สมัยกรุงศรีอยุธยา ของ ประวัติศาสตร์มวยไทย

ภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งองค์พระนเรศวรมหาราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู้ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1988 ถึง พ.ศ. 2310 ในช่วงนี้มีสงครามจำนวนมากระหว่างไทย, พม่า และกัมพูชา[2] จึงได้มีการฝึกพัฒนาทักษะด้านมวยไทยเพื่อการป้องกันตัว อาจารย์ผู้ถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้นี้ให้แก่ชาวไทยไม่ได้มีจำกัดเฉพาะในพระบรมมหาราชวังดังเช่นก่อนหน้านี้[3] โดยมีสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ มีนักเรียนหลายคนเข้ามาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย พวกเขาฝึกวิชาดาบ และการต่อสู้ระยะประชิด ด้วยดาบหวาย จากการเรียนรู้การต่อสู้โดยไม่ใช้อาวุธของทหารนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มวยไทยโบราณ ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของมวยไทย โดยสำนักมวยไทยในยุคนั้น ได้เริ่มถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่ประชาชน[2]

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133–2147)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงให้ความสำคัญต่อมวยไทยอย่างยิ่ง โดยให้การฝึกแก่บรรดาชายหนุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมวยไทยทั้งในแง่ของความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในตนเอง พวกเขาได้รับคำสั่งให้เรียนรู้การต่อสู้ด้วยอาวุธทุกชนิด นอกจากนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงแต่งตั้งกองเสือป่าแมวมอง ซึ่งเป็นหน่วยรบแบบกองโจร[2] โดยกองทหารเหล่านี้ สามารถกอบกู้เอกราชของประเทศไทยจากประเทศพม่าได้ในช่วงเวลาดังกล่าว[3][4]

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2147–2233)

ในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีแต่ความสงบสุข จึงทำให้มีโอกาสในการพัฒนาสังคม, เศรษฐกิจ และการทหารแห่งราชอาณาจักร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมวยไทย ที่ได้กลายเป็นกีฬาประจำชาติ ในช่วงเวลานี้ ได้มีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายแห่ง[2] ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ในการฝึกโดยเฉพาะ โดยการสร้างสังเวียนมวยและลานดิน ซึ่งมีเชือกเพียงเส้นเดียวกั้น และมีกฎกติการการแข่งขัน ในบริเวณสี่เหลี่ยมจัตุรัส[3] นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้งหรือน้ำมันดินให้แข็งเพื่อพันข้อมือ วิธีการเช่นนี้จึงได้รับการเรียกกันในชื่อคาดเชือก (การใช้เชือกพัน) หรือที่รู้จักกันในชื่อมวยคาดเชือก (การต่อสู้กันโดยมีเชือกพัน)[2][3]

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย