ล่องสะเปา ของ ประเพณียี่เป็ง

ในอดีตชาวล้านนาไม่นิยมลอยกระทง แต่นิยมล่องสะเปา หรือไหลเรือสำเภา นิยมทำสะเปากันที่วัด โดยชาวบ้านช่วยกันทำสะเปาเป็นรูปเรือลำใหญ่ วางบนแพไม้ไผ่ และนำสะตวง พร้อมด้วยข้าวของต่างๆ ทั้งหม้อ ไห เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ ใส่ลงไปในสะเปา ในช่วงหัวค่ำของวันยี่เป็ง จึงพากันหามสะเปา พร้อมแห่ด้วยฆ้องกลองจากวัดไปลอยที่แม่น้ำ และทำพิธีเวนทานที่ท่าน้ำก่อนปล่อยสะเปาลอยลงไป ขณะที่สะเปาลอยไปได้ระยะหนึ่ง จะมีคนยากจนคอยดักรอสะเปากลางแม่น้ำ เพื่อนำเอาของอุปโภคต่างๆมาใช้อุปโภคและบริโภค จึงเป็นการบริจาคทานแบบหนึ่ง [7]

ส่วนการลอยกระทง รับมาจากภาคกลางในช่วงหลัง โดยเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เป็นผู้ที่ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่เป็นคนแรก ในช่วง พ.ศ.2460-2470 โดยจุดเทียนบนกาบมะพร้าวทำเป็นรูปเรือเล็ก หรือรูปหงส์ และใช้ท่อนไม้ปอทำเป็นรูปเรือ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ต่อมานายทิม โชตนา นายกเทศมนตรีเมืองเชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ.2490 ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีการลอยกระทงมากขึ้น และมีการจัดงานขึ้นที่ประตูท่าแพ และพุทธสถาน หลังจากนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมการลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นอย่างจริงจังและร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีการประกวดขบวนกระทงเล็ก และขบวนกระทงใหญ่ ต่อมาสมาคมผู้ประกอบการย่านไนท์บาร์ซา ได้จัดประกวดขบวนโคมยี่เป็งขึ้นอีกวันหนึ่ง[8]

ใกล้เคียง

ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแต่งงานผี ประเพณี ประเพณีมุขปาฐะ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีรับบัว ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ประเพณีกำฟ้า ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ