จิตรกรรมก่อนประวัติศาสตร์ ของ ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

จิตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้

ในยุคหินเก่าแก่ภาพเขียนรูปมนุษย์ในถ้ำจึงแบบว่าหาดูได้ยาก ภาพเขียนส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่และไม่แต่สัตว์สำหรับการบริโภคแต่รวมทั้สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งด้วยเช่นแรด หรือ สัตว์ตระกูลเสือแมวเช่นภาพในถ้ำโชเวท์ บางครั้งก็จะมีเครื่องหมายจุด แต่ภาพมนุษย์เป็นแต่เพียงภาพพิมพ์ของมือหรือรูกึ่งสัตว์กึ่งคน ส่วนภาพเขียนในถ้ำอัลตามิรา (Cave of Altamira) ในประเทศสเปนมีอายุราวระหว่าง 14,000 ถึง 12,000 ก่อนคริสต์ศักราชมีภาพต่างๆ ที่รวมทั้งไบซอน

ในโถงวัวของลาส์โกซ์ในดอร์ดอญในฝรั่งเศสมีจิตรกรรมผนังถ้ำที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดที่เขียนระหว่าง 15,000 ถึง 10,000 ก่อนคริสต์ศักราช ความหมายของการเขียนไม่เป็นที่ทราบ ตัวถ้ำไม่ได้อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้วาดซึ่งอาจจะหมายถึงว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เฉพาะฤดูในประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์แต่ละตัวก็มีเครื่องหมายซึ่งอาจจะมีความหมายทางเวทมนตร์ สัญลักษณ์ที่คล้ายศรในลาส์โกซ์บางครั้งก็ตีความหมายกันว่าเป็นปฏิทินหรือหนังสืออัลมาแนค แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปอะไรได้แน่นอน[6]

งานที่สำคัญที่สุดของยุคหินกลางคือภาพการเดินทัพของนักการสงครามที่เป็นจิตรกรรมผนังหินที่ชิงเกิลเดอลาโมลา (Cingle de la Mola) ในกัสเตยอง (Castellón) ในประเทศสเปนที่เขียนราวระหว่าง 7,000 ถึง 4,000 ก่อนคริสต์ศักราช วิธีเขียนอาจจะเป็นการพ่นสารสีบนผนัง การเขียนมีลักษณะเป็นธรรมชาติแต่ก็ตกแต่งเพิ่มบ้าง รูปที่วาดมีลักษณะเป็นสามมิติแต่ทับกัน

งานศิลปะของอินเดียที่เก่าที่สุดเป็นจิตรกรรมผนังหินจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ที่พบในที่ต่างๆ เช่นที่หลบหินที่บิมเบ็ตคา บางแห่งก็มีอายุเก่ากว่า 5500 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนประเภทนี้ทำต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี ในคริสต์ศตวรรที่ 7 เสาสลักแห่งอจันตา (Ajanta) ในรัฐมหาราษฏระในประเทศอินเดียแสดงให้เห็นถึงความงดงามของจิตรกรรมของอินเดียและสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและส้มเป็นสีที่ทำมาจากแร่ธาตุ

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย