 ไมล์)สร้างเสร็จ (2553)ส่วนหนึ่งของทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ ที่เปิดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
6.เลี่ยงมืองเมะทีลา-ตองอู-โอะตวี่น-แปร (ปรอน)238 กิโลเมตร (148 ไมล์)สร้างเสร็จ (2553)ส่วนหนึ่งของทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ ที่เปิดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
7.แปร-เธนซายัต-สะเทิม140 กิโลเมตร (87 ไมล์)สร้างเสร็จ (2560)เมืองแปรจนถึงมะริด (รวมไปถึงช่วงสะเทิม-มอละมไยง์จู้น-ก่อกะเรก) ได้รับการปรับปรุงโดยอินเดีย[56][57] และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 8 (ประเทศพม่า)
8.สะเทิม-มอละมไยน์-ก่อกะเระ134.4 กิโลเมตร (83.5 ไมล์)สร้างเสร็จ (2564)

ถนนจากสะเทิมสู่เอ็นดู (รัฐกะเหรี่ยง) มีระยะทาง 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 8 (ประเทศพม่า) และเป็นส่วนหนึ่งของถนนสะเทิม-เอ็นดู-เมาะลำเลิง ซึ่งได้รับการขยายและปรับปรุงหลังจากข้อตกลงของไทยที่จะจ่ายเงินก่อสร้างส่วนดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[37] ส่วนของช่วงเอ็นดู-เมาะลำเลิง-ก่อกะเรก ระยะทาง 66.4 กิโลเมตร (41.3 ไมล์) ที่เหลือ ได้รับการปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐานสากล (มาตรฐานทางหลวงเซียน ชั้น 2) แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564[58] โดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย[59][60]

9.ก่อกะเระ-เมียวดี25.6 กิโลเมตร (15.9 ไมล์)สร้างเสร็จ (2558)
10.เมียวดี-แม่สอด20 กิโลเมตร (12 ไมล์)สร้างเสร็จ (2564)ด่านศุลกากร ถนนสายที่สองและสะพานรถไฟ ถนนเลี่ยงเมืองแม่สอดระยะทาง 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) และทางหลวงตาก-แม่สอดในฝั่งไทยสร้างเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยมีระยะห่างจากทางหลวงของฝั่งพม่าเพียง 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) โดยในฝั่งพม่ายังอยู่ระหว่างจากพิจารณาในปี พ.ศ. 2560[61] จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โครงการนี้จึงได้แล้วเสร็จ[62]

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย https://www.orfonline.org/research/the-role-of-bim... https://www.tripoto.com/trip/india-delhi-to-thaila... https://www.telegraphindia.com/north-east/highway-... http://www.irrawaddy.com/news/burma/burma-road-pro... http://www.irrawaddy.com/multimedia-burma/slow-con... http://www.mizzima.com/business-domestic/myanmar-l... http://www.financialexpress.com/india-news/governm... http://www.financialexpress.com/economy/mea-direct... http://www.financialexpress.com/archive/up-thailan... https://thediplomat.com/2021/01/connectivity-gaini...