ประชากรศาสตร์ ของ ประเทศสเปน

ประชากร

การกระจายตัวของประชากรสเปนตามเขตภูมิศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีประชากร 44,108,530 คน ความหนาแน่นของประชากร 87.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (220 คนต่อตารางไมล์) ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นประชากรของประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ และการกระจายตัวในแต่ละภูมิภาคก็ยังไม่เท่ากัน (ยกเว้นในจังหวัดที่อยู่รอบเมืองหลวงมาดริด) โดยบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดจะอยู่ตามชายฝั่งทะเล

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 25 ปีหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อัตราการเกิดของประชากรได้ลดลงอย่างกะทันหัน โดยอัตราเจริญพันธุ์ของสเปนอยู่ที่ 1.29[22] (จำนวนบุตรที่ผู้หญิงจะมีโดยเฉลี่ยตลอดอายุขัย) ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดในโลก ส่วนอัตราการรู้หนังสือในปี พ.ศ. 2546 ชาวสเปนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นร้อยละ 97.9 ของประชากรทั้งหมด[22]

เขตมหานคร (metropolitan areas) หลัก ๆ ในประเทศสเปน (พ.ศ. 2548)รถรางขนาดเบาในเมืองบาร์เซโลนา

เมืองที่มีประชากรมากที่สุด (ไม่นับรวมในเขตมหานคร)

อันดับที่เมืองแคว้นจำนวนประชากร (คน)[23]
1มาดริด มาดริด3,128,600
2บาร์เซโลนา กาตาลุญญา1,605,602
3บาเลนเซีย บาเลนเซีย805,304
4เซบิยา อันดาลูซิอา704,414
5ซาราโกซา อารากอน649,181
6มาลากา อันดาลูซิอา560,631
7มูร์เซีย ภูมิภาคมูร์เซีย416,996
8ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย หมู่เกาะคะแนรี377,056
9ปัลมาเดมายอร์กา หมู่เกาะแบลีแอริก375,048
10บิลบาโอ ประเทศบาสก์354,145
11กอร์โดบา อันดาลูซิอา322,867
12อาลิกันเต บาเลนเซีย322,431
13บายาโดลิด กัสติยาและเลออน319,943
14บีโก กาลิเซีย293,255
15ฆิฆอน อัสตูเรียส274,472
16โลสปีตาเลตเดโยเบรกัต กาตาลุญญา248,150
17อาโกรุญญา กาลิเซีย243,320
18กรานาดา อันดาลูซิอา237,929
19บีโตเรีย-กัสเตย์ซ ประเทศบาสก์227,568
20ซานตากรุซเดเตเนรีเฟ หมู่เกาะคะแนรี223,148

การย้ายถิ่นเข้า

ผู้ย้ายเข้ามาในสเปนส่วนใหญ่มาจากลาตินอเมริกา (ร้อยละ 38.75) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 16.33) มาเกร็บ (ร้อยละ 14.99) และแอฟริกากึ่งสะฮารา (ร้อยละ 4.08)[24] นอกจากนี้ ยังมีผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในสเปนที่เป็นชาวยุโรปประเทศอื่น ๆ อีกบ้างบริเวณชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะแบลีแอริก โดยมาใช้ชีวิตหลังปลดเกษียณหรือทำงานทางไกล

วิวัฒนาการทางประชากรศาสตร์ของสเปนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจากรัฐบาลสเปน ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีผู้มีถิ่นที่อาศัยเป็นชาวต่างชาติ 3.7 ล้านคน ประมาณ 5 แสนคนเป็นชาวโมร็อกโก อีก 5 แสนคนเป็นชาวเอกวาดอร์ กว่า 2 แสนคนเป็นชาวโรมาเนีย และประมาณ 2 แสน 7 หมื่นคนเป็นชาวโคลอมเบีย ชุมชนต่างชาติที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ชาวอังกฤษ (ร้อยละ 6.09 ของผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งหมด) ชาวอาร์เจนตินา (ร้อยละ 6.10) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 3.58) และชาวโบลิเวีย (ร้อยละ 2.63) เฉพาะในปี พ.ศ. 2548 เพียงปีเดียว มีประชากรที่ย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศถึง 7 แสนคน

สเปนมีอัตราการเข้าเมืองมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากประเทศไซปรัส[25] ซึ่งมีเหตุผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แนวพรมแดนที่ยังรั่วไหล การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรมและภาคการก่อสร้างที่ต้องการแรงงานค่าจ้างต่ำเป็นจำนวนมาก

เชื้อชาติ

ประชากรสเปนส่วนใหญ่มีลักษณะผสมระหว่างชาติพันธุ์นอร์ดิกและชาติพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน ประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวสเปน มีจำนวนมากที่สุดประมาณร้อยละ 74 รองลงมาเป็นชาวกาตาลา ชาวกาลิเซีย และชาวบาสก์ตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]

ชนกลุ่มน้อย

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศสเปน คือ พวกคีตาโนส (Gitanos) ซึ่งเป็น ชาวยิปซีกลุ่มหนึ่ง

ประเทศสเปนเป็นแหล่งพักพิงของประชากรสายเลือดแอฟริกาจำนวนมาก ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากประชากรในอดีตอาณานิคม (โดยเฉพาะอิเควทอเรียลกินี) แต่ผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสเปนจากหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกากึ่งสะฮาราและแคริบเบียนก็มีจำนวนสูงกว่า และยังมีชาวสเปนเชื้อสายเอเชียจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่จะมีสายเลือดชาวจีน ชาวฟิลิปิโน ชาวตะวันออกกลาง ชาวปากีสถาน และชาวอินเดีย ส่วนชาวสเปนสายเลือดลาตินอเมริกาก็มีจำนวนมากเช่นกันและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[ต้องการอ้างอิง]

ประชากรยิวกลุ่มที่สำคัญถูกขับไล่หรือถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) พร้อมกับการตั้งศาลศาสนาสเปน แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวยิวบางส่วนก็ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในสเปน โดยอพยพเข้ามาจากอดีตอาณานิคมสแปนิชโมร็อกโก หลบหนีการกวาดล้างจากพวกนาซี และอพยพมาจากอาร์เจนตินา ปัจจุบันนี้เมลียามีอัตราส่วนชาวยิว (และชาวมุสลิม) สูงที่สุดในประเทศ และกฎหมายของสเปนยังอนุญาตให้ชาวยิวกลุ่มเซฟาร์ดี (Sephardi Jews) สามารถอ้างสิทธิการเป็นพลเมืองของรัฐได้

ภาษา

ภาษาต่าง ๆ ในสเปน (แบ่งอย่างง่าย)
  กาตาลา ภาษาทางการร่วม
  กาลิเซีย ภาษาทางการร่วม
  บาสก์ ภาษาทางการร่วม
  อัสตูเรียส ไม่เป็นภาษาทางการ
  อารากอน ไม่เป็นภาษาทางการ
  อารัน ภาษาทางการร่วม (ภาษาถิ่นของอ็อกซิตัน)

แม้ว่ารัฐธรรมนูญของสเปนจะยืนยันอำนาจอธิปไตยของชาติก็ตาม แต่ก็ยังรับรองเชื้อชาติอื่น ๆ ที่มีมาในประวัติศาสตร์ด้วย

ทั้งภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย ภาษาอารัน (อ็อกซิตัน) และภาษากัสติยาต่างสืบทอดมาจากภาษาละติน บางภาษาก็มีภาษาถิ่นของตนเอง ซึ่งภาษาถิ่นบางภาษาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้พูดภาษาถิ่นนั้นให้เป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหากด้วย กรณีพิเศษได้แก่ ภาษาบาเลนเซีย (Valencian) เป็นชื่อที่เรียกภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษากาตาลา ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นบาเลนเซีย

นอกจากนี้ ยังมีภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ คือ ภาษาอัสตูเรียส / เลออน (Asturian / Leonese) พูดกันในแคว้นอัสตูเรียสและบางส่วนของจังหวัดเลออน เมืองซาโมรา และเมืองซาลามังกา ภาษาเอซเตรมาดูรา (Extremaduran) ใช้กันในจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดซาลามังกา (ทั้งสองภาษาดังกล่าวสืบทอดมาจากภาษาถิ่นในอดีตของภาษาอัสตูร์-เลออน) ภาษาอารากอน (Aragonese) มีผู้พูดกันในพื้นที่บางส่วนของแคว้นอารากอน; ภาษาฟาลา (Fala) ยังมีผู้พูดอยู่บ้างในหมู่บ้านสามแห่งของแคว้นเอซเตรมาดูรา และภาษาโปรตุเกส (ภาษาถิ่น) ที่ใช้กันในบางเมืองของแคว้นเอซเตรมาดูราและแคว้นกัสติยา-เลออน อย่างไรก็ตาม ภาษาเหล่านี้ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางราชการอย่างที่ภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย และภาษาบาสก์มี[26]

ภาษาถิ่นอันดาลูซิอา (Andalusian dialect) หรือ อันดาลุซ (Andaluz) พูดในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอาและยิบรอลตาร์ โดยมีความแตกต่างจากภาษากัสติยาในเรื่องการออกเสียงหลายประการ ซึ่งบางประการได้เข้าไปมีอิทธิพลในภาษาสเปนแบบลาตินอเมริกา ข้อแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ในเรื่องสัทวิทยา (phonology) เช่นเดียวกับการใช้ทำนองเสียง (intonation) และคำศัพท์ (vocabulary)

ในย่านท่องเที่ยวตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะ นักท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ และผู้ทำงานท่องเที่ยวจะพูดภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ผู้ย้ายถิ่นชาวแอฟริกาและผู้สืบเชื้อสายชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจะพูดภาษายุโรปที่เป็นทางการของบ้านเกิดพวกเขา (ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรตุเกส ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือครีโอลท้องถิ่น)

ศาสนา

อาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (Catedral of Santiago de Compostela) ในแคว้นกาลิเซีย

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ (เช่น เวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2005 ของซีไอเอ ผลการสำรวจอย่างเป็นทางการของสเปน และแหล่งอื่น ๆ) ชาวสเปนร้อยละ 81-94 นับถือศาสนาคริสต์นิกายดังกล่าว ในขณะที่ประมาณร้อยละ 6-19 นับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถือศาสนาใดเลย[27] อย่างไรก็ตาม ชาวสเปนจำนวนมากที่ระบุว่าตนเองเป็นชาวคาทอลิกเนื่องจากได้เข้าพิธีศีลล้างบาปเท่านั้น ไม่ได้เคร่งศาสนาเท่าใดนัก อีกการสำรวจหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) โดยศูนย์สืบสวนทางสังคมวิทยาสเปน[28] แสดงให้เห็นว่าชาวสเปนร้อยละ 54 แทบจะไม่หรือไม่เคยไปโบสถ์เลย ในขณะที่ร้อยละ 15 ไปโบสถ์บางครั้งต่อปี ร้อยละ 10 ไปบางครั้งต่อเดือน และร้อยละ 19 ไปเป็นประจำทุกวันอาทิตย์หรือหลายครั้งต่อสัปดาห์

ชาวคริสต์โปรเตสแตนต์ก็มีเช่นกันในสเปน แต่มีจำนวนน้อยกว่า 5 หมื่นคน เช่น นิกายอีแวนเจลิคัล (Evangelism) ซึ่งนับถือกันในหมู่ชาวยิปซี นิกายมอร์มอน (Mormons) และลัทธิพยานพระยะโฮวาห์ (Jehovah's Witnesses)

คลื่นอพยพในระยะหลังได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมมากขึ้น ซึ่งมีประมาณ 1 ล้านคน ชาวมุสลิมไม่ได้อาศัยอยู่ในสเปนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม การขยายดินแดนอาณานิคมในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตกก็ได้ให้สถานะความเป็นพลเมืองสเปนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในสแปนิชโมร็อกโกและสแปนิชสะฮารา ทุกวันนี้ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในสเปน รองจากศาสนาคริสต์ (นิกายโรมันคาทอลิก) โดยชาวมุสลิมในสเปนคิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด แต่ชาวลาตินอเมริกา ซึ่งมักจะนับถือคาทอลิกอย่างแรงกล้าและเข้ามาพร้อมกับกระแสการอพยพดังกล่าวนี้ ก็ช่วยเพิ่มจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ให้กับศาสนจักรเช่นกัน

ในทางปฏิบัติแล้ว ศาสนายูดายไม่ปรากฏในสเปนจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งชาวยิวได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศอีกครั้ง ปัจจุบันมีชาวยิวในสเปนประมาณ 5 หมื่นคน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เชื่อกันว่าสเปนมีชาวยิวประมาณร้อยละ 8 ในช่วงเวลาก่อนการจัดตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา

กีฬา

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ทัพนักกีฬาสเปนคว้าเหรียญรางวัลไปทั้งหมด 19 เหรียญ (3 เหรียญทอง 11 เหรียญเงิน และ 5 เหรียญทองแดง) อยู่ในอันดับที่ 20[29] และในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) นักกีฬาบาสเกตบอลของสเปนก็ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิปของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ที่ประเทศญี่ปุ่น

ฟุตบอล

การกีฬาในสเปน จุดเด่นที่สุดคือ กีฬาฟุตบอล (fútbol) เช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ทั่วไปในยุโรป โดยมีลาลิกา (La Liga) เป็นลีกสำหรับฟุตบอลอาชีพของประเทศ สโมสรฟุตบอลใหญ่อย่างเรอัลมาดริด (Real Madrid) และบาร์เซโลนา (Barcelona) จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดสืบต่อกันมา ฟุตบอลทีมชาติสเปน (ซึ่งปัจจุบันมี อิเกร์ กาซิยัส (Iker Casillas) เป็นกัปตันทีม) ยังทำผลงานได้ดีในช่วงหลังๆ ซึ่งเคยได้ชัยชนะในการแข่งขันฟุตบอลยูโรในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) และสเปนได้แชมป์ยูโรปครั้งล่าสุดเมื่อปี 2008 ชนะทีมฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีในรอบชิงชนะเลิศ โดยผู้ยิงประตูชันคือ เฟอร์นานโด ตอร์เรส แต่แล้ว ในปี2010 ฟุตบอลทีมชาติสเปน ก็ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยชนะทีมชาติ เนเธอร์แลนด์ 1-0 จากการยิงของ อันเดรียส อีเนียสต้า นักเตะทีมบาร์เซโลนา ซึ่งทำให้สเปน เป็นชาติที่ 8 ที่เป็นแชมป์ฟุตบอลโลก และล่าสุด ทีมชาติสเปนนั้น เพิ่งจะคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป(ยูโร 2012)(พ.ศ. 2555) โดยถล่มอิตาลี ทีมร่วมกลุ่มไปถึง 4ประตูต่อ0 ทีมชาติสเปนในฟุตบอลยูโร2012ยังสร้างสถิติใหม่ๆมากมาย เช่น เป็นทีมแรกที่ถล่มคู่ต่อสู้ในนัดชิงชนะเลิศได้ขาดลอยที่สุด , เป็นทีมที่เสียประตูน้อยที่สุด(เสียไปเพียงแค่ลูกเดียวในนัดแรกของกลุ่ม เสมออิตาลี 1-1) เป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์รายการใหญ่ได้ถึงสามครั้งติดต่อกัน ทางด้วน กีฬาเทนนิสนั้น สเปนได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันเดวิสคัป (Davis Cup) ในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) รวมทั้งมีราฟาเอล นาดัล (Rafael Nadal) ชาวสเปนจากแคว้นแบลีแอริกอยู่ในตำแหน่งมือวางอันดับ 2 ของโลก (ก.พ. 2550) ส่วนการแข่งขันจักรยานก็เป็นกีฬาหลักเช่นกัน มีการจัดการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศ คือ บูเอลตาเอสปัญญา (Vuelta a España) และมิเกล อินดูราอิน (Miguel Indurain) จากแคว้นนาวาร์ เป็นหนึ่งในชาวสเปนเพียงห้าคนที่คว้าชัยชนะในการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ (Tour de France) ที่มีชื่อเสียง

มวยสากล

ดูบทความหลักที่: มวยสากลในสเปน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

บาสเก็ตบอล

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

บาสเก็ตบอลถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมรองจากฟุตบอลในสเปน ส่วนใหญ่จะเล่นในสโมสรบาสเกตบอล โดยมีทีมสองยักษ์ใหญ่อย่างเรอัลมาดริด และบาร์เซโลนา

กีฬาสู้วัวกระทิง

การสู้วัวกระทิง

กีฬาสู้วัวกระทิง (bullfighting) เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสเปน แม้ว่าในช่วงหลังมานี้จะได้รับความสนใจลดลงบ้างและถูกองค์กรคุ้มครองสัตว์ต่าง ๆ ต่อต้าน กีฬานี้ก็ยังคงดำรงอยู่ได้อย่างดีในประเทศ ส่วนกีฬาท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เปโลตา (Pelota) ควบคู่กับไฮอาไล (Jai Alai) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเข้ามาในสเปนผ่านทางชาวมัวร์

นอกจากนี้ การแข่งขันกีฬาอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ สเปนยังประสบความสำเร็จในกีฬากรีฑาระยะกลาง (middle distance running) กอล์ฟ และแฮนด์บอลอีกด้วย

ใกล้เคียง

ประเทศสเปน ประเทศสเปนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ประเทศสเปนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2020 ประเทศสเปนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ประเทศสเปนในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 ประเทศสเปนในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ประเทศสเปนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ประเทศสเปนในโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ประเทศสเปนในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ประเทศสเปนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศสเปน http://www.abc.net.au/olympics/2004/results/medalt... http://www.spanishaccommodation.biz http://www.britannica.com/nations/Spain http://www.maps.data-spain.com/ http://www.datesofhistory.com/Spain.index.html http://www.economist.com/countries/Spain/ http://www.economist.com/media/pdf/QUALITY_OF_LIFE... http://www.ethnologue.com/14/show_country.asp?name... http://flickr.com/photos/tags/Spain/clusters/ http://www.gibnet.com/texts/ref1.htm