ระหว่างสงคราม ของ ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง

โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง เผยแพร่โดยกรมโฆษณาการพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นตัวแทนของจอมพลแปลกเข้าเจรจาร่วมกับ ฮิเดะกิ โทโจ ซึ่งมีความเห็นที่จะเข้าร่วมเป็น ฝ่ายอักษะคณะทูตไทยไปยังเยอรมนีนำโดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้รับการรับรองโดย โยเซฟ เกิบเบลส์และโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น มหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ในวันที่ 25 มกราคม 2485 รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[3] ผลทำให้ไทยได้ดินแดนในแหลมมลายูที่เสียให้อังกฤษกลับคืน (จังหวัดมาลัย) ซึ่งในขณะเดียวกัน ในสหรัฐอเมริกา หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่นในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ สมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ

ทางรถไฟสายมรณะ

ดูบทความหลักที่: ทางรถไฟสายมรณะ

ทางญี่ปุ่นก็ได้สร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่าหรือทางรถไฟสายมรณะเพื่อลำเลียงกองทัพไปรบยังพม่า ญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการใน มิถุนายน 2485[10] โดยใช้แรงงานจากเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรในการก่อสร้าง[11] 16 กันยายน 2485 ลงนามข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายพม่า แยกจากทางรถไฟสายใต้ของไทยที่สถานี หนองปลาดุก ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ญี่ปุ่นขอยืมเงินไทย 4 ล้านบาทในการก่อสร้าง และต่อมา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ได้มีข้อบังคับออกตามความในกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ฉบับที่ 7 เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างทางรถไฟ[12]

การร่วมมือทางการทหาร

แผนที่แนวรบพม่า แสดงถึงความขัดแย้งระหว่าง ญี่ปุ่น-ไทย และ สัมพันธมิตร

สำหรับความร่วมมือระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยเกิดขึ้นภายหลังจากการทำ “ข้อตกลงร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทย” เมื่อต้นปี พ.ศ. 2485 ถึงแม้ข้อตกลงฉบับนี้จะใช้คำว่าร่วมรบแต่อันที่จริงแล้ว กองทัพญี่ปุ่นหมายถึงการที่กองทัพไทยจะต้องอยู่ภายใต้การชี้นำของญี่ปุ่น[13] ซึ่งการร่วมรบระหว่างทหารญี่ปุ่นและทหารไทยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้เปรียบในการรบด้านพม่าตลอดจนถึงยูนนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐบาล จอมพล ป. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้ครอบครอง เนื่องจากความเชื่อที่ว่าดินแดนดังกล่าวคือดินแดนที่ไทยสูญเสียให้กับอังกฤษในสมัยล่าอาณานิคม

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ความปรารถนาดังกล่าวของไทยได้รับการตอบสนองจากกองทัพญี่ปุ่นและนำมาสู่การทำ “เค้าโครงในการร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทยต่อจีน” ในเค้าโครงดังกล่าวกองทัพพายัพของไทยซึ่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของญี่ปุ่นโดยมีพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์เป็นแม่ทัพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการบุกพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ได้บุกเข้าไปทางรัฐฉานของพม่าและเข้ายึดเชียงตุงซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองพลที่ 93 ของจีนซึ่งเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 โดยหวังจะรวมดินแดนที่ส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรจำนวนมาก ได้แก่ แคว้นรัฐฉาน (เชียงตุง เมืองพาน), รัฐกะยา รวมไปถึงเมืองตองยีและครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย[3][14] อีกทั้งยังได้เริ่มกำหนดนโยบายต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] แต่ภายหลังจากเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวได้แล้วก็เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกองทัพใหญ่ภาคพื้นทิศใต้ของญี่ปุ่นกับกองทัพพายัพของไทยในเรื่องการครอบครองดินแดนในรัฐฉาน ซึ่งสุดท้ายความขัดแย้งดังกล่าวสิ้นสุดลงภายหลังจากญี่ปุ่นยกเมืองเชียงตุงและเมืองพานให้กับไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2486 เมื่อคราวที่นายพลฮิเดะกิ โทโจ เดินทางมาเยือนกรุงเทพ[15] ส่วนดินแดนอื่นที่กองทัพไทยยึดได้ให้เป็นเขตทหารภายใต้การดูแลร่วมของไทยและญี่ปุ่น แต่ในแง่ปฏิบัติกองทัพไทยไม่มีอำนาจโดยตรงนอกจากการควบคุมของกองทัพประจำพม่าของญี่ปุ่นซึ่งขึ้นตรงต่อกองทัพใหญ่ภาคพื้นทิศใต้อีกที อย่างไรก็ตามรัฐบาลจอมพล.ป ได้นำดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้ไปรวมกับสหรัฐไทยเดิม[16] หลังจากการเยือนของโตโจ จอมพล ป. กลับมองว่าญี่ปุ่นฉวยโอกาส เอาผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไปและแบ่งผลประโยชน์ให้ฝ่ายไทยเพียงเล็กน้อย แม้ว่าญี่ปุ่นจะมอบดินแดนกันตรวดีเพิ่มเติมให้ก็ตาม[17]

หลังจากนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2485 สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้พรางไฟ คือการใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัว ๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้[ต้องการอ้างอิง] ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม ฝ่ายอักษะมีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในยุทธบริเวณยุโรปและแอฟริกาเหนือ ส่วนในเอเชีย ญี่ปุ่นก็สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ได้แล้ว

ความขัดแย้งระหว่างไทยและญี่ปุ่น

ในเดือนกันยายนเดียวกันนั้นญี่ปุ่นเตรียมการจัดตั้ง "กระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพา" หรือ "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" โดยมีความมุ่งประสงค์สำคัญคือ รวมประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกให้กระชับแน่นยิ่งขึ้น ประโยชน์เฉพาะหน้าคือรวบรวมกำลังไว้สำหรับดำเนินสงครามทั้งในทางวัตถุสัมภาระและทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นคิดว่า ถ้าชนะสงครามจะได้อาศัยประเทศเหล่านี้ เป็นแหล่งสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นตลาดจำหน่ายสินค้า ประเทศเหล่านี้จะเป็นยุ้งฉางสำหรับจะใช้เลี้ยงประชาชนพลเมืองญี่ปุ่นต่อไป การรวมประเทศต่างๆ ดังกล่าวให้อยู่ภายใต้การ "คุ้มครอง" และ "การนำ" ของญี่ปุ่น รัฐบาลไทยซึ่งนำโดยจอมพล ป. มีนโยบาย มหาอาณาจักรไทย อยู่แล้วซึ่งขัดแย้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น และมองกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาเป็น กระทรวงอาณานิคม ในรูปแบบใหม่

เอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม ได้รายงานรัฐบาลไทยพร้อมทั้งความเห็น ในความไม่พอใจในการเรื่องการตั้งกระทรวงใหม่นี้ และแจ้งเรื่องร้องเรียนให้รัฐบาลญี่ปุ่นทราบว่า รัฐบาลไทยประท้วงและไม่เห็นด้วยกับกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้ทรงลงพระนามประกาศตั้งกระทรวงกิจการมหาเอเซียบูรพาในเดือน ตุลาคม 2485จอมพล ป. ได้ตอบโต้โดยการไม่เข้าร่วมการประชุมมหาเอเชียบูรพา โดยส่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรไปประชุมแทนเพราะถือว่าประเทศไทยไม่อยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น[18]

รัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นยังมีโครงการสร้างความไม่พอใจให้ฝ่ายไทยอีก โดยการเสนอเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ให้กับนายพลระดับสูงของไทยหลายนาย หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต, จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ แม่ทัพกองทัพพายัพ รวมทั้งจอมพล ป. ด้วย และเสนอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่าวทองคำ ให้แก่นายทหารระดับสูงของไทยในการรบที่เชียงตุงและพม่า แต่จอมพล ป. ได้ปฏิเสธการรับเครื่องราช และได้สั่งให้ทหารระดับสูงบางส่วนปฏิเสธเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากญี่ปุ่น[19]

ทิ้งระเบิด

เครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดที่สะพานพระราม 6

การที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบิน บี 24, บี 29 และ บริสตอล เบลนไฮม์ (Mk.1 L6739) ทิ้งระเบิด ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้ง[ต้องการอ้างอิง] สถานที่ที่ถูกโจมตีได้แก่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้าและโรงงาน[ต้องการอ้างอิง] การทิ้งระเบิดในระยะแรก ระหว่างปี 2486 ถึงกลางปี 2487 เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2487 จึงได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน[ต้องการอ้างอิง] การทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหาร ทำให้ภาพวาดของขรัวอินโข่งถูกทำลาย[ต้องการอ้างอิง] เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้มีแบบบี-24 ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทิ้งระเบิดเวลากลางคืน ปืนต่อสู้อากาศยานได้ยิงต่อสู้โดยใช้ไฟฉายส่อง ค้นหาเป้าหมายแบบประสานกันจากจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน เมื่อจับเป้าคือเครื่องบินได้แล้ว ก็เกาะเป้าไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงทางเครื่องบินทิ้งระเบิด จะต่อสู้โดยยิงปืนกลอากาศสวนมาตามลำแสงของไฟฉาย ซึ่งจะเห็นได้จากกระสุนส่องวิถีจากปืนกลอากาศ ที่ยิงมาเป็นชุดยาว[ต้องการอ้างอิง]

ทางกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะเครื่องบินที่มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี -29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ[ต้องการอ้างอิง]

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2487 ถึงเดือนมกราคม 2488 ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง[ต้องการอ้างอิง] มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน[ต้องการอ้างอิง] ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิงประมาณ 6,100 ลูก ทุ่นระเบิดประมาณ 250 ลูก พลุส่องแสงประมาณ 150 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง เสียหายประมาณ 1,200 หลัง รถจักรเสียหาย 73 คัน รถพ่วงเสียหาย 617 คัน เรือจักรกลเสียหาย 14 ลำ เรืออื่น ๆ ประมาณ 100 ลำทรัพย์สินเสียหายประมาณ 79 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]

อุทกภัยปี 2485

ดูบทความหลักที่: อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2485
น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ในปลายปี 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นที่พระนครและธนบุรี[20] ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายลงไปอีก ซ้ำสภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ก็ขาดแคลนไปแทบทุกอย่าง ทั้งข้าวสาร ยารักษาโรค ราคาข้าวสารถังละ 6 บาท แม้จะหาซื้อได้ยากอยู่แล้วก็ยังต้องกักตุนเพื่อให้ไว้สำหรับกองทัพญี่ปุ่นด้วย และมีพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้กักตุนสินค้าไว้เพื่อโก่งราคา ซึ่งเรียกกันว่า ตลาดมืด และพ่อค้าที่ได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้ว่า เศรษฐีสงคราม เพราะร่ำรวยไปตาม ๆ กันจากเหตุนี้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อถึงคราวนี้ เครื่องบินบี 29 กลับไม่ได้มาทิ้งระเบิดเหมือนอย่างเคย[ต้องการอ้างอิง]

รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปิดทำเนียบรัฐบาลซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ให้ประชาชนทั่วไปมารับแจกข้าวสาร โดยนำหลักฐานคือสำมะโนครัวไปด้วย โดยทำการแจก 1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ คณะผู้แจกโดยมากจะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกและยุวชนทหาร[ต้องการอ้างอิง]

กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

การบังคับบัญชาทางการทหารของญี่ปุ่นในระหว่างสงครามนั้นมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลายครั้ง โดยมีการสั่งการสูงสุดอยู่ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดที่กรุงโตเกียว ในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบนในพื้นที่ต่างๆ เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 มีเพียงฐานทัพญี่ปุ่นในอินโดจีนฝรั่งเศสเท่านั้น จนกระทั่งภายหลังจากเข้ายึดดินแดนอาณานิคมตะวันตกได้บางส่วนแล้ว กองทัพญี่ปุ่นก็ได้ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ที่เรียกว่า “กองทัพใหญ่ภาคพื้นทิศใต้” ที่สิงคโปร์

สำหรับทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาเคลื่อนไหวในไทยช่วงระยะแรกก่อนจัดตั้งกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยนั้นอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพใหญ่ภาคพื้นทิศใต้ที่สิงคโปร์ จนกระทั่งเกิด “กรณีบ้านโป่ง” ที่เกิดการปะทะกันระหว่างทหารญี่ปุ่นกับราษฎรและตำรวจไทยที่บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้บานปลายใหญ่โตและทำให้พันธไมตรีที่เปราะบางระหว่างไทยและญี่ปุ่นเกิดรอยร้าวขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานราชการและราษฎรไทยเริ่มไม่ให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของกองทัพญี่ปุ่นมากขึ้น ดังนั้นภายหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักถึงสถานการณ์ที่เปราะบางต่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ จนกระทั่งเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มได้เปรียบในการรบที่พม่าและได้เริ่มผลักดันให้ญี่ปุนถอยไป ฝายญี่ปุ่นเห็นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรอาจทำการโจมตีประเทศไทยจากทางฝั่งพม่า ดังนั้นญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้ง ”กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” ขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 เพื่อให้เป็นกองกำลังสำหรับการสู้รบ โดยการป้องกันรักษากรุงเทพและประเทศไทยจากการรุกรานของสัมพันธมิตร”กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” นั้นมีกองบัญชาการอยู่ที่หอการค้าจีนที่ถนนสาทร กรุงเทพ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโทนะกะมุระ อะเกะโตะ โดยมีหน้าที่สำคัญสองประการคือ ป้องกันไทยซึ่งเป็นที่มั่นแนวหลังให้กับสมรภูมิพม่า และหน้าที่ในการดูแลกองทัพญี่ปุ่นที่เดินทัพผ่านประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักทั้งสองของกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยมีลักษณะในการดูแลความสงบเรียบร้อยมากกว่าที่จะเป็นกองทัพเพื่อการสู้รบ กล่าวจนถึงที่สุดก็คือการจัดตั้งกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยก็เพื่อรักษาวินัยของทหารญี่ปุ่นเพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสองนั่นเอง[21]

การที่ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อป้องกันการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมองรัฐบาลไทยของจอมพล ป. ในสถานะเดียวกันกับราชอาณาจักรอิตาลีซึ่งเห็นได้จากการที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เกาะซิซิลีที่เยอรมนีส่งกองทัพเข้ามาตั้งฐานทัพในอิตาลีเพื่อปกป้องการคงอยู่ของพันธมิตรมุสโสลินี[22][23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง http://www.csmngt.com/thailand_history.htm http://www.mansell.com/pow_resources/camplists/dea... http://www.winbookclub.com/bookdetail.php?bid=2 http://www.ww2f.com/topic/12620-vichy-versus-asia-... http://www.ibiblio.org/pha/timeline/411208ewp.html http://www.matichon.co.th/news/521630 http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/...