สาเหตุ ของ ประสาทหลอนเสียงดนตรี

นักวิจัยประสบความสำเร็จในการระบุองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการนี้คือ นักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ได้รวบรวมบทความและกรณีศึกษาเกี่ยวกับอาการนี้เป็นจำนวนมากแล้วจำแนกสมุฏฐานของโรคออกเป็น 5 จำพวก คือ

  • หูตึง (Hypoacusis)
  • โรคทางจิตเวช (Psychiatric Disorders)
  • รอยโรคในสมองเฉพาะส่วน
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Intoxication)

หูตึง

หูตึง (Hypoacusis) กำหนดโดยความบกพร่องทางการได้ยินหรือหูหนวกภาวะหูตึงเป็นสมุฏฐาน 1 ใน 5 ของอาการเสียงดนตรีหลอนและสามัญที่สุดในเคสที่นักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ทำการปริทัศน์[1] ตามงานวิจัยของซานเชสและคณะในปี ค.ศ. 2011 มีนัยที่บอกว่า รอยโรคในพอนส์อาจเปลี่ยนการทำงานของระบบประมวลข้อมูลเสียงในระบบประสาทกลางทำให้เกิดภาวะหูตึงและประสาทหลอนเสียงดนตรี[6][7]

โรคทางจิตเวช

ในปี ค.ศ. 2006 นักวิจัยจานะคีระมันและคณะแสดงเค้สของหญิงอายุ 93 ปีที่มีโรคซึมเศร้าผู้ประสบกับประสาทหลอนเสียงดนตรีในขณะที่กำลังบำบัดด้วยการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) นักวิจัยพบว่า อาการประสาทหลอนมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอาการซึมเศร้าของคนไข้และเกิดจากการบำบัดโดย ECTคนไข้ไม่มีความผิดปกติทางการได้ยินซึ่งบอกเป็นนัยว่า อาการนี้สามารถเกิดจากเหตุต่าง ๆ รวมทั้งความเจ็บป่วยทางจิตเวชหลังจากที่สำเร็จการบำบัด อาการประสาทหลอนของคนไข้ก็หายไป ซึ่งบอกเป็นนัยว่า สามารถเป็นอาการแบบเฉียบพลันแต่ชั่วคราว[8]

ตามนักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ โรคจิตเวชอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอนรวมทั้งโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าคนไข้โรคจิตเวชประสบอาการหลอนเสียงดนตรีเพราะอาการโรคจิตของตนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องแต่มีบางกรณีที่เกิดขึ้นแม้ไม่มีอาการทางจิตอย่างอื่นและยังมีกรณีที่น้อยมากที่เกี่ยวข้องกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder)[1] อีกด้วย (แต่นักวิจัยเฮอร์เมชพบอาการนี้ใน 41% ของคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำ[9])

รอยโรคในสมองเฉพาะส่วน

ในบางกรณีของคนไข้ที่เอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ทำการศึกษา รอยโรคที่คนไข้มีหลัก ๆ อยู่ในคอร์เทกซ์กลีบขมับแต่ว่า ตำแหน่งโดยเจาะจงและซีกสมอง (ซ้ายหรือขวา) ต่าง ๆ กันไปเค้สรอยโรคเฉพาะในสมองเกิดร่วมกันความบกพร่องทางการได้ยิน (ดูหูตึง)อาการชักและความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท[1] มีหลายกรณีที่คนไข้ที่มีรอยโรคที่พอนส์ด้านบน (dorsal) เหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือสมองอักเสบ เกิดอาการนี้แบบฉับพลันซึ่งอาจเกิดจากการขาดการติดต่อกันระหว่างคอร์เทกซ์รับความรู้สึกกับ reticular formation[10]

โรคลมชัก

การทำงานของสมองเมื่อมีอาการเสียงดนตรีหลอนในคนไข้โรคลมชักเกิดขึ้นที่สมองกลีบขมับซีกซ้ายหรือขวา[1] ในกรณีหนึ่งที่วิลเลียมส์และคณะได้ทำการศึกษาในปี ค.ศ. 2008คนไข้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านซ้ายออก (left temporal lobectomy)เพื่อรักษาโรคลมชัก และได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการเสียงดนตรีหลอนหลังการผ่าตัดคนไข้ยังมีองค์ความเสี่ยงหลายอย่างอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นเหตุของอาการหลอนรวมทั้ง การทำหน้าที่ผิดปกติทางจิตประสาท (neuropsychiatric dysfunction) และอาการมีเสียงในหู (tinnitus)[11]

การเมายา

อาการเมายา (หรือความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) เป็นเหตุของอาการหลอนในกรณีมีจำนวนน้อยความเมายานำไปสู่อาการขาดยาหรือโรคสมองอักเสบ (inflammatory encephalopathy)ซึ่งเป็นเหตุสำคัญต่ออาการประสาทหลอนยาที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการประสาทหลอนก็คือsalicylates, benzodiazepines, triazolam, pentoxifylline, โพรพาโนลอล, clomipramine, แอมเฟตามีน, quinine, imipramine, phenothiazine, carbamazepine, กัญชา, พาราเซตามอล, phenytoin, procaine, และสุรา. ยาสลบทั่วไป (general anesthesia) ก็มีความสัมพันธ์กับอาการประสาทหลอนนี้ด้วย[1]

ในกรณีศึกษาโดยกอนดิมและคณะในปี ค.ศ. 2010 คนไข้หญิงวัย 77 ปีผู้มีโรคพาร์กินสันได้รับยา amantadine หลังจากที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นมาปีหนึ่งหลังที่เริ่มใช้ยา เธอก็เริ่มประสบอาการเสียงดนตรีหลอนเป็นเพลง 4 เพลงเธอได้ยินเสียงดนตรีนั้นจนกระทั่ง 3 วันให้หลังจากการเลิกยาแม้ว่า คนไข้จะได้ใช้ยาอื่นด้วยในขณะเดียวกันแต่ว่า ช่วงเวลาที่อาการหลอนเกิดขึ้นและหยุดลงบอกเป็นนัยว่า amantadine เป็นตัวช่วยยาอื่น ๆหรือเป็นยาที่ก่อให้เกิดอาการหลอนเองแม้ว่า กรณีนี้จะไม่เกี่ยวกับการเมายาแต่ก็เป็นกรณีที่ให้ไอเดียว่า คนไข้โรคพาร์กินสันที่รับการบำบัดโดยใช้ยาบางประเภทอาจเกิดอาการหลอนเสียงดนตรี[12]

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทหลอนเสียงดนตรี http://www.biomedsearch.com/attachments/00/23/96/4... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1027453 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1557851 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10932294 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15546592 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16889667 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18327022 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20629118 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21625772 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2180526