สถานะการให้สัตยาบัน ของ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

  ลงนามและให้สัตยาบันแล้ว
  ลงนามแต่ไม่ให้สัตยาบัน
  ไม่มีบทบาททั้งสิ้น

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ปรากฏว่า มีรัฐจำนวนหนึ่งร้อยแปดรายเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ รัฐเกือบทั้งหมดในยุโรป รัฐทั้งหมดในอเมริกาใต้ และรัฐเกือบกึ่งหนึ่งของแอฟริกา[2][14][15]

นับแต่จัดการประชุมทางการทูตเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงโรมในปี 2541 เป็นต้นมา ปรากฏว่า มีรัฐอีกสี่สิบกว่ารายที่ลงนามในธรรมนูญแล้ว แต่ยังมิได้ยื่นสัตยาบันสาร สารให้ความยอมรับ สารให้ความเห็นชอบ หรือภาคยานุวัติสาร[2] อนุสัญญาสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎแห่งสนธิสัญญาบัญญัติให้รัฐเหล่านี้ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของธรรมนูญกรุงโรม[16] ต่อมาในปี 2545 รัฐสองรายในบรรดารัฐทั้งสี่สิบดังกล่าว คือ สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ได้ถอนการลงนามเสีย และประกาศว่า ไม่ต้องการเป็นรัฐภาคีในธรรมนูญกรุงโรมอีกต่อไป[2][17][18]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐสี่สิบรายดังกล่าวที่ลงนามแล้ว แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.state.gov/r/pa/prs/ps/2002/9968.htm http://www.icc-cpi.int/ http://www.icc-cpi.int/library/asp/OR_Vol_I_PartII... http://web.amnesty.org/library/index/engior4000820... http://www.amnestyusa.org/International_Justice/In... http://web.archive.org/web/20040605155639/http://w... http://www.asil.org/insights/insigh23.htm http://www.heritage.org/Research/InternationalOrga... http://www.iccnow.org/?mod=rome