การนับวันของปฏิทินไทย ของ ปฏิทินไทย

ดูบทความหลักที่: ปกติสุรทิน และ อธิกสุรทิน

การกำหนดวันข้างขึ้น ข้างแรม ของปฏิทินไทย นอกจากคำนึงถึงดิถี (รูปร่างความเป็นเสี้ยว) ของดวงจันทร์แล้ว ยังคำนึงถึง รูปแบบที่เข้าใจง่าย จัดทำได้ง่าย เพื่อให้จัดงานได้ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้คำนวณปฏิทินจึงต้องคิดรูปแบบการทดวัน และทดเดือนที่ง่ายต่อการจดจำ และการบันทึก 1 ปีของปฏิทินไทย ปกติมี 12 เดือน แต่จะมีราวร้อยละ 37 ที่มี 13 เดือน ซึ่งเรียกปีดังกล่าวนี้ว่า ปีอธิกมาส โดยที่ อธิก แปลว่า เพิ่ม, มาส แปลว่า เดือน มีเดือนแปด 2 ครั้ง ไม่ใช่ไปเพิ่มเป็นเดือนที่ 13 ส่วนปีที่มี 12 เดือน เรียกว่า ปกติมาสเดือนที่ 1 นิยมเรียกว่า เดือนอ้าย ส่วนเดือนที่ 2 เรียกว่าเดือน ยี่ โดยปกติ เดือนที่เป็นตัวเลขคี่ (เช่น อ้าย, 3, 5, 7, 9และ 11) จะมี 29 วัน ส่วนเดือนเลขคู่ (ยี่, 4, 6, 8, 10) จะมี 30วัน ดังนั้น ปีอธิกมาส จึงมี 29x6 + 30x7 = 384 วัน เสมอส่วนปีปกติมาส มี 2 พวก คือ พวกแรก จะมี 29x6 + 30x6 = 354 วัน เรียกว่า ปกติวาร กับพวกที่ 2 เป็นปีที่เพิ่มวันเข้าไป 1 วัน เป็นพิเศษ เรียกว่า อธิกวาร โดยที่ วาร แปลว่า วัน โดยเพิ่มในเดือน 7 ให้เป็น 30 วัน ดังนั้นปีอธิกวาร จึงมี 355วัน

ในการกำหนดปีปกติ ปีอธิกมาส ปีอธิกวาร ในปฏิทินไทย ตั้งแต่สุโขทัย สืบมาจนปัจจุบันนี้ จะวางตามพระคัมภีร์สุริยยาตรเป็นเสาหลักเทียบโดยมีสัดส่วนความแม่นยำตามตำรา ดังนี้ปีปกติ 7,262,789 ปี : ปีอธิกมาส 6,125,521 ปี : ปีอธิกวาร 3,219,690 ปี โดยอธิกมาส 0 นับจากจุลศักราชแรกตกหรคุณ -282856310/6125521

วันที่ 1 ของเดือน เรียกว่า วันขึ้น 1 ค่ำ หรือ ออก 1 ค่ำ (ขึ้นหรือออก แปลว่า ดวงจันทร์ กำลังสว่างเพิ่มขึ้น) วันที่ 16 ไม่ได้เรียกว่า วันขึ้น 16 ค่ำ หรือ ออก 16 ค่ำ แต่เรียกว่า วันแรม 1 ค่ำ (แรม หมายถึง ดวงจันทร์ กำลังสว่างลดลง) ในเดือนที่มี 29วันนี้ ก็จะมีสิ้นสุดแค่วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มี วันแรม 15 ค่ำ)เวลาที่ใช้เปลี่ยนวันทางปฏิทินจันทรคติของไทย คือ เวลารุ่งเช้าของวันถัดไป ไม่ใช่เที่ยงคืน โดยมีการเสนอว่า ควรให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า “รุ่งเช้า” นี้ และเสนอว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยที่เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือเวลา 6 น. ของเส้นลองจิจูด 100 องศา ตะวันออก นั่นคือ เวลา 6:20 น. ตามเวลามาตรฐานของไทยวันพระ หรือธรรมสวนะ จัดขึ้น 4 วันในเดือนหนึ่ง ๆ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันแรม สุดท้ายของเดือน