เบื้องหลัง ของ ปฏิบัติการปักกิ่ง

แผนการดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อย้ายกองเรือพิฆาต (Dywizjon Kontrtorpedowców) แห่งกองทัพเรือโปแลนด์จากยุทธบริเวณปฏิบัติการทะเลบอลติก ครีกสมารีเนอมีความได้เปรียบด้านจำนวนเหนือกว่ากองทัพเรือโปแลนด์อย่างมาก และหากเกิดสงครามขึ้น กองบัญชาการทหารสูงสุดของโปแลนด์ตระหนักว่า เรือซึ่งอยู่ในทะเลบอลติกที่เล็กและส่วนใหญ่ล้อมรอบไปด้วยพื้นดินมีแนวโน้มถูกเยอรมนีจมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ช่องแคบเดนมาร์กยังอยู่ในพิสัยปฏิบัติการของครีกสมารีเนอและลุฟท์วัฟเฟอ ฉะนั้น หากดำเนินแผนการดังกล่าวหลังความเป็นศัตรูกันเริ่มต้นขึ้น จะมีโอกาสสำเร็จน้อย

วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1939 รัฐบาลอังกฤษ ผ่านพลโท เซอร์ Adrian Carton De Wiart หัวหน้าคณะทูตทหารอังกฤษ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างหนักแน่นต่อจอมพล Edward Śmigły-Rydz ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพโปแลนด์ ให้อพยพกองทัพเรือส่วนที่ทันสมัยที่สุดจากทะเลบอลติก แม้ Śmigły-Rydz จะทัดทานความคิดดังกล่าวในช่วงแรก แต่สุดท้ายเขาก็ตกลง

เหตุผลของ Śmigły-Rydz ส่วนหนึ่ง คือ ความคิดหัวสะพานโรมาเนีย มีความหวังว่า กองทัพโปแลนด์จะสามารถยื้อในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศได้ ใกล้กับพรมแดนร่วมกับโรมาเนีย กระทั่งได้รับความช่วยเหลือจากการรุกของฝรั่งเศส-อังกฤษ ยุทโธปกรณ์และอาวุธสามารถถูกส่งมาจากตะวันตกได้ผ่านท่าและทางรถไฟของโรมาเนีย จากนั้น กองทัพเรือโปแลนด์จะสามารถนำเรือส่งเสบียงไปยังท่าโรมาเนียได้

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการครอสโรดส์ ปฏิบัติการเสาค้ำเมฆา ปฏิบัติการแอสพิเดส ปฏิบัติการบากราตีออน