กองทัพสยาม ของ ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถประทับบนเครื่องบินในปี 1911

เมื่อสงครามประทุขึ้นในเดือนสิงหาคม 1914 กองทัพสยามมีทหารประจำอยู่ทั้งหมด 30,000 นาย กระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านทางการทหารอย่างกระทรวงกลาโหมถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1892 รัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยเดียวกันนั้น ได้มีการยกเลิกทาส แต่ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลสยามก็ต้องการคนเพิ่มในกองทัพจึงได้มีการเกณฑ์ทหาร ชายชาวสยามจะต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพ 2 ปี และ เป็นกำลังพลสำรอง 15 ปี ส่วนในด้านผู้นำของกองทัพ กษัตริย์เป็นผู้บัญชาการสูงสุดที่ได้รับการแนะนำจากเสนาบดีของกระทรวงกลาโหม สงครามนั้นทำให้กระทรวลกลาโหมได้งบประมาณมากที่สุด เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถทรงเป็นผู้บัญชาการของกรมเสนาธิการทหารบก พระองค์ทรงทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม และ ทรงมีหน้าที่ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสยามกับกองทัพต่างชาติ กองทัพบกของสยามในช่วงของพระองค์ได้พัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากพระองค์ได้ทำการบูรณะกองทัพสยามให้เหมือนกับกองทัพชาติตะวันตก[17][18]

ใน ค.ศ. 1911 กองทัพบกได้ถูกแบ่งเป็น 3 กองทัพน้อย โดยแต่ละกองทัพน้อยประกอบไปด้วย 3 กองพล และ 1 กองพลอิสระ กองทัพบกในช่วงประทุของสงครามไม่ได้มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยมากนัก กองทัพใช้ปืนใหญ่สนามที่ล้าสมัยของจักรวรรดิเยอรมัน ไม่มีพาหนะเคลื่อนที่เป็นหลักเป็นเป็นแหล่ง แต่จะจ้างเกวียนของพลเรือนแทน ในบางครั้งที่ฝนตกพื้นแฉะ จะมีการขี่หลังควายเพื่อการเคลื่อนพล หลังจากที่สยามประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางแล้ว ก็เห็นได้ว่าในปี 1918 กองทัพสยามที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสได้ใช้รถบรรทุกในการเคลื่อนพล และ ขนอาวุธยุทโธปกรณ์ ส่วนในด้านของกองทัพเรือก็ล้าสมัยไม่ต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีการบูรณะ และ สรรหาจัดซื้อเรือรบเข้ามา การป้องกันตามชายฝั่งของประเทศไม่ได้แข็งแรงมากนัก ในด้านของกองทัพอากาศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ผู้ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงมีพระประสงค์ที่จะนำอากาศยานมาเป็นกำลังสนับสนุนของกองทัพบกหลังจากที่พระองค์ได้ศึกษาดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการสร้างสนามบินดอนเมืองขึ้นมาในปี 1914 ใช้เป็นสนามบินการทหาร ในปี 1916 กองอากาศยานสยามประกอบไปด้วยนักบิน 5 คน, นักบินระหว่างการฝึก 6 คน และ อีกประมาณ 60 คน เป็นผู้ช่วยภาคพื้นดิน และ ช่างซ่อม มีการฝึกตามแบบมาตราฐานของนักบินฝรั่งเศส เครื่องยนต์นำเข้าจากฝรั่งเศสแต่เครื่องบินสร้างขึ้นภายในสยาม[19][20]

ความขัดแย้งระหว่างกองเสือป่ากับกองทัพสยาม

จากการที่พระมงกุฏเกล้าได้ทรงสถาปนากองกำลังกึ่งทหารที่มีชื่อว่ากองเสือป่าขึ้นในปี 1911 ก็ทำให้มีความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับฝ่ายพระมหากษัตริย์ กล่าวก็คือนายทหารส่วนมากของกองทัพคิดว่าพระมงกุฏเกล้าจะใช้อำนาจที่มีต่อกองเสือป่าในการลดอิทธิพลของกองทัพ และ ทำให้กองทัพหมดอำนาจลงอย่างสิ้นเชิง นายทหารบางกลุ่มที่ไม่พอใจในการกระทำของพระมงกุฏเกล้าได้รวบรวมกลุ่มปัญญาชนกลุ่มหนึ่งให้เข้ามาร่วมการกบฏด้วย ซึ่งพวกเขามีจุดประสงค์ก็คือการปฏิวัติรัฐบาลของพระมงกุฏเกล้า และ ทำการบีบบังคับให้พระมงกุฏเกล้ามอบรัฐธรรมนูญเพื่อให้สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการปฏิวัติครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ กบฏ ร.ศ. 130 แต่แผนการแตกเสียก่อน และ ผู้ก่อการถูกจับกุมตัว ในภายหลังนั้นพระมงกุฏเกล้าทรงพยายามที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพ และ กองเสือป่าดีขึ้น ด้วยการกระจายอำนาจให้ทั้งสองเท่า ๆ กัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือกองทัพคงเป็นกองกำลังหลักของสยามเช่นเดิม แต่ในทางกลับกันนั้นกองเสือป่าถูกลดอิทธิพลลงอย่างสิ้นเชิง[21]