การวางแผนปฏิบัติการ ของ ปฏิบัติการเอนเทบเบ

ในสัปดาห์ก่อนการจู่โจม อิสราเอลพยายามใช้หนทางการเมืองเพื่อให้ได้รับการปลดปล่อยตัวประกัน หลายแหล่งข่าวระบุว่าคณะรัฐมนตรีอิสราเอลเตรียมที่จะปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หากทางออกทางทหารดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ บารุค "เบอร์กา" บาร์-เลฟ เจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันอิสราเอลที่เกษียณแล้ว รู้จักอีดี อามิน เป็นเวลาหลายปีและได้รับการพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับเขา ตามคำร้องขอของคณะรัฐมนตรี เขาได้พูดคุยกับอามินทางโทรศัพท์หลายครั้ง โดยพยายามที่จะให้มีการปล่อยตัวประกัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ[43][44] รัฐบาลอิสราเอลยังเข้าหารัฐบาลสหรัฐเพื่อส่งข้อความถึงประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต เพื่อขอให้เขาขอให้อามินปล่อยตัวประกัน[45] ส่วนนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชิมอน เปเรส ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ว่าไม่เห็นด้วยในการให้ตามความต้องการของสลัดอากาศ (ตำแหน่งของราบิน) หรือไม่ เพื่อป้องกันการก่อการร้ายมากขึ้น (ตำแหน่งของเปเรส)[46]

ในเส้นตายของวันที่ 1 กรกฎาคม[47] คณะรัฐมนตรีอิสราเอลเสนอให้เจรจากับสลัดอากาศเพื่อขยายกำหนดสู่วันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งอามินเองก็ยังขอให้พวกเขาขยายเวลาจนถึงวันที่ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถเดินทางทางการทูตไปยังพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส เพื่อส่งมอบตำแหน่งประธานขององค์การเอกภาพแอฟริกาแก่ซีวูซากูร์ รามกูลัม อย่างเป็นทางการ[48] การขยายเส้นตายของตัวประกันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กองกำลังอิสราเอลมีเวลาพอที่จะเดินทางไปเอนเทบเบได้[25]

ในวันที่ 3 กรกฎาคม เวลา 18:30 น. คณะรัฐมนตรีของอิสราเอลอนุมัติภารกิจช่วยชีวิต[49] ที่นำเสนอโดยพลตรี เยกูเทียล "กูที" อดัม และพลจัตวา แดน ชอมรอน ซึ่งชอมรอนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ[50]

ความพยายามในการแก้ปัญหาด้านการทูต

ขณะที่เกิดวิกฤติขึ้น มีความพยายามที่จะเจรจาปล่อยตัวประกัน ตามเอกสารทางการทูตที่ไม่เป็นความลับ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้ซาดาต พยายามเจรจากับทั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐบาลยูกันดา[51][52] โดยประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ส่งฮานิ อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยการเมืองของเขาไปยังประเทศยูกันดาในฐานะทูตพิเศษเพื่อเจรจากับผู้จับตัวประกันและอามิน[8] อย่างไรก็ตาม สลัดอากาศฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ปฏิเสธที่จะพบเขา[53]

การเตรียมการโจมตีโฉบฉวย

เมื่อหน่วยงานของอิสราเอลล้มเหลวในการเจรจาทางการเมือง พวกเขาตัดสินใจว่าทางเลือกเดียวของพวกเขาคือการโจมตีเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน พันโท โจชัว ชานี นักบินนำของปฏิบัติการ กล่าวในภายหลังว่าชาวอิสราเอลเริ่มคิดแผนกู้ภัยในขั้นต้น ที่เกี่ยวข้องกับการหย่อนหน่วยคอมมานโดกองทัพเรือเข้าทะเลสาบวิกตอเรีย หน่วยคอมมานโดจะต้องขี่เรือยางไปยังท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบ พวกเขาวางแผนที่จะสังหารสลัดอากาศ และหลังจากปลดปล่อยตัวประกัน พวกเขาจะขอร้องอามินเพื่อเดินทางกลับบ้าน ทว่า ฝ่ายอิสราเอลละทิ้งแผนนี้เพราะมีเวลาที่จำเป็นไม่เพียงพอ และเพราะพวกเขาได้รับข่าวว่าทะเลสาบวิกตอเรียเป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้แม่น้ำไนล์[54]

อัมนอน ไบรัน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของภารกิจ ได้ระบุในภายหลังว่าไม่ทราบรูปแบบที่ถูกต้องของท่าอากาศยาน รวมถึงตำแหน่งที่แน่นอนของตัวประกัน และไม่ทราบด้วยว่าอาคารนั้นจะเตรียมวัตถุระเบิดไว้ด้วยหรือไม่[46]

การเติมเชื้อเพลิงอากาศยาน

ในขณะที่กำลังวางแผนการโจมตีโฉบฉวย กองกำลังอิสราเอลต้องวางแผนที่จะเติมน้ำมันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส ที่พวกเขาตั้งใจจะใช้ในระหว่างการเดินทางสู่เอนเทบเบ ฝ่ายอิสราเอลขาดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงในการทหารเพื่อการเติมน้ำมันกลางอากาศสี่ถึงหกเที่ยวบินที่ห่างจากน่านฟ้าของประเทศอิสราเอล ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงในการทหารประเทศเคนยาที่เข้าข้าง ต่างก็ไม่มีใครอยากให้อามินหรือชาวปาเลสไตน์โกรธแค้นโดยการอนุญาตให้ฝ่ายอิสราเอลลงจอดเครื่องบินภายในเขตแดนของตน

การโจมตีโฉบฉวยไม่สามารถดำเนินการได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลแอฟริกาตะวันออกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ชาวยิวเจ้าของกลุ่มบริษัทบริหารโรงแรมบล็อกในประเทศเคนยา พร้อมกับสมาชิกคนอื่น ๆ ของชุมชนชาวยิวและชาวอิสราเอลในกรุงไนโรบี อาจใช้อิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขาเพื่อช่วยชักชวนประธานาธิบดีเคนยา โจโม เคนยัตตา ให้ช่วยอิสราเอล ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้รับอนุญาตจากเคนยาให้กองกำลังป้องกันอิสราเอลข้ามน่านฟ้าเคนยาและเติมเชื้อเพลิงที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา[55]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเคนยา บรูซ แมคเคนซี ได้ชี้ชวนเคนยัตตาผู้เป็นประธานาธิบดีเคนยา เพื่ออนุญาตให้มอสสาดเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนปฏิบัติการ และเพื่อให้กองทัพอากาศอิสราเอลสามารถเข้าถึงท่าอากาศยานไนโรบีได้[56] ในการตอบโต้ ประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน สั่งให้ตัวแทนยูกันดาลอบสังหารแมคเคนซี โดยเขาถูกสังหารเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 เมื่อมีการระเบิดที่ติดกับเครื่องบินของเขา[56][57][58][59] ต่อมา เมเออร์ อามิต ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของมอสสาด ได้ปลูกป่าในประเทศอิสราเอลในชื่อของแมคเคนซี[56]

หน่วยสืบราชการลับตัวประกัน

มอสสาดสร้างภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ของตัวประกัน, จำนวนของสลัดอากาศ และการมีส่วนร่วมของกองทัพยูกันดาจากการปล่อยตัวประกันในปารีส[60] นอกจากนี้ บริษัทตัวแทนอิสราเอลมีส่วนร่วมในการสร้างโครงการในแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 และในขณะที่เตรียมการโจมตีโฉบฉวยกองทัพอิสราเอลได้ปรึกษากับโซเลลโบเนห์ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของอิสราเอลที่สร้างเทอร์มินอลที่คุมตัวประกันไว้[61] ขณะที่กำลังวางแผนปฏิบัติการทางทหาร กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้สร้างแบบจำลองบางส่วนของอาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลเรือนผู้ช่วยสร้างต้นฉบับ

มูกิ เบตเซอร์ กล่าวในการสัมภาษณ์ในภายหลังว่า นักสืบมอสสาดได้สัมภาษณ์ตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างครอบคลุม เขากล่าวว่าผู้โดยสารชาวฝรั่งเศส-ยิว มีพื้นฐานทางทหารและ"ความจำยอดเยี่ยม"โดยให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอาวุธที่ถือโดยผู้คุมตัวประกัน[62] หลังจากที่เบตเซอร์รวบรวมข่าวกรองและวางแผนไว้หลายวันแล้ว เครื่องบินขนส่งซี-130 เฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอิสราเอลสี่ลำได้ลอบบินสู่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในตอนเที่ยงคืนโดยไม่มีการตรวจพบโดยการควบคุมการจราจรทางอากาศของเอนเทบเบ

กองกำลังพิเศษ

กองกำลังพิเศษภาคพื้นดินของอิสราเอลมีจำนวนประมาณ 100 คน และประกอบไปด้วย:[50]

หน่วยคำสั่งพื้นดินและควบคุมกลุ่มเล็ก ๆ นี้ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติการและผู้บัญชาการภาคพื้นดินโดยรวม พลจัตวา แดน ชอมรอน, ตัวแทนกองทัพอากาศ พันเอก อามี อายาลอน และบุคลากรการสื่อสารรวมถึงการสนับสนุนหน่วยโจมตีหน่วยจู่โจม 29 คน นำโดยพันโท โยนาทัน เนทันยาฮู – กองกำลังนี้ประกอบด้วยคอมมานโดจากซาเยเรตแมตคาล และได้รับภารกิจหลักในการโจมตีเทอร์มินอลเก่าและช่วยเหลือตัวประกัน พันตรีเบตเซอร์เป็นผู้นำหนึ่งในทีมโจมตีของหน่วย และรับคำสั่งหลังพันโทเนทันยาฮูถูกสังหารหน่วยคุ้มกัน
  1. กองกำลังพลร่ม นำโดยพันเอก มาทัน วิลไน – ได้รับมอบหมายด้านการคุ้มกันบริเวณท่าอากาศยานพลเรือน, ทำทางให้โล่งและคุ้มกันบริเวณรันเวย์ ตลอดจนการป้องกันและการเติมเชื้อเพลิงเครื่องบินอิสราเอลในเอนเทบเบ
  2. กองกำลังโกลานี นำโดยพันเอก อูรี ซากิ – ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส สำหรับการโยกย้ายตัวประกัน โดยนำมาจอดให้ใกล้กับเทอร์มินอลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และพาตัวประกันขึ้นเครื่อง รวมถึงทำหน้าที่เป็นกองหนุนทั่วไป
  3. กองกำลังซาเยเรตแมตคาล นำโดยพันตรี ชอล โมฟัซ – ได้รับมอบหมายให้ทำทางขึ้นลงสำหรับเครื่องบินทหารให้โล่ง และทำลายฝูงเครื่องบินรบมิกบนพิ้นดิน เพื่อป้องกันการแทรกแซงที่เป็นไปได้โดยกองทัพอากาศยูกันดา รวมถึงกองกำลังภาคพื้นดินที่เป็นศัตรูจากเมืองเอนเทบเบ

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการระห่ำ โคตรคนฟอร์จูน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการแอสพิเดส ปฏิบัติการบากราตีออน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการเอนเทบเบ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/188804/E... http://broadwayworld.com/article/Untitled_Theater_... http://elpais.com/diario/1976/07/11/sociedad/20588... http://letras-uruguay.espaciolatino.com/jerozolims... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1976/1... http://www.haaretz.com/israel-news/.premium-1.7230... http://www.haaretz.com/surviving-the-myth-1.95789 http://www.haaretz.com/weekend/week-s-end/setting-... http://www.historama.com/online-resources/articles... http://www.idfblog.com/about-the-idf/history-of-th...