ภูมิหลัง ของ ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ประวัติศาสตร์ไทย
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง ~2500 ปีก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ~2000 ปีก่อน พ.ศ.
อาณาจักรมอญ-เขมร

อาณาจักรของคนไท

หลังกรุงศรีอยุธยา
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
แบ่งตามหัวข้อ
สถานีย่อยประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ในชุดนายพลทหารอังกฤษแห่งกรมทหารราบเบาเดอรัม (ค.ศ. 1917)

ในช่วงต้นศตวรรษ 20 จักรวรรดิอังกฤษ, ฝรั่งเศส และ ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้มีอิทธิพลเหนือทวีปเอเชีย อาณานิคมเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประเทศยุโรปเหล่านั้น เพราะถือว่าเป็นแหล่งทรัพยากรที่ทำให้การค้าขายของพวกเขาดำเนินไปได้ด้วยดีและมั่นคง อาณานิคมในเอเชียก็ถือเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งเนื่องจากเป็นแหล่งที่ทำให้ประเทศแม่อย่างเช่นอังกฤษ สามารถมีอิทธิพลเหนือประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้ ลัทธิจักรวรรดินิยมเป็นอีกประเด็นที่ทำให้สยามในสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสียดินแดนลาวและกัมพูชาให้กับประเทศยุโรป การที่สยามไม่ถูกยึดครองเป็นอาณานิคมเลยแต่รอบด้านของประเทศกลับกลายเป็นอาณานิคมจนหมด ก็ย่อมทำให้สยามกลายเป็นรัฐที่ต้องการลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจของชาติยุโรปแล้วก็ทำการบูรณะประเทศชาติให้มีการพัฒนามากขึ้นเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น เศรษฐกิจของสยามในตอนนั้นยังคงพึ่งพาได้เพียงแค่การส่งออกข้าวและพืชพันธุ์ เนื่องจากการอุตสหกรรมยังไม่ได้ก้าวหน้ามากนัก[9][10] เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับบรมราชาภิเษก พระองค์ก็ทรงปกครองสยามตามแบบอังกฤษ เนื่องจากช่วงที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นพระองค์ได้ทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารที่นั้นและเข้ารับราชการทหารในกรมทหารราบอังกฤษ วัฒนธรรม, ประเพณี และ สังคมที่ประเทศอังกฤษหล่อหลอมให้พระองค์ทรงมีความมั่นใจและยืนหยัดที่จะใช้การปกครองในแบบอังกฤษ[9]

บุคคลที่สนับสนุนอังกฤษ และ ฝรั่งเศส

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบทบาทสำคัญที่นำพาสยามเข้าสู่สงคราม ช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงเสด็จไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็ทรงเสด็จไปศึกษาต่อที่จักรวรรดิรัสเซียจากการเชิญชวนของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่เป็นพระสหายคนสำคัญของพระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ใน ค.ศ. 1902 และทรงได้รับเข้าประจำการในกรมทหารม้าฮุสซาร์ของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย เช่นเดียวกันกับพระเชษฐาของพระองค์ พระองค์ทรงได้รับอิทธิพลของอังกฤษและรัสเซีย ก็เลยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตัวพระองค์ทรงมีความเห็นที่จะเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีทหารบกในช่วงสงครามและทรงช่วยเหลือกองทัพสยามในฝรั่งเศสในด้านต่าง ๆ ทั้งยังทรงก่อตั้งกองกำลังอากาศขึ้นมาโดยเป็นกองย่อยของกองทัพบก ทำให้สยามกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางทหารในทวีปเอเชีย[9]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระปิตุลาของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ปี 1885 พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ดำเนินการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมมาตั้งแต่สมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีนโยบายที่เข้มงวดต่อชาวต่างชาติ และ ความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ พระองค์ทรงเป็นพระสหายคนสำคัญของ เซอร์ เดริ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงดำริว่าอังกฤษมีอิทธิพลเหนือแผ่นดินสยามมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป[11]

บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมสงคราม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ และ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ทั้งสามพระองค์เป็นพระอนุชาของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสำเร็จการศึกษาที่จักรววรดิเยอรมันและได้รับการฝึกฝนในแบบทหารเยอรมัน พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ทรงเสกสมรสกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา สตรีชาวเยอรมัน เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ทรงมีตำแหน่งเป็นร้อยเอกแห่งกองทัพปรัสเซีย การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจักรวรรดิเยอรมันไม่ได้หยุดถึงแม้สยามจะเป็นคู่สงครามกับเยอรมันก็ตาม เนื่องจากพระอนุชาทั้งสามพระองค์ยึดมั่นและมีแรงบันดาลใจในการปกครองบ้านเมืองมาจากจักรวรรดิเยอรมัน ทั้งสามพระองค์จึงมีพระราชประสงค์ที่ไม่เห็นด้วยกับพระเชษฐา[12]

ความสัมพันธ์กับประเทศยุโรป

ปีแยร์ เลอแฟร์-เวปองเตลิสในจังหวัดพระนคร (ค.ศ. 1893)

การขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันทำให้สยามต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โลกในคริสต์ศตวรรษ 20 นี่ก็หมายความว่าแรงผลักดันที่จะทำให้สยามเข้าร่วมสงครามส่วนหนึ่งก็มาจากความสัมพันธ์ระหว่างสยามและประเทศคู่สงครามในยุโรป ด้านล่างคือรายละเอียดบุคคลจากชาติในสงครามที่พำนักอยู่ในสยาม

  • เซอร์ เฮอร์เบิร์ต เดริ่ง (Sir Herbert Dering) อัครราชทูตจากประเทศอังกฤษที่ได้รับมอบหมายมาประจำอยู่ที่สยามตั้งแต่ ค.ศ. 1915 จนถึง 1919 เดริ่งได้สร้างอิทธิพลที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของสยาม เขาเป็นบุคคลชาวต่างชาติที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นต่อองค์พระมหากษัตริย์มากที่สุด
  • ปีแยร์ เลอแฟร์-เวปองเตลิส (Pierre Lefèvre-Pontalis) ผู้ปกครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ได้รับหน้าที่เป็นอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยามในปี 1912 ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและสยามได้ตกต่ำลงหลังจากการเสียดินแดนของสยาม ฝรั่งเศสก็ยังเป็นชาติยุโรปอีกชาติหนึ่งที่ยังคงมีอิทธิพลต่อราชวงศ์จักรีและสยามประเทศ ปีแยร์เป็นพระสหายคนสำคัญของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เพราะว่าทั้งสองมีประวัติสำเร็จการศึกษาที่จักรวรรดิรัสเซีย

ถึงแม้ว่าสยามจะได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสและอังกฤษมามากก็ตาม แต่ด้านการค้าจักรวรรดิเยอรมันก็ถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสยาม เยอรมันไม่ได้มีอิทธิพลในทวีปเอเชียมากนักถ้าเทียบกับฝรั่งเศสและอังกฤษที่มีอิทธิพลจากการขยายอาณานิคมเกือบทุกภูมิภาคของเอเชีย เยอรมันเองก็ต้องการที่จะขยายอิทธิพลมาทางเอเชียตะวันออกบ้างหลังจากที่ได้เห็นการขยายอิทธิพลอำนาจของฝรั่งเศสและอังกฤษ สยามที่ได้เซ็นต์สัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับฝรั่งเศสและอังกฤษก็กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของเยอรมัน เยอรมันมองว่าสยามเป็นอีกประเทศ ๆ หนึ่งที่พวกเขาสามารถเข้ามาค้าขายด้วยได้โดยไม่มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งใด ๆ ต่อฝรั่งเศสและอังกฤษ นักลงทุนเยอรมันหันมาสนใจสยามและทำการลงทุน มูลค่ากาารค้าขายและการลงทุนระหว่างสยามและเยอรมันมีมากถึง 22 ล้านไรชส์มาร์ค ($5.2 ล้าน) ต่อปี โดยเงินส่วนมากมาจากโรงแรม, ร้านตัดผม, ร้านอาหาร, ร้านขายยา และ บริษัทประกัน ที่นักลงทุนชาวเยอรมันเข้ามาลงทุนในสยาม ชาวเยอรมันเข้ามาพำนักในสยามมากขึ้นเรื่อย ๆ และ จังหวัดพระนครก็กลายเป็นท่าเรือสำคัญท่าเรือหนึ่งของเยอรมัน นอกจากนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศ อย่างเช่นรางรถไฟ และ เครื่องโทรเลข ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีของเยอรมัน[9]