การรักษาบำบัด ของ ประสาทหลอนเสียงดนตรี

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีหรือยาที่ใช้บำบัดรักษาอาการหลอนเสียงดนตรีแต่มีเค้สเดี่ยว ๆ ที่แพทย์สามารถลดหรือกำจัดอาการหลอนไปได้ยาทีใช้ได้ผลเป็นยารักษาโรคจิต (neuroleptics) ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) และยากันชัก (anticonvulsive) บางประเภทยกตัวอย่างเช่น มีคนไข้โรคซึมเศร้าที่มีอาการหลอนเสียงดนตรีลดลงเมื่อใช้ยาแก้ซึมเศร้า[1] ส่วนนักวิจัยซานเชสรายงานว่า นักวิจัยบางท่านเสนอว่า การใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง (hearing aid) อาจช่วยอาการหลอนให้ดีขึ้น[7] พวกเขาเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่ออาการหลอนคือที่เงียบทำให้เกิดอาการหลอนมากกว่าที่มีเสียง[6][13][14]

คนไข้ของ น.พ.โอลิเวอร์ แซ็กส์ คือ นาง O’C รายงานว่าตนอยู่ภายใน “มหาสมุทรแห่งดนตรี“แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะอยู่ในห้องที่เงียบ เป็นอาการหลอนที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือเนื้อตายเหตุขาดเลือด (infarction) ในสมองกลีบขมับซีกขวาภายหลังการบำบัดรักษาที่แก้อาการหลอน นางได้กล่าวว่า“ฉันคิดถึงเพลงเก่า ๆ สมัยนี้มีเพลงเยอะแยะ ฉันจึงไม่สามารถจำเพลงเหล่านั้นได้มันเหมือนกับได้คืนส่วนเล็ก ๆ ของวัยเด็กมาอีกครั้งหนี่ง”คุณหมอแซ็กส์รายงานถึงหญิงวัยชราอีกคนหนึ่งคือนาง O’M ผู้มีหูตึงและได้ยินเสียงดนตรีเมื่อบำบัดรักษาด้วยยากันชัก (anticonvulsive) อาการหลอนก็ยุติไปแต่เมื่อถามนางว่า คิดถึงเสียงดนตรีเหล่านั้นบ้างไหม นางบอกว่า "ถึงตายก็ไม่เอาอีก"[15]

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทหลอนเสียงดนตรี http://www.biomedsearch.com/attachments/00/23/96/4... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1027453 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1557851 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10932294 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15546592 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16889667 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18327022 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20629118 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21625772 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2180526