ราชรัฐแห่งกัศมีร์และชัมมู ของ ประวัติศาสตร์ชัมมูและกัศมีร์

เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 หุบเขากัศมีร์อยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิดุรรานีแห่งอัฟกานิสถาน จากนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิมมูคัลและอัฟกัน ตามมาด้วยความขัดแย้งกับชาวซิกข์เมื่อ พ.ศ. 2323 หลังจากการตายของรณชิต เคโอ ราชาแห่งชัมมู ราชอาณาจักรชัมมู (ทางใต้ของหุบเขากัศมีร์)ถูกปกครองโดยชาวซิกข์ รันชิต สิงห์แห่งลาฮอร์จนกระทั่ง พ.ศ. 2389 คุลาบ สิงห์ หลานชายของรณชิต เคโอได้แยกตัวออกมาจากการปกครองของกษัตริย์ชาวซิกข์ และตั้งตนเป็นราชาแห่งชัมมูตั้งแต่ พ.ศ. 2363 โดยความช่วยเหลือของโซราวัร สิงห์

คุลาบ สิงห์เข้าปกครองลาดักและบัลติสถานที่อยู่ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของชัมมู เมื่อเกิดสงครามอังกฤษ-ซิกข์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2388 คุลาบ สิงห์เข้าข้างอังกฤษ เมื่อสงครามสิ้นสุด รัฐลาฮอร์(รวมทั้งปัญจาบตะวันตก)และดินแดนระหว่างเปียสและอินดุสเป็นของอังกฤษ ส่วนรัฐชัมมูของคุลาบ สิงห์เป็นรัฐในอารักขา เมื่อคุลาบ สิงห์เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2400 บุตรชายของเขาคือ รันบีร สิงห์ได้รวม อันซา คิลคิต และนาคัรเข้าในราชอาณาจักรด้วย

ราชรัฐแห่งกัศมีร์และชัมมูตั้งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2363 - 2401 เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายในตัวเองมาก แทบจะไม่มีเอกลักษณ์ร่วมกันเลย โดยเป็นทั้งความแตกต่างในด้านศาสนา เขตแดนและวัฒนธรรม."[5] ดินแดนลาดักทางตะวันออกมีวัฒนธรรมแบบทิเบตและนับถือศาสนาพุทธ ชัมมูทางใต้เป็นกลุ่มชนผสมระหว่างชาวฮินดู ชาวมุสลิม และชาวซิกข์ ในตอนกลางของหุบเขากัศมีร์ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสุหนี่ แต่ชนที่มีอิทธิพลเป็นชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยแต่มีอำนาจปกครอง บัลติสถานทางตะวันออกเฉียงเหนือมีวัฒนธรรมแบบเดียวกับลาดัก แต่นับถืออิสลามชีอะหฺ คิลคิตทางเหนือเป็นที่รวมของกลุ่มชนหลากส่วนใหญ่เป็นมุสลิมชีอะหฺ และปุนชิทางตะวันตกเป็นมุสลิมแต่มีเชื้อชาติต่างจากมุสลิมในหุบเขากัศมีร์ หลังการกบฏในอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2400 กัศมีร์เข้าข้างอังกฤษ ทำให้กลายเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติการบินไทย ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี