การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม ของ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญกรุงโรม กระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบด้วยมติไม่น้อยกว่าสองในสามของรัฐภาคีทั้งหมดของธรรมนูญ และจะไม่มีผลใช้บังคับ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบด้วยมติไม่น้อยกว่าเจ็ดในแปดของรัฐภาคีทั้งหมด[19] ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีผลใช้บังคับแก่รัฐภาคีที่เห็นชอบด้วยในการแก้ไขนี้เท่านั้น[19]

รัฐภาคีมีหน้าที่เข้าร่วมการประชุมทบทวนธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ (Review Conference of the International Criminal Court Statute) ตามที่ตกลงกันให้จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2553[20] ในการประชุมนี้ มีการให้ความเห็นชอบบทนิยามเกี่ยวกับความผิดว่าด้วยการรุกราน เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิพากษาคดีความผิดดังกล่าวได้เป็นครั้งแรก

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.state.gov/r/pa/prs/ps/2002/9968.htm http://www.icc-cpi.int/ http://www.icc-cpi.int/library/asp/OR_Vol_I_PartII... http://web.amnesty.org/library/index/engior4000820... http://www.amnestyusa.org/International_Justice/In... http://web.archive.org/web/20040605155639/http://w... http://www.asil.org/insights/insigh23.htm http://www.heritage.org/Research/InternationalOrga... http://www.iccnow.org/?mod=rome