ประชากรแบ่งตามภูมิภาค ของ ประชากรโลก

มนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวรในหกในเจ็ดทวีปของโลกเป็นจำนวนมาก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุด โดยผู้อยู่อาศัย 4,200 ล้านคน คิดเป็นกว่า 60% ของประชากรโลก เพียงสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีนและอินเดีย รวมกันก็มีประชากรราว 37% ของประชากรโลกแล้ว ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสอง โดยมีประชากรราว 1 พันล้านคน หรือ 15% ของประชากรโลก ทวีปยุโรปมีประชากร 733 ล้านคน คิดเป็น 11% ของประชากรโลก ขณะที่ภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียนเป็นที่อยู่ของประชากรโลกราว 600 ล้านคน (9%) อเมริกาเหนือ (Northern America) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีประชากรราว 352 ล้านคน (5%) และโอเชียเนีย ภูมิภาคที่มีประชากรน้อยที่สุด มีผู้อยู่อาศัยราว 35 ล้านคน (0.5%)[17] ส่วนทวีปแอนตาร์กติกา แม้จะไม่มีประชากรอยู่อาศัยแน่นอนเป็นการถาวร แต่ก็มีประชากรนานาประเทศจำนวนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ในสถานีวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ประชากรนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในฤดูร้อนและลดลงอย่างมีนัยสำคัญในฤดูหนาว เพราะนักวิจัยผู้มาเยือนกลับประเทศแม่[18]

ประชากรแบ่งตามทวีป

ชื่อทวีปความหนาแน่น (ผู้อยู่อาศัย/กม2)ประชากร (2011)ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดนครที่มีประชากรมากที่สุด
ทวีปเอเชีย86.74,140,336,501 จีน (1,341,403,687) โตเกียว (35,676,000)
ทวีปแอฟริกา32.7994,527,534 ไนจีเรีย (152,217,341) ไคโร (19,439,541)
ทวีปยุโรป70738,523,843 รัสเซีย (142,905,200;
ประมาณ 110 ล้านคนในทวีปยุโรป
มอสโก (14,837,510)
ทวีปอเมริกาเหนือ22.9528,720,588 สหรัฐ (313,485,438) เม็กซิโกซิตี/ปริมณฑล (8,851,080 / 21,163,226)
ทวีปอเมริกาใต้21.4385,742,554 บราซิล (190,732,694) เซาเปาโล (19,672,582)
โอเชียเนีย4.2536,102,071 ออสเตรเลีย (22,612,355) ซิดนีย์ (4,575,532)
ทวีปแอนตาร์กติกา0.0003 (แปรผัน)4,490 (ไม่ถาวร, แปรผัน) McMurdo Station (955)[19]