ประสาทสัมผัสที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ ของ ประสาทสัมผัส

การเห็น

ดูบทความหลักที่: การเห็น
ในรูปจิตรกรรม "อุปมานิทัศน์ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Allegory of the Five Senses)" ของเพียโตร พาโอลินีที่ Walters Art Museum บุคคลแต่ละคนในภาพเป็นตัวแทนของประสาทสัมผัสแต่ละทาง[4]

การเห็นเป็นสมรรถภาพของตาในการโฟกัสและจับภาพที่เกิดจากแสงในความถี่ที่เห็นได้ซึ่งตกกระทบที่เซลล์รับแสงในจอตาของตาแต่ละข้าง เป็นผลให้เซลล์ส่งกระแสประสาทไปยังระบบประสาทกลางเกี่ยวกับสีและความสว่างมีเซลล์รับแสงสองอย่างคือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยเซลล์รูปแท่งไวแสงมาก แต่ไม่แยกแยะสีเปรียบเทียบกับเซลล์รูปกรวยที่แยกแยะสี แต่ไวแสงน้อยกว่านี่จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่า นี่เป็นประสาทสัมผัสหนึ่งทาง สองทาง หรือสามทางกันแน่ โดยนักกายวิภาคทั่วไปพิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัส 2 ทาง เพราะเป็นตัวรับความรู้สึกต่าง ๆ กันที่รับรู้สีและความสว่างบางพวกกล่าวว่า แม้แต่การเห็นเป็น 3 มิติด้วยตาสองข้าง ก็เป็นประสาทสัมผัสอีกอย่างหนึ่ง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การรับรู้อย่างนี้จัดเป็นส่วนของประชาน (cognition) คือการรับรู้ที่เกิดขึ้นหลังได้ข้อมูลทางประสาทสัมผัสโดยเกิดขึ้นภายในเปลือกสมองส่วนการเห็น ซึ่งเป็นเขตที่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุและรูปแบบต่าง ๆ จะแปลผลและระบุว่าเป็นอะไรโดยเทียบกับประสบการณ์อันเคยมีมาก่อน

อาการตาบอดอาจเกิดเพราะความเสียหายต่อลูกตาโดยเฉพาะต่อจอตา เพราะความเสียหายที่เส้นประสาทตาซึ่งเชื่อมตากับสมอง หรือเพราะโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เนื้อสมองซึ่งจำเป็นในการเห็นตายเหตุขาดเลือด อนึ่ง ความบอดทั้งแบบชั่วคราวและถาวรก็สามารถเกิดขึ้นได้เพราะสารพิษหรือยา

สำหรับบุคคลที่ตาบอดเพราะเปลือกสมองส่วนการเห็นเสื่อมหรือเสียหาย แต่ตายังใช้ได้อยู่ ก็ยังอาจเห็นในบางระดับและมีปฏิกิริยาต่อตัวกระตุ้นทางตาที่ไม่เห็น เป็นภาวะที่เรียกว่าภาวะเห็นทั้งบอด (blindsight)บุคคลเช่นนี้จะไม่สำนึกว่าตนเองทำปฏิกิริยาต่อข้อมูลที่มาจากตา โดยพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปตามตัวกระตุ้นทางตาที่ไม่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ

ในปี 2013 นักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์ใช้ฝังในประสาทซึ่งให้การรับรู้แสงอินฟราเรดแก่หนู เป็นการให้ประสาทสัมผัสใหม่ ๆ ไม่ใช่แค่ทดแทนหรือเพิ่มสมรรถภาพของประสาทสัมผัสที่มีอยู่แล้ว[5]

การได้ยิน

ดูบทความหลักที่: การได้ยิน

การได้ยินก็คือการรับรู้เสียง เป็นการรับรู้ความสั่นสะเทือนล้วน ๆ คือ ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) ที่อยู่ในหูชั้นในจะแปลงความสั่นสะเทือนในสื่อ (เช่นอากาศ) ให้เป็นกระแสประสาทที่เป็นไฟฟ้า เนื่องจากเสียงเป็นความสั่นสะเทือนที่เดินทางไปในสื่อเช่นอากาศ การตรวจจับความสั่นสะเทือน (การได้ยิน) จึงเป็นประสาทสัมผัสเชิงกลเพราะมีสื่อนำความสั่นสะเทือนไปโดยแรงกลจากแก้วหูผ่านกระดูกหูเล็ก ๆ ตามลำดับไปสู่ปลายประสาทที่ปรากฏเหมือนขน (คือเซลล์ขน) ในหูชั้นในซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงกลในระดับความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์[6]โดยแตกต่างกันพอสมควรระหว่างบุคคลการได้ยินเสียงความถี่สูงจะเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้นหูหนวกเป็นการไม่ได้ยินหรือมีความบกพร่องในการได้ยิน เสียงสามารถตรวจจับโดยเป็นความสั่นสะเทือนผ่านร่างกายได้เช่นกันคือผ่านระบบรับความรู้สึกทางกายเสียงความถี่ต่ำที่สามารถได้ยินอาจตรวจจับได้โดยวิธีนี้คนหูหนวกบางพวกสามารถกำหนดทิศทางและตำแหน่งของแรงสั่นสะเทือนผ่านเท้าของตน[7]

การลิ้มรส

ดูบทความหลักที่: การรับรู้รส

การลิ้มรสก็เป็นการรับรู้ที่รู้จักกันดีอย่างหนึ่งในประสาทสัมผัส 5 อย่างหมายถึงสมรรถภาพในการตรวจจับรสของสิ่งต่าง ๆ เช่นอาหาร เกลือแร่ และสารพิษเป็นต้นแต่พึงสังเกตว่า "ความอร่อย" ของอาหารนั้นมักจะหมายถึงความรู้สึกที่ได้จากประสาทสัมผัสหลายอย่างรวม ๆ กันรวมทั้งรสชาติ กลิ่น สัมผัส และอุณหภูมิมนุษย์รับรสชาติจากอวัยวะรับความรู้สึกที่เรียกว่า ตุ่มรับรส (taste bud) หรือ gustatory calyculi ซึ่งมีอยู่ที่ผิวด้านบนของลิ้นเป็นต้นมีรสหลัก ๆ 5 รสคือ หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม และอูมามิ (รสกลมกล่อม)รสอย่างอื่น ๆ เช่นรสแคลเซียม[8][9] และรสกรดไขมันอิสระ (free fatty acids)[10] ก็อาจรับรู้ได้แต่ยังไม่ได้การยอมรับโดยทั่วไป

การได้กลิ่น

ดูบทความหลักที่: การได้กลิ่น

การได้กลิ่นเป็นประสาทสัมผัสเชิงเคมีอย่างหนึ่งและไม่เหมือนการลิ้มรส มีเซลล์รับกลิ่นเป็นร้อยชนิด (388 ชนิดโดยแหล่งข้อมูลหนึ่ง[11]) แต่ละตัวทำปฏิกิริยาต่อโมเลกุลที่มีลักษณะโดยเฉพาะ ๆโมเลกุลมีกลิ่นมีลักษณะต่าง ๆ มากมายและกระตุ้นเซลล์รับกลิ่นเฉพาะอย่างในระดับต่าง ๆการตอบสนองของเซลล์รับกลิ่นหลาย ๆ ตัวที่มารวมกัน นำไปสู่การรับรู้ว่าเป็นกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่นเป็นตัวแปลผลของข้อมูลกลิ่นในระบบรับกลิ่น เซลล์รับกลิ่นในจมูกมนุษย์ต่างกับเซลล์ประสาทในที่อื่น ๆ เพราะมีอายุจำกัดและต้องสร้างทดแทนใหม่เสมอ ๆความไม่สามารถรู้กลิ่นเรียกว่า ภาวะเสียการรู้กลิ่น (anosmia) มีเซลล์ประสาทในจมูกบางส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ฟีโรโมนโดยเฉพาะ[12]

สัมผัส

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การถูกต้องสัมผัสเป็นความรู้สึกที่เริ่มจากเซลล์รับความรู้สึก ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีอยู่ในผิวหนังรวมทั้งปุ่มขน (hair follicle) แต่ก็มีอยู่ที่ลิ้น คอ และเยื่อเมือกด้วยมีตัวรับแรงกลที่ตอบสนองต่อแรงกดแบบต่าง ๆ (แบบหนัก แบบผ่าน ๆ แบบคงที่ เป็นต้น)ความรู้สึกคันที่เกิดจากแมลงกัดหรือภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่โดยเฉพาะและอยู่ที่ผิวหนังและในไขสันหลัง[13] การเสียหรือความเสื่อมความรู้สึกสัมผัสเรียกว่า อาการไม่รู้สึกสัมผัส (tactile anesthesia)ส่วนอาการความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) เป็นความรู้สึกจักจี้ เหน็บชา ร้อนคัน หรือเหมือนถูกเข็มจิ้ม เป็นผลของความเสียหายทางประสาท โดยอาจเป็นแบบถาวรหรือชั่วคราว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย คอเคลีย (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้งหลอดกึ่งวงกลม (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) saccule และ utricle ซึ่งทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท สืบค้า ประสาท ตันประเสริฐ ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทสัมผัส http://www.vicdeaf.com.au/files/editor_upload/File... http://www.physpharm.fmd.uwo.ca/undergrad/senseswe... http://hypertextbook.com/facts/2003/ChrisDAmbrose.... http://www.livescience.com/2737-surprising-impact-... http://www.nature.com/nature/journal/v401/n6756/fu... http://www.nytimes.com/2010/04/27/science/27gene.h... http://www.roblesdelatorre.com/gabriel/GR-IEEE-MM-... http://www.sciencedaily.com/releases/2008/08/08082... http://www.scribd.com/doc/32909/Sensing-or-feeling... http://www.unisci.com/stories/20011/0227013.htm