การจี้เครื่องบิน ของ ปฏิบัติการเอนเทบเบ

แอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 139
เครื่องบินแอร์บัส เอ300 ของแอร์ฟรานซ์ ที่เกี่ยวข้อง ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ในปี ค.ศ. 1980
สรุปการจี้เครื่องบิน
วันที่27 มิถุนายน ค.ศ. 1976
สรุปการจี้เครื่องบิน
จุดเกิดเหตุน่านฟ้ากรีก
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานแอร์บัส อา300เบ4-203
ดำเนินการโดยแอร์ฟรานซ์
ทะเบียนแอฟ-เบเวเชเช
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน ประเทศอิสราเอล
จุดพักท่าอากาศยานนานาชาติเอเธนส์ (เอลลินิคอน) ประเทศกรีซ
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล เดอ โกล ประเทศฝรั่งเศส
ผู้โดยสาร248 คน
ลูกเรือ12 คน
เสียชีวิต4 คน
บาดเจ็บ10 คน
รอดชีวิต256 คน

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1976 สายการบินแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 139 ซึ่งเป็นเครื่องบินแอร์บัส อา300เบ4-203 ทะเบียนแอฟ-เบเวเชเช (c/n 019) ได้ออกจากเมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้พาผู้โดยสาร 246 คนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวยิวและชาวอิสราเอล กับลูกเรืออีก 12 คน[23][24] แล้วบินสู่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มอีก 58 คน ที่รวมถึงสลัดอากาศสี่คน[25][nb 1] โดยเดินทางจากปารีสเวลา 12:30 น. เพียงแค่หลังการบินขึ้นไป เที่ยวบินถูกจี้โดยชาวปาเลสไตน์สองคนจากฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) และโดยชาวเยอรมันสองคน ซึ่งได้แก่วินฟรีด เบอเซ และบรีกิทเท คุลมันน์ จากหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน พวกสลัดอากาศทำให้เที่ยวบินเขวสู่เบงกาซี ประเทศลิเบีย[26] โดยทำการจอดบนพื้นดินเป็นเวลาเจ็ดชั่วโมงสำหรับการเติมน้ำมัน ในช่วงเวลาดังกล่าวสลัดอากาศได้ปล่อยตัวแพทริเซีย มาร์เทลล์ ซึ่งเป็นพลเมืองอิสราเอลที่เกิดในอังกฤษที่แกล้งทำเป็นว่ามีการแท้งลูก[18][27] เครื่องบินออกจากเบงกาซี และเวลา 15.15 น. ในวันที่ 28 มากกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากเที่ยวบินเดิม เครื่องบินก็มาถึงท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดา[26]

สถานการณ์ตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ

ที่เอนเทบเบ สลัดอากาศที่เข้าร่วมอย่างน้อยสี่คน ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังของประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน[28] พวกสลัดอากาศย้ายผู้โดยสารไปยังฮอลล์การขนส่งของเทอร์มินัลสนามบินเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ที่พวกเขากักขังตัวประกันไว้ภายใต้การเฝ้าระวังสำหรับวันต่อ ๆ ไป อามินมาเยี่ยมตัวประกันเกือบทุกวัน มีข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของพวกเขา และสัญญาว่าจะใช้ความพยายามของเขาเพื่อให้พวกตัวประกันเป็นอิสระผ่านข้อต่อรอง[23]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน สลัดอากาศพีเอฟแอลพี-อีโอ ได้ออกแถลงการณ์และตั้งข้อเรียกร้องของพวกเขานอกเหนือจากค่าไถ่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปลดปล่อยเครื่องบิน พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์และกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์ 53 คน ซึ่ง 40 คนเป็นนักโทษในอิสราเอล[29] พวกเขาขู่ว่าถ้าข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง พวกเขาจะเริ่มฆ่าตัวประกันในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 [30]

การแยกตัวประกันออกเป็นสองกลุ่ม

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน หลังจากทหารยูกันดาได้เปิดทางเข้าห้องถัดจากห้องโถงรอที่แออัดโดยการทำลายกำแพงแยก สลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล (รวมทั้งผู้ถือสองสัญชาติ) ออกจากตัวประกันคนอื่น ๆ[nb 2] และบอกให้ย้ายไปที่ห้องข้างเคียง[32] ขณะที่พวกเขาทำเช่นนั้น ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์คนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าสลัดอากาศวินฟรีด เบอเซ มีหมายเลขทะเบียนค่ายสักบนแขนของเขา แต่เบอเซคัดค้านว่า "ฉันไม่ใช่นาซี! ... ฉันเป็นคนที่มีอุดมการณ์"[37] นอกจากนี้ ตัวประกันที่ไม่ใช่ชาวอิสราเอลห้าคน สองคู่สมรสชาวยิวออร์ทอดอกซ์นิกายหมวกดำ[23] จากสหรัฐและเบลเยียม[8] และชาวฝรั่งเศสในประเทศอิสราเอล ได้ถูกบังคับให้เข้าร่วมกลุ่มชาวอิสราเอล[34] ตามที่โมนิค เอปสไตน์ คาเลปสกี เผย ตัวประกันชาวฝรั่งเศสในจำนวนห้าคน ผู้จับกุมได้แยกแยะพวกเขาออกเพื่อตั้งคำถามและสงสัยว่าพวกเขาซ่อนสถานะของอิสราเอลไว้[34] ในทางกลับกัน อ้างอิงจากมีแชล โกฌู-โกลแบร์ก ซึ่งเป็นตัวประกันชาวฝรั่งเศส เผยว่า ผู้จับกุมล้มเหลวในการระบุชาวอิสราเอลอย่างน้อยหนึ่งคนในหมู่ผู้โดยสารที่มีสองสัญชาติแล้วใช้หนังสือเดินทางที่ไม่ใช่อิสราเอล และเขาก็ปล่อยให้เป็นอิสระในภายหลัง ในฐานะส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวครั้งที่สองของตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอล[36] ส่วนเจเน็ต อัลม็อก ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐ, โจเซลีน โมนิเยร์ ผู้หญิงชาวฝรั่งเศส (ซึ่งสามีหรือแฟนหนุ่มเป็นชาวอิสราเอล)[38][39] และฌ็อง-ฌัก มีมัวนี พลเมืองสัญชาติฝรั่งเศส-อิสราเอล ชื่อของเขาไม่ได้ถูกเรียกขึ้นมาในระหว่างการอ่านหนังสือเดินทางแบบเดิม แต่ได้รายงานเข้าร่วมกลุ่มตัวประกันอิสราเอลโดยความสมัครใจของตนเอง[40]

การปล่อยตัวตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลส่วนใหญ่

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน สลัดอากาศได้ปล่อยตัวตัวประกัน 48 ราย กลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลได้รับการปลดปล่อยออกมา – ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ป่วย และมารดาที่มีบุตร สี่สิบเจ็ดคนดังกล่าวได้บินสู่ปารีส และผู้โดยสารคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งวัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม หลังจากที่รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศข้อตกลงการเจรจา ผู้จับตัวประกันยื่นคำร้องถึงเที่ยงวันในวันที่ 4 กรกฎาคม และปล่อยกลุ่มผู้ถูกกักขังที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลอีก 100 คน ที่บินสู่ปารีสอีกครั้งในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในบรรดา 106 ตัวประกันที่อยู่ข้างหลังกับผู้จับกุมที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ เป็นลูกเรือของแอร์ฟรานซ์ 12 คนผู้ปฏิเสธที่จะออกไป[41] ผู้โดยสารวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสประมาณสิบคน และกลุ่มชาวอิสราเอลประมาณ 84 คน[1][7][26][42]

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการระห่ำ โคตรคนฟอร์จูน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการแอสพิเดส ปฏิบัติการบากราตีออน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการเอนเทบเบ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/188804/E... http://broadwayworld.com/article/Untitled_Theater_... http://elpais.com/diario/1976/07/11/sociedad/20588... http://letras-uruguay.espaciolatino.com/jerozolims... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1976/1... http://www.haaretz.com/israel-news/.premium-1.7230... http://www.haaretz.com/surviving-the-myth-1.95789 http://www.haaretz.com/weekend/week-s-end/setting-... http://www.historama.com/online-resources/articles... http://www.idfblog.com/about-the-idf/history-of-th...