มหาชนบท ของ ประวัติศาสตร์อินเดีย

ดูบทความหลักที่: มหาชนบท, พระพุทธศาสนา และ ศาสนาเชน

ปลายสมัยพระเวทประมาณ 600 ปีก่อนค.ศ. ชาวอารยันในอินเดียสามารถรวมตัวเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ ประมาณ 16 อาณาจักรได้ แต่ละอาณาจักรเรียกว่า มหาชนบท ตามลุ่มแม่น้ำคงคา-สินธุ ชุมชนเมืองเติบโตอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของอารยธรรมสินธุ ทั้ง 16 มหาชนบทมีการปกครองที่แตกต่างกัน บางอาณาจักรปกครองโดยกษัตริย์ บางอาณาจักรปกครองโดยสภาเมือง เป็นสาธารณรัฐ

ภาษาที่ใช้ของชาวอารยันในหมู่ชนชั้นสูงคือภาษาสันสกฤต ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปใช้ภาษาปรากฤต กำเนิดศาสนาสองศาสนา คือ พระพุทธศาสนา โดยเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ และศาสนาเชน โดยมหาวีระ ทั้งสองศาสนาเน้นเรื่องการละความสุขทางโลก และสอนเป็นภาษาบาลี จึงเข้าถึงผู้คนได้มาก

พ.ศ. 23 พระเจ้าดาริอุสแห่งเปอร์เซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในปัญจาบและคันธาระ และใน พ.ศ. 209 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าบุกอินเดียและเอาชนะพระเจ้าปุรุแห่งแคว้นเปารพที่แม่น้ำไฮดาสพ์ (Hydaspes) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตั้งข้าหลวง (Satrap) ปกครองแคว้นต่าง ๆ รวมถึงอินเดีย แคว้นคันธาระจึงกลายเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกและอินเดีย ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย-กรีก และศิลปะพระพุทธศาสนาแบบกรีก เกิดพระพุทธรูปเป็นครั้งแรกและส่งอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางศิลปะของพระพุทธศาสนา

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย