พฤติกรรมและนิเวศวิทยา ของ นกจาบธรรมดา

นกชอบอยู่เป็นกลุ่มหากินเมล็ดพืชเป็นฝูง ทั้งบนไม้และบนพื้นบินต่อกันเป็นฝูง บ่อยครั้งเปลี่ยนทิศทางได้อย่างสลับซับซ้อนมันรวบรวมข้าวเปลือกและธัญพืชอื่น ๆ ในไร่นาที่เก็บแล้ว และบางครั้งทำพืชเพาะปลูกที่กำลังโตให้เสียหาย บางครั้งจึงจัดว่าเป็นสัตว์รังควาน[14]มันนอนที่รังซึ่งทำจากหญ้า (กกและอ้อ) ใกล้ ๆ น้ำจึงต้องพึ่งหญ้าต่าง ๆ (เช่น Panicum maximum) ต้องพึ่งพืชเพาะปลูกเช่นข้าวทั้งเพื่อเป็นอาหาร (กินเมล็ดในระยะงอกและเมื่อเป็นเมล็ดในระยะต้น ๆ[15])และเป็นวัสดุทำรังมันยังกินแมลง (เช่น ผีเสื้อ[16])และบางครั้งแม้แต่กินกบเล็ก ๆ[17]ตุ๊กแก[18]และมอลลัสกาโดยเฉพาะเพื่อเลี้ยงลูก[19]การอพยพในแต่ฤดูจะขึ้นอยู่กับอาหารมักร้องต่อ ๆ กันเป็นเสียงจิ๊ด จิ๊ด จิ๊ด โดยตัวผู้ที่ร้องประสานเสียงกันบางครั้งยุติเป็นเสียงลั่นดัง จี๊ เสียงร้องในฤดูไม่ผสมพันธุ์จะเบากว่า[20]

นกบางครั้งลงมาที่พื้นเพื่ออาบฝุ่น[21]เมื่อเลี้ยงเอาไว้ นกแต่ละตัวจะมีลำดับชั้นทางสังคม (pecking order)[22]

การผสมพันธุ์

นกผสมพันธุ์ในฤดูมรสุม[5]ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เริ่มการผสมพันธุ์รวมทั้งระยะเวลาช่วงกลางวันโดยจบลงเมื่อถึงปลายฤดูร้อน ปกติหลังฤดูผสมพันธุ์ นกซึ่งได้รับอิทธิพลทางการผสมพันธุ์จากแสงอาทิตย์จะเกิดภาวะดื้อแสง (photorefractoriness) คือไม่ตอบสนองทางการผสมพันธุ์ต่อแสงแม้วันก็ยังยาวอยู่ นกในเขตอบอุ่นจะหมดภาวะนี้ก็ต่อเมื่อได้อยู่ในช่วงวันที่สั้น ๆ 4-6 เดือน แต่นกกระจาบธรรมดาหาเป็นเช่นนี้ไม่ เพราะภาวะนี้สามารถหมดไปได้เอง (spontaneous) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะทางนิเวศต่าง ๆ ได้ดีกว่า[23]นกมักจะทำรังเป็นหมู่โดยปกติมากถึง 20-30 รังใกล้ ๆ แหล่งอาหาร วัสดุทำรัง และน้ำ

นกรู้จักดีที่สุดเพราะตัวผู้ทำรังถักอย่างพิสดารรังห้อยเช่นนี้มีรูปเป็นหลอดแก้วคอยาว (สำหรับกลั่นในห้องทดลอง) มีช่องรังอยู่ตรงกลาง โดยมีท่อต่อจากข้างช่องยาวเป็นแนวตั้งลงไปยังทางออกด้านล่างรังถักด้วยเศษยาว ๆ จากใบข้าว ใบหญ้าหยาบ และใบของไม้วงศ์ปาล์ม (เช่นต้นมะพร้าว)ใบอาจยาวระหว่าง 20-60 ซม.ตัวผู้อาจต้องบินไปหาวัสดุถึง 500 ครั้งจนกว่าจะทำรังเสร็จ

นกใช้ปากที่แข็งแรงฉีกใบจากไม้วงศ์ปาล์มให้เป็นเศษยาว[24]แล้วนำมาถักและผูกทำรังบ่อยครั้งห้อยเหนือน้ำ[25]บ่อยครั้งห้อยจากต้นอาเคเชียที่มีหนาม และบางครั้งจากสายโทรศัพท์[26][27][28][29][30]แม้นกจะชอบไม้หนาม แต่บางครั้งก็ใช้ต้นไม้ริมถนนในเขตเมือง[31]รังมักจะอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นไม้ ซึ่งเชื่อว่าช่วยป้องกันมรสุมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้แต่นกที่ผสมพันธุ์ทีหลังก็มีโอกาสสร้างรังในทิศอื่น ๆ ของต้นไม้มากกว่า[32]

รังที่ทิ้งแล้ว หนูเล็ก ๆ (เช่น Mus booduga)[33]และนกอื่น ๆ (เช่น Lonchura) อาจเข้าไปอยู่[34][35]

นกสปีชีส์ย่อย burmanicus ตัวผู้มีศีรษะเป็นสีเหลืองสดตัวเมียในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ

แม้รังโดยหลักจะสร้างเป็นหมู่ แต่ที่สร้างเดี่ยว ๆ ก็มีอยู่[36]รังบ่อยครั้งสร้างมาจากใบของต้นอาเคเชียหรือไม้วงศ์ปาลม์ (โดยหลักอินทผลัมไทย[37]) และห้อยอยู่เหนือน้ำโล่ง[22]นกตัวผู้อายุน้อย ๆ อาจจะลองสร้างรังตามหญ้า[38]ในพม่า นกบ่อยครั้งสร้างรังใต้ชายคาตึกและบ้าน แต่นี่ไม่สามัญในอินเดีย[39]

ตัวผู้จะใช้เวลาประมาณ 18 วันเพื่อสร้างรังให้เสร็จ โดยรังระยะ "หมวก" จะเสร็จในประมาณ 8 วัน[40]รังจะสร้างเสร็จเป็นบางส่วนก่อนตัวผู้จะเริ่มแสดงให้ตัวเมียที่บินผ่านโดยกระพือปีกร้องเมื่อเกาะอยู่ที่รังตัวเมียจะตรวจดูรังแล้วแสดงการยอมรับกับตัวผู้เมื่อจับคู่แล้ว ตัวผู้ก็จะสร้างรังให้เสร็จโดยเพิ่มปล่องทางเข้าตัวผู้สร้างรังเองเกือบทั้งหมด แม้คู่ตัวเมียอาจจะช่วยแต่งบ้าง โดยเฉพาะข้างในตัวเมียอาจเปลี่ยนรังข้างในหรือเติมก้อนโคลน[41]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า ที่ตั้งสำคัญกว่าโครงสร้างของรังเมื่อตัวเมียเลือกรังและคู่[42]เพราะชอบรังที่อยู่บนไม้สูงกว่า อยู่เหนือพื้นแห้ง และอยู่บนสาขาไม้เล็ก ๆ[43]

ทั้งตัวผู้ตัวเมียไม่ได้จับคู่เดียวตลอดชีวิตตัวผู้อาจสร้างรังเป็นบางส่วนหลายรังแล้วเริ่มเกี้ยวตัวเมียโดยจะทำรังให้เสร็จก็ต่อเมื่อหาคู่ได้ตัวเมียวางไข่สีขาว 2-4 ใบแล้วฟักเป็นเวลา 14-17 วัน[44]ตัวผู้บางครั้งช่วยเลี้ยงลูกลูกนกออกจากรังหลังจากประมาณ 17 วัน[20]

หลังจากผสมพันธุ์กับตัวเมีย ตัวผู้ปกติจะเกี้ยวตัวเมียอื่น ๆ ที่รังซึ่งสร้างไว้ส่วนหนึ่งในที่อื่น ๆ การออกไข่ให้นกตัวอื่น (พันธุ์เดียวกัน) ฟักแล้วเลี้ยงก็มีด้วยเหมือนกัน[45]

ลูกนกออกจากรังเมื่อยังมีขนลูกนก แล้วเปลี่ยนเมื่อสลัดขนหลังจากนั้น 4-6 เดือนจะไปหาที่อยู่ใหม่ไม่ไกลจากรังเก่าโดยพบไกลจนถึง 2 กิโลเมตร[46]ตัวเมียจะพร้อมผสมพันธุ์หลังจากปีหนึ่งแต่ตัวผู้จะใช้เวลาครึ่งปีมากกว่านกจะสลัดขนก่อนผสมพันธุ์ นกโตแล้วยังสลัดขนเป็นครั้งที่สองหลังผสมพันธุ์ ดังนั้น จึงสลัดขนสองครั้งต่อปี[47]งานศึกษาทางมิญชเคมี (histochemical) พบเมทาบอลิซึมของลิพิดที่สูงขึ้นที่ยอดหัวตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์คือเชื่อว่า ลิพิดมีส่วนในการขนส่งสารสีแคโรทีนอยด์สีเหลืองไปที่ยอดศีรษะ แล้วก็จะสลายไปต่อมา[48]

เพราะรังห้อยจากไม้มีหนามและเหนือน้ำ จึงกันสัตว์ล่าเหยื่อหลายอย่างได้ แต่การถูกกาล่าก็เป็นเรื่องปกติไข่ทั้งหมดอาจถูกกินโดยกิ้งก่าเช่นกิ้งก่าสวน[44]หรือโดยสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู Vandeleuria oleracea ซึ่งอาจยึดรังเลยก็ได้[22]นกกระติ๊ด เช่น Euodice malabarica ก็อาจยึดรัง[49]

  • รังห้อยจากใบต้นปาลม์ (สกุลฟีนิกซ์)
  • รังห้อยอยู่เหนือน้ำ
  • นกสปีชีส์ย่อย burmanicus ตัวผู้อยู่ที่รังยังสร้างไม่เสร็จในระยะ "หมวก" ยังไม่ทำปล่องทางเข้า
  • รังห้อยบนต้นตาล
  • นกสปีชีส์ย่อย burmanicus ตัวเมียกำลังเลี้ยงลูก
  • นกกระติ๊ดตะโพกขาว (Lonchura striata) ใช้รังนกที่ทิ้งแล้ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกจาบธรรมดา http://www.envirobiotechjournals.com/article_abstr... http://ibc.lynxeds.com/species/baya-weaver-ploceus... http://ufdcimages.uflib.ufl.edu/UF/E0/00/10/63/000... http://sora.unm.edu/sites/default/files/journals/a... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18972698 http://www.ias.ac.in/j_archive/currsci/43/vol43con... http://digitallibrary.amnh.org/dspace/handle/2246/... http://web.archive.org/web/20150326081039/http://w... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/227... //doi.org/10.1007%2FBF02703424