การเทียบปีกับปฏิทินอื่น ของ ปฏิทินไทย

ภายหลัง พ.ศ. 2484

ปฏิทินพุทธศักราชไทยจะมีค่ามากกว่าปฏิทินคริสต์ศักราชอยู่เท่ากับ 543 ปีพอดี โดยการคำนวณจะทำได้โดย

ปี ค.ศ. = ปี พ.ศ. - 543

ระหว่าง พ.ศ. 2431 - 2483

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ทำให้มีข้อสังเกตในระบบปฏิทินราชการไทย ดังนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1888-1940 คริสต์ศักราชจึงคาบปีพุทธศักราช 542 ปี เช่น ค.ศ. 1940 จะตรงกับ พ.ศ. 2482 (ช่วง ม.ค. ถึง มี.ค.) และ 2483 (ช่วง เม.ย. ถึง ธ.ค.)ไม่มีวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2483 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2483 ในปฏิทินราชการไทย เพราะจะเป็น พ.ศ. 2484 แทน

เดือนม.ค.ธ.ค.ม.ค.ธ.ค.ม.ค.ธ.ค.ม.ค.ธ.ค.
ลำดับเดือน112112112112
คริสต์ศักราช1939194019411942
พุทธศักราช24812482248324842485
ลำดับเดือนไทย1211219112112
เดือนไทยมี.ค.เม.ย.มี.ค.เม.ย.ธ.ค.ม.ค.ธ.ค.ม.ค.ธ.ค.
ปี ค.ศ. = ปี พ.ศ. - 543          ระหว่างเดือน 1-9 (เมษายน ถึง ธันวาคม)ปี ค.ศ. = ปี พ.ศ. - 542          ระหว่างเดือน 10-12 (มกราคม ถึง มีนาคม)

ดังนี้ตามปฏิทินราชการ ผู้ที่เกิด วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482 จะมีอายุน้อยกว่าคนที่เกิดวันที่ 31 ธันวาคม 2482 อยู่ 1 วัน (มิใช่ อายุมากกว่า 364วัน)การคำนวณ จาก ค.ศ. เป็น พ.ศ. ในช่วงเดือน มกราคม ถึงมีนาคม เมื่อ เลข ค.ศ. มีค่าต่ำกว่า หรือเท่ากับ 1940 จะต้องบวกด้วย 542 มิใช่ 543

ประวัติการใช้เลขปี พ.ศ. แบบของไทย เริ่มที่พระสงฆ์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเวลาเทศน์ได้เทศน์ว่า พระศาสนาได้ล่วงมาแล้วกี่ปี จึงหมายถึงปีเต็ม เราจึงถือว่าปีปรินิพพานเป็นปีที่ 0 ส่วนพม่า เขมร ลาว และศรีลังกา ใช้แบบปีย่าง คือนับปีปรินิพพานเป็นปีที่ 1

ก่อนหน้า พ.ศ. 2431

สำหรับปีก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบนี้ การคำนวณจะคำนวณได้ยาก เนื่องจากต้องมีการเทียบระบบวันที่นับจากข้างขึ้นข้างแรม เมื่อเทียบกับปฏิทินที่ใช้ระบบอื่น