กลไก ของ ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา

โครงสร้างของโปรตีนเฮโมโกลบินหน่วยแอลฟาและเบตาเป็นสีแดงและน้ำเงิน

โดยทางพันธุศาสตร์แล้ว ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)[1]ซึ่งหมายความว่าทั้งพ่อแม่ (คือ ยีนทั้ง 2 ก๊อปปี้) ต้องมียีนนี้[4]คนที่เป็นพาหะจะได้ยีนปกติที่สามารถผลิตเฮโมโกลบินเอมาจากพ่อหรือแม่ และได้ยีนที่ไม่สามารถผลิตเฮโมโกลบินเอจากอีกคนหนึ่ง[5]ทาลัสซีเมียประเภทนี้พิจารณาว่ามีน้อย[6]

ในด้านพยาธิสรีรภาพของโรค โปรตีนโกลบินแบบเดลตาและบีตาจะมีการหลุดหาย (deletion) ดังนั้นยีนที่ได้รับการถอดรหัส (คือ ทำก๊อปปี้อาร์เอ็นเอ[7])จะเป็นยีนแกมมาที่อยู่บนโครโมโซมที่เสียหาย[8]

ถ้าบุคคลมีการกลายพันธุ์เป็นยีนเดลตา0ทั้งสอง ก็จะไม่สามารถผลิตเฮโมโกลบินแบบเอ2 (alpha2,delta2) ได้แต่ว่า นี่ค่อนข้างมีผลน้อยเพราะว่าในเลือด เพียงแค่ 2-3% ของเฮโมโกลบินที่ผลิตในผู้ใหญ่เป็นเฮโมโกลบินแบบเอ2ดังนั้น แม้บุคคลนี้ก็ยังมีกำหนดเลือดที่เป็นปกติ คือ จำนวนเม็ดเลือดแดง, เฮโมโกลบินรวม, และปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV)ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตามียีนกลายพันธุ์ตำแหน่งหนึ่งที่จุด +69[9]

ความสัมพันธ์กับทาลัสซีเมียแบบบีตา

ความสำคัญในการรู้จักว่ามีทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาก็คือ เมื่อมันอาจจะพรางวินิจฉัยของทาลัสซีเมียแบบบีตาเพราะว่าปกติแล้วในทาลัสซีเมียบีตา ระดับเฮโมโกลบินเอ2 จะสูงขึ้นแต่ว่า การมีทาลัสซีเมียเดลตา-บีตาร่วมด้วยจะลดระดับของเฮโมโกลบินเอ2 จนถึงระดับปกติ และดังนั้นจะพรางการวินิจฉัยว่ามีทาลัสซีเมียแบบเบตา[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282.... http://www.nature.com/gim/journal/v12/n2/full/gim2... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC391543... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC484324... http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2020/MB_cgi?field=... http://patient.info/health/thalassaemia-leaflet http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.orpha.net/consor/cgi-bin/Disease_Genes.... http://www.orpha.net/consor/cgi-bin/OC_Exp.php?Lng... //doi.org/10.1097%2FGIM.0b013e3181cd68ed