ปฏิบัติการเอนเทบเบ
ปฏิบัติการเอนเทบเบ

ปฏิบัติการเอนเทบเบ

ยูกันดา:
ถูกสังหาร 45 คน[3]
เครื่องบินถูกทำลาย 11–30 ลำ[4]การสู้รบ
แอลอัล เที่ยวบินที่ 426 · การโจมตีแอลอัล เที่ยวบินที่ 253 (การโจมตีตอบโต้) · การโจมตีแอลอัล เที่ยวบินที่ 432 · การจี้เครื่องบินทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 840 (ค.ศ. 1969) · การระเบิดรถบัสโรงเรียนอาวีวิม · การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด · ซาบีนา เที่ยวบินที่ 571 · การสังหารหมู่ที่เคียยัตชโมนา · การสังหารหมู่ที่มาอาลอท · การโจมตีนาฮาริยา ค.ศ. 1974 · การโจมตีโรงแรมซาวอย · วิกฤติตัวประกันที่คฟายูวัล · การสังหารหมู่ที่ถนนโคสตัล · สงครามเลบานอนใต้ ค.ศ. 1978 · การโจมตีนาฮาริยา ค.ศ. 1979 · วิกฤติตัวประกันที่มิสเกฟแอม · การทิ้งระเบิดที่ประเทศเลบานอน ค.ศ. 1981 · สงครามเลบานอน ค.ศ. 1982 (การล้อมกรุงเบรุต)เหตุการณ์ระหว่างประเทศ
การสังหารหมู่ที่มิวนิก · (ปฎิบัติการความพิโรธของพระเจ้า · การตีโฉบฉวย ค.ศ. 1972 · การตีโฉบฉวย ค.ศ. 1973) · การจี้เครื่องบินซาบีนา เที่ยวบินที่ 571 · การโจมตีสถานทูตซาอุดีอาระเบียในคาร์ทูม · แผนระเบิดนครนิวยอร์ก ค.ศ. 1973 · ทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 841 (ค.ศ. 1974) · แพนแอม เที่ยวบินที่ 110 · ปฏิบัติการเอนเทบเบปฏิบัติการเอนเทบเบ (อังกฤษ: Operation Entebbe) หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ (อังกฤษ: Operation Thunderbolt) เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการโดยหน่วยคอมมานโดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 [7]โดยในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า เครื่องบินของแอร์ฟรานซ์ซึ่งมีผู้โดยสาร 248 คนถูกจี้โดยสองสมาชิกของฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) ภายใต้คำสั่งของวะดี ฮัดดัด (ผู้ที่ได้แตกหักก่อนหน้านี้จากองค์การพีเอฟแอลพี ของจอร์จ ฮาบาช)[8] และสองสมาชิกของหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน สลัดอากาศมีเป้าหมายที่จะปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์และผู้ทำสงครามที่อยู่ในสังกัด 40 คนที่ถูกคุมขังในอิสราเอลและนักโทษอีก 13 คนในอีก 4 ประเทศเพื่อแลกกับตัวประกัน[9] เที่ยวบินที่มาจากเทลอาวีฟเดิมมีจุดหมายปลายทางที่กรุงปารีส ถูกเบี่ยงเบนไปหลังจากหยุดพักระหว่างทางในกรุงเอเธนส์ผ่านเบงกาซีสู่เอนเทบเบ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศยูกันดา โดยรัฐบาลยูกันดาสนับสนุนการจี้เครื่องบิน และจอมเผด็จการอีดี อามิน ได้ต้อนรับพวกเขาเป็นการส่วนตัว[10] อามินได้รับแจ้งเรื่องการจี้เครื่องบินตั้งแต่เริ่มแรก[11] หลังจากย้ายตัวประกันทั้งหมดจากเครื่องบินไปยังอาคารสนามบินที่ไม่ได้ใช้แล้ว พวกสลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวอิสราเอลจำนวนมากทั้งหมดออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบังคับให้พวกเขาเข้าไปในห้องแยกต่างหาก[12][13][14] ในอีกสองวันต่อมา 148 ตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลได้รับการปล่อยตัวและบินสู่ปารีส[13][14][15] ส่วนเก้าสิบสี่คนที่เหลือ เป็นชาวอิสราเอล ที่เป็นผู้โดยสาร พร้อมกับลูกเรือ 12 คนของแอร์ฟรานซ์ยังคงเป็นตัวประกันและถูกขู่เข็ญด้วยความตาย[16][17]กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับจากมอสสาดซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศอิสราเอล ผู้ก่อการขู่ว่าจะสังหารตัวประกันหากไม่ได้ทำการปล่อยตัวนักโทษ และภัยคุกคามนี้ได้นำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการกู้ภัย[18] แผนเหล่านี้รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการต่อต้านอาวุธจากกองทหารยูกันดา[19]การดำเนินการเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เครื่องบินขนส่งของอิสราเอล บรรทุกคอมมานโด 100 คนกว่า 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) ไปยังประเทศยูกันดาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการวางแผน ใช้เวลา 90 นาที จากตัวประกันที่เหลือ 106 คนนั้น 102 คนได้รับการช่วยเหลือ และสามคนถูกฆ่าตาย ส่วนตัวประกันอีกรายที่อยู่ในโรงพยาบาลได้ถูกสังหารในภายหลัง คอมมานโดอิสราเอลห้าคนได้รับบาดเจ็บ และคอมมานโดยศพันโทอีกหนึ่งนายคือโยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย สลัดอากาศทั้งหมดและทหารยูกันดาสี่สิบห้ารายถูกสังหาร ส่วนมิก-17 และมิก-21 สิบเอ็ดลำ[5][6] ที่สร้างโดยโซเวียตของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[4] แหล่งข่าวเคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอล และผลที่ตามมาของปฏิบัติการ อีดี อามิน ออกคำสั่งเพื่อแก้แค้นและฆ่าชาวเคนยาที่อยู่ในประเทศยูกันดาหลายร้อยคนหลังจากนั้น[20] โดยชาวเคนยาในประเทศยูกันดา 245 คนถูกฆ่าตายและ 3,000 คนได้หนีไป[21]ปฏิบัติการเอนเทบเบ มีชื่อรหัสทางทหารคือปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ บางครั้งอ้างถึงในฐานะปฏิบัติการโยนาทัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หัวหน้าหน่วยที่ชื่อโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน[22]

ปฏิบัติการเอนเทบเบ

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
สถานที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ ประเทศยูกันดา
ผลลัพธ์ภารกิจประสบความสำเร็จ
  • ตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต[1]
  • หนึ่งในสี่ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[2]
สถานที่ ท่าอากาศยานเอนเทบเบ ประเทศยูกันดา
ผลลัพธ์ ภารกิจประสบความสำเร็จ
  • ตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต[1]
  • หนึ่งในสี่ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[2]
วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการบากราตีออน ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการเสาค้ำเมฆา ปฏิบัติการคอนดอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการเอนเทบเบ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/188804/E... http://broadwayworld.com/article/Untitled_Theater_... http://elpais.com/diario/1976/07/11/sociedad/20588... http://letras-uruguay.espaciolatino.com/jerozolims... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1976/1... http://www.haaretz.com/israel-news/.premium-1.7230... http://www.haaretz.com/surviving-the-myth-1.95789 http://www.haaretz.com/weekend/week-s-end/setting-... http://www.historama.com/online-resources/articles... http://www.idfblog.com/about-the-idf/history-of-th...