สมัยสุโขทัย ของ ประวัติศาสตร์มวยไทย

เมืองหลวงของประเทศไทยในช่วงนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1781 ถึง พ.ศ. 1951 ตามรายการที่บันทึกไว้ในศิลา สุโขทัยมีความขัดแย้งกับหลายเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมักจะเผชิญหน้ากับข้าศึกจากภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้น ทางเมืองสุโขทัยจึงมีคำสั่งให้มีการฝึกฝนในกองทัพ รวมถึงการใช้ดาบ, หอก และอาวุธอื่น ๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ การฝึกต่อสู้โดยใช้ร่างกายมีประโยชน์มากในยามบ้านเมืองไม่มีสงคราม ทักษะการต่อสู้ด้วยการใช้หมัด, เข่า และศอก ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อมของกองทัพสุโขทัย[2][3]

ในยามสงบ การฝึกมวยไทยจะเป็นกิจกรรมแบบไม่แบ่งชนชั้น โดยบรรดาชายไทยวัยหนุ่มจะได้รับทักษะการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนเข้ารับราชการทหาร[2] ศูนย์ฝึกซ้อมส่วนใหญ่จัดขึ้นที่บริเวณรอบเมือง โดยเฉพาะสำนักสมอคร ในแขวงเมืองลพบุรี รวมถึงมีการสอนตามลานวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ฝึกสอน[3]

ในช่วงเวลานี้ มวยไทยได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงทางสังคม และนำมาใช้จริง ในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายแก่นักรบ, การสร้างความแข็งแกร่ง และความกล้าหาญต่อผู้ปกครองบ้านเมือง[2] พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของสุโขทัย ทรงเชื่อมั่นในประโยชน์ของมวยไทย จึงส่งราชโอรสสองพระองค์ไปยังสำนักสมอคร เพื่อเตรียมความพร้อมในการสืบทอดราชบัลลังก์ ระหว่างปี พ.ศ. 1818 ถึง 1860 พ่อขุนรามคำแหงทรงนิพนธ์ตำหรับพิชัยสงคราม ที่มีการกล่าวถึงมวยไทย เช่นเดียวกับทักษะการต่อสู้อื่น ๆ[3]

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย