การปล่อยว่าว ของ ประเพณียี่เป็ง

ว่าว ในภาษาล้านนา หมายถึง เครื่องเล่นชนิดหนึ่งทำด้วยกระดาษ สำหรับปล่อยให้ลอยไปตามลม คล้ายกับบอลลูน ตามวัฒนธรรมของล้านนา ในช่วงยี่เป็งจะมีการปล่อยว่าว 2 แบบ คือ 

  1. ว่าวฮม (ว่าวลม) หรือ ว่าวควัน นำกระดาษหลายสี มาทำเป็นถุงรับความร้อนจากควันไฟ ใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปในตัวว่าว เรียกว่า ฮมควัน เพื่อให้พยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศได้ มี2ชนิดคือ ว่าวสี่แจ่ง คือว่าวทรงสี่เหลี่ยม และ ว่าวมน คือว่าวทรงมน มักจะผูกสายประทัดติดที่หางว่าวและจุดเมื่อปล่อย นิยมปล่อยกันในช่วงกลางวัน
  2. ว่าวไฟ ใช้หลักการเดียวกันกับการทำว่าวฮม แต่ใช้กระดาษน้อยกว่า และอาศัยความร้อนจากลูกไฟที่ผูกติดกับแกนกลาง ทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศ ลูกไฟที่ผูกติดแกนกลางในอดีตนั้น ใช้ขี้ย้าหล่อเป็นแท่ง ปัจจุบันนิยมใช้กระดาษชำระชุบขี้ผึ้งเทียน นิยมจุดในตอนกลางคืน

ปัจจุบันนิยมเรียกหรือเรียกเพราะไม่รู้ตามแบบภาคกลางโดยเรียก ว่าวควันหรือว่าวฮม ว่า“โคมลอย” และเรียกว่าวไฟว่า “โคมไฟ” ทั้งๆ ที่โคมแปลว่าเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่าง สันนิฐานว่าการปล่อยว่าวน่าาจะเป็นการทำตามแบบของพวกฝรั่งหรือมิชชันนารี ในเมืองเชียงใหม่[3] [4]

ใกล้เคียง

ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแต่งงานผี ประเพณี ประเพณีมุขปาฐะ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีรับบัว ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีกำฟ้า