รัฐมหาราษฏระ
รัฐมหาราษฏระ

รัฐมหาราษฏระ

รัฐมหาราษฏระ (ละติน: Maharashtra; /mɑːhəˈrɑːʃtrə/; ตัวย่อ MH) เป็นรัฐทางตะวันตกของประเทศอินเดีย มีพื้นที่อยู่บนบางส่วนของที่ราบสูงเดกกัน เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ และพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ คิดเป็นพื้นที่ 307,713 กม² (118,809 ไมล์²) มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ ทิศใต้ติดกับรัฐกัวและรัฐกรณาฏกะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรัฐเตลังคานา ทิศตะวันออกติดกับรัฐฉัตตีสครห์ ทิศเหนือติดกับรัฐคุชราตและรัฐมัธยประเทศ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับดินแดนสหพันธ์ดาดราและนครหเวลีและดามันและดีอู[12] นอกจากนี้ รัฐมหาราษฏระจัดเป็นหน่วยการปกครองระดับที่หนึ่งที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรัฐมหาราษฏระก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เกิดจากการรวมกันของพื้นที่บางส่วนของรัฐบอมเบย์ (Bombay State), มณฑลเบราร (Berar Division), วิทรภา (Vidarbha), บางส่วนของรัฐไฮเดอราบาด (Hyderabad State) และบางส่วนที่แยกออกมาจากรัฐเสาราษฏระ (Saurashtra State) ตามรัฐบัญญัติการจัดระเบียบรัฐ ค.ศ. 1956 (States Reorganisation Act, 1956) รัฐมหาราษฏระมีประชากรกว่า 112 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 18.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในมุมไบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ ทำให้มุมไบเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอินเดีย เมืองที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ นาคปุระ ซึ่งเป็นเมืองที่จัดสมัยประชุมภาคฤดูหนาวของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐมหาราษฏระ[13] ปูเน เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ออกซฟอร์ดแห่งโลกตะวันออก" ด้วยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในเมือง[14][15] และนาศิก เป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองหลวงไวน์แห่งอินเดีย" เนื่องจากมีไร่องุ่นและโรงกลั่นเหล้าองุ่นตั้งอยู่ที่เมืองนี้เป็นจำนวนมากแม่น้ำหลักสองสายของรัฐคือแม่น้ำโคทาวรีและแม่น้ำกฤษณา และมีแม่น้ำนรรมทากับแม่น้ำตาปตีไหลผ่านตรงรอยต่อกับรัฐมัธยประเทศและรัฐคุชราต รัฐมหาราษฏระถือเป็นรัฐที่เกิดการนคราภิวัฒน์ (Urbanisation) สูงเป็นอันดับสามในอินเดีย[16][17] ก่อนประเทศอินเดียจะถูกยึดครองโดยอังกฤษ บริเวณรัฐมหาราษฏระเคยปกครองโดยจักรวรรดิสาตวาหนะ จักรวรรดิราษฏรกุตะ จลุกยะตะวันตก รัฐสุลต่านเดกกัน จักรวรรดิโมกุล และจักรวรรดิมราฐา ก่อนจะถูกปกครองโดยบริติชราชในที่สุด โบราณสถาน อนุสาวรีย์ สุสาน ป้อมปราการ และศาสนสถานต่าง ๆ ที่สร้างโดยจักรววรดิและความเชื่อที่แตกต่างกันจึงสามารถพบได้จำนวนมากในบริเวณนี้ในปัจจุบัน ในจำนวนนั้นประกอบด้วยแหล่งมรดกโลก ถ้ำอชันตาและถ้ำเอลโลรา ป้อมปราการจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยยจักรพรรดิศิวาจีรัฐมหาราษฏระเป็นรัฐที่มั่งคั่งที่สุดในอินเดียในทุกตัวแปรการประเมิน และยังเป็นรัฐที่เกิดการกลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation) มากที่สุดในอินเดีย[18][19] จีดีพีกว่า 15% ของประเทศอินเดียมาจากรัฐมหาราษฏระ ทำให้รัฐมหาราษฏระเป็นหนึ่งในรัฐที่มีส่วนสำคัญที่สุดรัฐหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอินเดีย[20] รัฐมหาราษฏระผลิตอุตสาหกรรม 17% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และผลิต 16% ของผลิตภัณฑ์ทางบริการทั้งประเทศอินเดีย[21]

รัฐมหาราษฏระ

เว็บไซต์ Maharashtra.gov.in
• หน่วยงาน รัฐบาลรัฐมหาราษฏระ
อำเภอ รวม 36
รหัสไอเอสโอ 3166 IN-MH
ทะเบียนพาหนะ MH
• ทั้งหมด 112,374,333 คน
• ต่อประชากร ₹207,727
• ความหนาแน่น 370 คน/ตร.กม. (950 คน/ตร.ไมล์)
ดอกไม้ อินทนิล
อันดับพื้นที่ อันดับที่ 3
เขตเวลา IST (UTC+05:30)
ภาษา ภาษามราฐา
เมืองหลวง มุมไบ
นาคปุระ (ฤดูหนาว)[4]
เอชดีไอ (2017) 0.695[9] (medium) · 15th
• อันดับ อันดับที่ 2
• มุขยมนตรี อุททว ตักเกเรย์ (Uddhav Thackeray)
ประเทศ  อินเดีย
• ราชยปาล ภคัต สิงห์ โกษยรี (Bhagat Singh Koshyari)
ภาษาราชการ ภาษามราฐี[7][8]
อัตราส่วนเพศ (2011) 929 /1000 [10]
เดมะนิม ชาวมหาราษฏระ (Maharashtrian)
สัตว์ Indian giant squirrel
• รวม ₹28.78ข้อผิดพลาดนิพจน์: "[" เป็นอักขระที่ไม่รู้จัก
• รองมุขยมนตรี อชิต ปวร (Ajit Pawar)
ตรา ตราประจำรัฐมหาราษฏระ
แมลง Blue Mormon
การรู้หนังสือ (2011) 82.34%[10]
ก่อตั้ง 1 พฤษภาคม 1960^ (Maharashtra Day)
ต้นไม้ ต้นมะม่วง
สัตว์ปีก Yellow-footed green pigeon
• สมัชชานิติบัญญัติ ระบบสองสภา
สภานิติบัญญัติ 78
สมัชชานิติบัญญัติ 288
ราชยสภา 19
โลกสภา 48

ใกล้เคียง

รัฐมหาราษฏระ รัฐมหาราชา รัฐมหาราชาสวาต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ไทย)

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐมหาราษฏระ http://164.100.47.134/plibrary/ebooks/Climate_of_M... http://m.divyamarathi.bhaskar.com/news/Amravati/55... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/357937/M... http://www.careratings.com/upload/NewsFiles/SplAna... http://www.hindustantimes.com/education/truly-the-... http://archive.indianexpress.com/news/the--oxford-... http://timesofindia.indiatimes.com/city/chennai/Ce... http://www.censusindia.gov.in/2011-prov-results/pr... http://farmech.gov.in/FarmerGuide/MH/index1.html http://www.maharashtra.gov.in/