การโจมตีโฉบฉวย ของ ปฏิบัติการเอนเทบเบ

ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเอนเทบเบ และท่าอากาศยานนานาชาติเอนเทบเบยามอาทิตย์อัสดง

เส้นทางการโจมตี

สำหรับการบินออกจากชาร์ม เอล ชีค[63] กองกำลังพิเศษได้บินไปตามเส้นทางการบินระหว่างประเทศผ่านทะเลแดง ส่วนใหญ่บินที่ความสูงไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับเรดาร์โดยกองกำลังอียิปต์, ซูดาน และซาอุดีอาระเบีย ครั้นใกล้ทางใต้ของทะเลแดง เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส เลี้ยวไปทางใต้และผ่านทางใต้ของประเทศจิบูตี จากที่นั่น พวกเขาบินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของไนโรบี ประเทศเคนยา แล้วเป็นไปได้ว่าได้ทำการบินข้ามประเทศโซมาเลีย และพื้นที่โอกาเดนของประเทศเอธิโอเปีย พวกเขาเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก ผ่านอีสต์แอฟริกันริฟต์และเหนือทะเลสาบวิกตอเรีย[64]

เครื่องบินโบอิง 707 จำนวนสองลำบินตามเครื่องบินบรรทุกสินค้า โบอิงลำแรกมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ส่วนเยกูเทียล อดัม ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของปฏิบัติการ ได้ขึ้นเครื่องโบอิงลำที่สอง ซึ่งวนไปรอบ ๆ ท่าอากาศยานเอนเทบเบระหว่างการโจมตี[50]

กองทัพอิสราเอลลงจอดที่เอนเทบเบในวันที่ 3 กรกฎาคมเวลา 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานอิสราเอล โดยประตูบรรทุกสินค้าได้เปิดแล้ว เนื่องจากรูปแบบที่ถูกต้องของสนามบินไม่เป็นที่รู้จัก เครื่องบินลำแรกเกือบร่อนเข้าไปในคลอง[46] รถเมอร์เซเดสสีดำซึ่งดูเหมือนกับรถของประธานาธิบดี อีดี อามิน และแลนด์โรเวอร์ที่มาพร้อมกับเมอร์เซเดสของอามินถูกนำมาใช้ด้วยกัน ฝ่ายอิสราเอลหวังว่าพวกเขาสามารถใช้รถของพวกเขาเพื่อหลีกเลี่ยงจุดตรวจรักษาความปลอดภัยได้ เมื่อซี-130 เฮอร์คิวลิส ลงจอด สมาชิกของทีมโจมตีของอิสราเอลขับรถไปที่อาคารผู้โดยสารในแบบเดียวกับอามิน[19][65] ขณะที่พวกเขาเข้าใกล้เทอร์มินอล ทหารยูกันดาสองคนเกิดนึกได้ว่า เครื่องที่อามินเพิ่งซื้อมาเป็นเมอร์เซเดสสีขาว จึงได้มีการสั่งให้หยุดยานพาหนะลง[66] เนทันยาฮูสั่งหน่วยคอมมานโดยิงทหารโดยใช้ปืนพกเก็บเสียง แต่พวกเขาไม่ได้ฆ่าพวกนั้น[19] นี่เป็นการขัดกับแผนและขัดต่อคำสั่ง[46] ขณะที่พวกเขาออกไป หน่วยคอมมาโดอิสราเอลในแลนด์โรเวอร์ที่ตามหลังคันหนึ่งได้สังหารฝ่ายตรงข้ามด้วยปืนไรเฟิลที่ไม่สามารถอำพรางได้[19] จากความกลัวว่าสลัดอากาศจะตื่นตัวก่อนเวลาอันควร ทีมโจมตีจึงได้เข้าถึงเทอร์มินอลด้วยความรวดเร็ว[65]

การช่วยชีวิตตัวประกัน

รูปถ่ายของอาคารเก่าแก่ปี ค.ศ. 1994 ที่มีซี-130 เฮอร์คิวลิส ของกองทัพอากาศสหรัฐจอดอยู่ด้านหน้า โดยที่รอยกระสุนจากการโจมตีเมื่อปี ค.ศ. 1976 ยังคงมองเห็นได้

ฝ่ายอิสราเอลทิ้งรถไว้และวิ่งไปที่เทอร์มินอล ตัวประกันอยู่ในห้องโถงใหญ่ของอาคารสนามบิน ซึ่งติดกับรันเวย์โดยตรง ในการเข้าสู่เทอร์มินอล หน่วยคอมมานโดได้ตะโกนผ่านโทรโข่ง "หมอบลง! หมอบลง! เราเป็นทหารอิสราเอล" ทั้งในภาษาฮีบรูและอังกฤษ ทว่า ฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสอพยพไปยังอิสราเอลอายุ 19 ปี ได้ลุกขึ้นยืนและถูกฆ่าตายเมื่อมูกิ เบตเซอร์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายอิสราเอลและทหารอีกคนหนึ่งเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสลัดอากาศและได้ยิงเขา[26] ส่วนปัสโก โคเอน ซึ่งเป็นตัวประกันอายุ 52 ปีอีกคนหนึ่ง ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยิงโดยหน่วยคอมมานโด[67] นอกจากนี้ ไอดา โบโรโชวิช ซึ่งเป็นตัวประกันคนที่สามที่มีอายุ 56 ปี ชาวยิวรัสเซียผู้อพยพไปยังอิสราเอล ได้ถูกสังหารโดยสลัดอากาศจากการอยู่ท่ามกลางการต่อสู้[68]

ตัวประกันชื่อไอลัน ฮาร์ทัฟ เปิดเผยว่า วินฟรีด เบอเซ เป็นสลัดอากาศเพียงคนเดียวหลังจากเริ่มปฏิบัติการ ที่ได้เข้าห้องโถงตัวประกัน ตอนแรกเขาใช้ไรเฟิลคาลาชนิคอฟส่องไปที่ตัวประกัน แต่ "ทันทีที่มาถึงความประสาทสัมผัสของเขา" ก็ได้สั่งให้พวกเขาหากำบังในห้องน้ำ ก่อนที่จะถูกสังหารโดยหน่วยคอมมานโด ตามที่ฮาร์ทัฟเปิดเผย เบอเซยิงเฉพาะทหารอิสราเอลและไม่ได้ยิงตัวประกัน[8]

มีอยู่ช่วงหนึ่ง หน่วยคอมมานโดอิสราเอลตะโกนเรียกเป็นภาษาฮีบรู "พวกเขาอยู่ที่ไหน ?" ซึ่งหมายถึงพวกสลัดอากาศ[69] กลุ่มตัวประกันชี้ไปที่ประตูเชื่อมต่อของห้องโถงใหญ่ของสนามบิน ซึ่งหน่วยคอมมานโดได้ขว้างระเบิดมือหลายครั้ง จากนั้น พวกเขาเข้าไปในห้องและยิงสลัดอากาศสามคนที่ยังเหลืออยู่จนเสียชีวิต เป็นอันสิ้นสุดการโจมตี[25] ในขณะเดียวกัน เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส อีกสามลำได้จอดอยู่ และนำรถยานเกราะออกมาเพื่อเตรียมการป้องกันในช่วงเวลาที่คาดว่าจะเติมน้ำมัน ฝ่ายอิสราเอลได้ทำลายเครื่องบินรบมิกของยูกันดาเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้ในการไล่ล่า และดำเนินการกวาดล้างสนามบินเพื่อรวบรวมข่าวกรอง[25]

การออกเดินทาง

ผู้โดยสารที่ได้รับการช่วยเหลือได้รับการต้อนรับที่ท่าอากาศยานเบนกูเรียน

หลังจากการโจมตี ทีมโจมตีอิสราเอลกลับไปที่เครื่องบินของพวกเขาและเริ่มบรรทุกตัวประกัน ทหารยูกันดายิงใส่พวกเขาในช่วงดำเนินการ ส่วนหน่วยคอมมานโดอิสราเอลก็สวนกลับไปโดยใช้เอเค 47 ของพวกเขา[70] ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายในฝ่ายยูกันดา ในระหว่างการสู้รบสั้น ๆ แต่เข้มข้นนี้ ทหารยูกันดาได้ยิงออกมาจากหอควบคุมสนามบิน หน่วยคอมมานโดอย่างน้อยห้ารายได้รับบาดเจ็บ และโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยของอิสราเอลถูกสังหาร หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลยิงปืนกลเบาและอาร์พีจีกลับไปที่หอควบคุมเพื่อยับยั้งการยิงของฝ่ายยูกันดา อ้างอิงจากบุตรชายคนหนึ่งของอีดี อามิน เผยว่า ทหารที่ยิงเนทันยาฮูนั้น เป็นลูกพี่ลูกน้องของครอบครัวอามิน ได้ถูกฆ่าตายในการยิงกลับดังกล่าว[71] ต่อมา ฝ่ายอิสราเอลอพยพตัวประกันเสร็จสิ้น รวมถึงบรรทุกร่างของเนทันยาฮูในเครื่องบินลำหนึ่ง และออกจากท่าอากาศยาน[72] ปฏิบัติการทั้งหมดใช้เวลา 53 นาที – ซึ่งการโจมตีใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น มีสลัดอากาศทั้งหมด 7 ราย และทหารยูกันดาระหว่าง 33 ถึง 45 รายถูกสังหาร[25][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] ส่วนเครื่องบินรบมิก-17 และมิก-21 ที่สร้างขึ้นโดยโซเวียตสิบเอ็ดลำ[6] ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลายลงบนพื้นที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ[4][73] จากตัวประกัน 106 ราย 3 คนถูกสังหาร, 1 คนถูกทิ้งไว้ในยูกันดา (โดรา บลอค อายุ 74 ปี) และประมาณ 10 คนได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวประกัน 102 คนที่ได้รับการช่วยเหลือได้บินสู่ประเทศอิสราเอลผ่านกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ไม่นานหลังจากการโจมตี[22]

ปฏิกิริยาจากฝ่ายยูกันดา

สมาชิกในครอบครัวแสดงความเคารพโดรา บลอค วัย 75 ปีครั้งสุดท้าย หลังจากที่เธอถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพยูกันดา

โดรา บลอค ชาวอิสราเอลวัย 74 ปีซึ่งเป็นพลเมืองของอังกฤษ ได้รับการนำตัวไปที่โรงพยาบาลมูลาโกในกัมปาลา หลังจากที่สำลักกระดูกไก่[74] หลังจากการโจมตีเธอถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพยูกันดา เช่นเดียวกับบางส่วนของแพทย์และพยาบาลของเธอ สำหรับการพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงอย่างเด่นชัด[26][nb 3][76] ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1987 เฮนรี เคิมบา ซึ่งเป็นอัยการสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในเวลานั้น ได้บอกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของยูกันดาว่าบลอคถูกลากออกจากเตียงในโรงพยาบาลและถูกสังหารโดยนายทหารสองคนตามคำสั่งของอามิน[77] บลอคถูกยิงและศพของเธอถูกทิ้งไว้ในกระโปรงหลังรถที่มีแผ่นหมายเลขทะเบียนหน่วยข่าวกรองของยูกันดา ศพของเธอถูกค้นพบใกล้กับสวนน้ำตาล 20 ไมล์ (32 กม.) ทางตะวันออกของกัมปาลาในปี ค.ศ. 1979 [78] หลังสงครามยูกันดา-แทนซาเนีย ที่ยุติการปกครองของอามิน[75] อามินยังสั่งให้ฆ่าชาวเคนยาหลายร้อยคนที่อาศัยอยู่ในยูกันดาเพื่อแก้แค้นที่ฝ่ายเคนยาช่วยเหลืออิสราเอลในการโจมตี มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมมีชาวเคนยา 245 คนเสียชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนามบินที่เอนเทบเบ และที่หลบหนีการถูกสังหารหมู่ ชาวเคนยาประมาณ 3,000 คนหนีจากประเทศยูกันดาในฐานะผู้ลี้ภัย[21][79][80]

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการระห่ำ โคตรคนฟอร์จูน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการแอสพิเดส ปฏิบัติการบากราตีออน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการเอนเทบเบ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/188804/E... http://broadwayworld.com/article/Untitled_Theater_... http://elpais.com/diario/1976/07/11/sociedad/20588... http://letras-uruguay.espaciolatino.com/jerozolims... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1976/1... http://www.haaretz.com/israel-news/.premium-1.7230... http://www.haaretz.com/surviving-the-myth-1.95789 http://www.haaretz.com/weekend/week-s-end/setting-... http://www.historama.com/online-resources/articles... http://www.idfblog.com/about-the-idf/history-of-th...