ที่พักริมทางในประเทศไทย ของ ที่พักริมทาง

ในประเทศไทย ที่พักริมทาง (Rest Area) ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 3[18] จัดให้มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกบริการต่าง ๆ อาทิ สถานีบริการเชื้อเพลิง ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำ ร้านอาหาร และบริการอื่น ๆ ให้กับผู้ใช้เส้นทางในการผ่อนคลายจากการเดินทาง[19]

ทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน

ในระบบทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน กรมทางหลวงได้มีการกำหนดมาตรฐานของที่พักริมทาง (Rest Area) โดยจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวพพื้นฐานที่ครบถ้วนและจำเป็น อาทิ น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบรองรับขยะ ของเสียและสิ่งปฏิกูล สิ่งอำนวยความสะดวกผู้พิการ ทุพพลภาพและคนชรา มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม อยู่ในจุดที่มีความปลอดภัยด้านการจราจร รวมถึงพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนและผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทาง เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ในอาคาร โดยจะต้องมีพื้นที่สูบบุหรี่แยกออกมาในบริเวณที่เหมาะสม[20]

สำหรับที่พักริมทางตามมาตรฐานหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน 3 ประเภทนั้น ประกอบไปด้วย

ศูนย์บริการทางหลวง

สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 1 บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) คือที่พักริมทางขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ตั้งแต่ประมาณ 50 ไร่ขึ้นไป มีระยะห่างกับศูนย์บริการทางหลวงอื่นประมาณ 60 - 100 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดพักหลักของผู้ใช้เส้นทาง ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานจำนวน 13 ข้อ[20] ดังนี้

  1. พื้นที่จอดรถสำหรับยานพาหนะทุก ๆ ประเภท โดยไม่มีการเก็บค่าบริการอย่างน้อย 4 ชั่วโมงแรกที่จอด
  2. ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานโดยไม่คิดค่าบริการ และพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
  3. พื้นที่นั่งพักผ่อนภายในร่ม
  4. สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
  5. โทรศัพท์สาธารณะและบริการโทรศัพท์ฉุกเฉิน
  6. มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือครอบคลุมพื้นที่ของที่พักริมทาง
  7. มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่ของที่พักริมทาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้โดยไม่คิดค่าบริการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแรก
  8. การบริการข้อมูลเส้นทางและการจราจร
  9. สถานีบริการเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ รวมถึงบริการปั๊มลมและน้ำสำหรับเติม
  10. สถานที่เปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็ก รองรับการใช้งานได้ทุกเพศ
  11. สนามเด็กเล่น และพื้นที่สีเขียวสำหรับผ่อนคลายและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
  12. ศูนย์ปฐมพยาบาล
  13. หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและหน่วยระงับอัคคีภัย

สถานที่บริการทางหลวง

สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) คือที่พักริมทางขนาดกลาง มีเนื้อที่ตั้งแต่ประมาณ 20 ไร่ขึ้นไป มีระยะห่างกับศูนย์บริการทางหลวงหรือสถานที่บริการทางหลวงอื่นประมาณ 30 - 60 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดพักหลักของผู้ใช้เส้นทาง ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานจำนวน 11 ข้อ[20] เหมือนกับศูนย์บริการทางหลวง ยกเว้นข้อ 12 - 13 คือไม่มี ศูนย์ปฐมพยาบาล และหน่วยกู้ภัยฉุกเฉิน/หน่วยระงับอัคคีภัย

จุดพักรถ

จุดพักรถ (Rest Stop) คือที่พักริมทางขนาดเล็ก มีเนื้อที่ตั้งแต่ประมาณ 5 ไร่ขึ้นไป มีระยะห่างกับศูนย์บริการทางหลวงหรือสถานที่บริการทางหลวงอื่นประมาณ 10 - 30 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดพักเสริมสำหรับผู้ใช้เส้นทาง หรือสร้างขึ้นสำหรับผู้ใช้ทางเฉพาะประเภท เช่น จุดพักรถสำหรับรถบรรทุก ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานจำนวน 9 ข้อ[20] ดังนี้

  1. พื้นที่จอดรถสำหรับยานพาหนะทุก ๆ ประเภท โดยไม่มีการเก็บค่าบริการอย่างน้อย 4 ชั่วโมงแรกที่จอด
  2. ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานโดยไม่คิดค่าบริการ และพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
  3. พื้นที่นั่งพักผ่อนภายในร่ม
  4. สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
  5. โทรศัพท์สาธารณะและบริการโทรศัพท์ฉุกเฉิน
  6. มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือครอบคลุมพื้นที่ของที่พักริมทาง
  7. มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่ของที่พักริมทาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้โดยไม่คิดค่าบริการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแรก
  8. การบริการข้อมูลเส้นทางและการจราจร
  9. พื้นที่สีเขียวสำหรับผ่อนคลายและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

ทางหลวงแผ่นดิน

ในระบบทางหลวงแผ่นดิน กรมทางหลวงได้จัดให้มีที่พักริมทางหลายประเภทตามคุณลักษณะการใช้งาน อาทิ ที่พักริมทาง ศูนย์บริการทางหลวง จุดจอดพักรถบรรทุก

ป้ายแสดงตำแหน่งที่พักริมทางในประเทศไทย

ที่พักริมทาง

ที่พักริมทาง (Rest Area) หรือ จุดพักรถ เป็นพื้นที่พักผ่อนสำหรับผู้ที่ใช้ทางหลวงในการเดินทาง มีให้บริการอยู่ตามแนวสายทางหลวงแผ่นดินทั่วประเทศ บริเวณสำนักงานหมวดทางหลวง ประมาณ 500 แห่ง[21] และจุดชมวิวที่สวยงามต่าง ๆ บนสายทาง[22] ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน คือห้องน้ำ และห้องน้ำสำหรับผู้พิการ ทุพพลภาพและคนชรา รวมถึงบางแห่งในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว สามารถพักผ่อนค้างคืนได้ในบริเวณจุดกางเต็นท์[21]

ศูนย์บริการทางหลวง

ศูนย์บริการทางหลวง (Service Area) เป็นที่พักรถสำหรับให้บริการผู้ใช้เส้นทาง ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อาทิ สถานีบริการน้ำมัน ห้องน้ำ ร้านอาหาร โทรศัพท์สาธารณะ พื้นที่ปฐมพยาบาล เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ สิ่งอำนวยความสะดวกผู้พิการ ทุพพลภาพและคนชรา ปัจจุบันมีจำนวน 4 ศูนย์[23]

จุดจอดพักรถบรรทุก

จุดจอดพักรถบรรทุก (Truck Rest Area) เป็นที่พักรถสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ อยู่ร่วมกับสถานีตรวจสอบน้ำหนักของกรมทางหลวง[24] ซึ่งมีบริเวณที่กว้างขวางสำหรับพักรถบรรทุกโดยเฉพาะ มีห้องน้ำและเครื่องดื่มให้บริการ รวมถึงให้บริการข้อมูลเส้นทางและสภาพการจราจรสำหรับใช้ในการวางแผนการเดินทาง และลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเนื่องจากสภาวะเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่รถบรรทุก[25] ตามแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายแผละแผนการขนส่งและจราจร[26] ปัจจุบันมึจำนวน 21 แห่ง[27] ตามแนวเส้นทางขนส่งสำคัญ[28]

ทางหลวงชนบท

ในทางหลวงชนบทของกรมทางหลวงชนบทนั้น ที่พักริมทางจะใช้คำว่า จุดพักรถ (Rest Area) สามารถพบได้ในสายทางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ อาทิ ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย

ใกล้เคียง

ที่พักริมทาง ที่พักสงฆ์บ้านหนองบัว ที่พักสงฆ์บ้านบ่อพระ ที่พักสงฆ์ ที่พักสงฆ์บ้านเด่นกระต่าย ที่พักข้อมูล ที่ตั้งของโลกในเอกภพ ที่นั่งส่วนขยาย ที่พยาบาลกองพัน ที่พำนักของสังฆราชมหานครแห่งบูโควีนาและแดลเมเชีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ที่พักริมทาง http://www.doh-motorway.com/master-plan/rest-area-... http://www.drivingschoolireland.com/signs-informat... http://www.roadtripamerica.com/dashboarding/Wi-Fi-... http://alk.tiehallinto.fi/thohje/pdf2/pysakoimis_j... http://www.governor.ny.gov/press/09232013-governor... http://www.abelard.org/france/motorway-aires1.php http://www.abelard.org/france/motorway-aires15-gar... http://www.doh.go.th/content/page/page/8074 http://msoh.go.th/web/index.php/new/268-621223 http://www.cbrd.co.uk/reference/international/fran...