นวยาน
นวยาน

นวยาน

นวยาน (เทวนาครี: नवयान, Navayāna) แปลว่า "ยาน (พาหนะ) ใหม่" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร (Bhimrao Ramji Ambedkar)[1][2] ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (Dalit, "มิควรข้องแวะ") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ[3] อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ "ยานใหม่" แห่งพุทธศาสนา[4] บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน (Bhimayāna) ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ "ภีมราว"[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู[5][6] ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์[1][4][5]ด้านขบวนการพุทธศาสนิกชนทลิต (Dalit Buddhist movement) ของประเทศอินเดีย ได้ประกาศให้นวยานเป็นนิกายใหม่ ที่มีหลักธรรมต่างออกไปจากหีนยาน, มหายาน และวัชรยาน[7] โดยนิกายนวยานไม่ต้องบำเพ็ญตนหรือรักษาศีล ปฏิเสธสมณเพศ ไม่เชื่อเรื่องกรรม, สังสารวัฏ, วิปัสสนา, นิพพาน และอริยสัจ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ[8] ถือเป็นการตีความศาสนาพุทธใหม่[9] แต่จะนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาต่อสู้กับปัญหาเรื่องชนชั้นวรรณะและความเสมอภาคในสังคม[4][10][11]อามเพฑกรเรียกนิกายนวยานว่า ศาสนาพุทธใหม่ (Neo-Buddhism)[12] และหนังสือ พระพุทธเจ้าและธรรมะของพระองค์ (The Buddha and His Dhamma) ซึ่งเขียนโดยอามเพฑกร ถือเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของชาวนวยาน[13]จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรอินเดีย พ.ศ. 2554 พบว่ามีพุทธศาสนิกชนชาวอินเดียจำนวน 8.4 ล้านคน ในจำนวนนี้นับถือนิกายนวยานจำนวน 7.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 87 ของจำนวนพุทธศาสนิกชนทั้งหมดในประเทศ และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐมหาราษฏระจำนวน 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 จากจำนวนผู้นับถือนิกายนวยานทั้งหมดในประเทศ[14][15] พุทธศาสนิกชนนิกายนวยานส่วนใหญ่มีทั้งชาวทลิตและคนที่ร่ำรวย มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 81.29 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศคือร้อยละ 72.98[14]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: นวยาน http://www.indiaspend.com/cover-story/conversion-t... http://journals.ub.uni-heidelberg.de/index.php/jia... //doi.org/10.1080%2F00856401.2015.1049726 https://books.google.com/books?id=NFpcAgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=P_lmCgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=S7QEAAAAYAAJ https://books.google.com/books?id=UP7vmkFSJhIC&pg=... https://books.google.com/books?id=eNsoAAAAYAAJ https://books.google.com/books?id=g-RHBJjU6AoC&pg=... https://books.google.com/books?id=tPBWCgAAQBAJ