สมัยพระเวท ของ ประวัติศาสตร์อินเดีย

ดูบทความหลักที่: อารยธรรมพระเวท

ประมาณ 2000 ถึง 1500 ปีก่อนค.ศ. ชาวอินโด-อารยันจากเอเชียกลางอพยพเข้ามาในอินเดีย และพบกับอารยธรรมสินธุ ทั้งสองอารยธรรมผสมผสานรวมกันเป็นอารยธรรมพระเวท เป็นอารยธรรมเหล็ก หลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมนี้คือพระเวท เป็นวรรณกรรมทางศาสนาในภาษาสันสฤต อันเป็นที่มาของชื่อสมัยนี้

ช่วงแรกของสมัยพระเวท เรียกว่า สมัยฤคเวท เป็นสมัยที่ชาวอารยันเข้ามาในอินเดียใหม่ ๆ เป็นชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ คัมภีร์ฤคเวทเป็นพระเวทที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมีจึงปรากฏมียชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท มีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาหลายครั้ง ตามมาด้วยคัมภีร์เสริมอื่น ๆ ได้แก่ สามหิตา อรัญญิก อุปนิษัท และพราหมณ์

มหากาพย์ทั้งหลาย ได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาล ตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี่ยงสัตว์เร่ร่อนแต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มีการค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้ และเริ่มมีระบบวรรณะชัดเจน

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย