ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย
ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย

ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย

ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (อังกฤษ: Siberian sturgeon) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acipenser baerii ในวงศ์ Acipenseridae มีรูปร่างเหมือนปลาสเตอร์เจียนทั่วไป มีจะงอยปากขาว มีหนวด 4 เส้น ที่หน้าปากด้านหลังมีสีน้ำตาลเทาจนถึงดำ สีท้องมีสีขาวจนถึงเหลือง พบในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในลุ่มแม่น้ำของไซบีเรีย ในรัสเซีย, คาซัคสถาน และจีนขนาดโตเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม สามารถมีอายุยืนได้ถึง 60 ปีมีชนิดย่อยทั้งหมด 2 ชนิด คือ A. b. baicalensis พบในทะเลสาบไบคาล (มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า สเตอร์เจียนไบคาล) และ A. b. stenorrhynchusปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย นับเป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมจับเพื่อการพาณิชย์เพื่อการบริโภคมาก โดยนิยมรับประทาน ไข่ปลาคาเวียร์ และนำไข่ปลาคาเวียร์นี้ไปทำเป็นเครื่องสำอาง สำหรับในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิดนี้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี[2]โดยทำการเพาะฟักจากไข่ปลาที่นำเข้ามาจากรัสเซีย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีอัตรารอดสูงถึงร้อยละ 90 เพราะเป็นสถานที่ ๆ มีอากาศหนาวเย็น โดยปลาจะเติบโตได้ดีในอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส และพบว่าปลาที่จะให้ไข่ ต้องมีความสมบูรณ์และเติบโตจนกระทั่งอายุได้ 10 ปี โดยจะให้ไข่เพียงร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว มีระยะเวลาห่างของการให้ไข่แต่ละครั้ง 2 ปี[3]

ใกล้เคียง

ปลาสเตอร์เจียนขาว ปลาสเตอร์เจียน ปลาสเตอร์เจียนเปอร์เซีย ปลาสเกต ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย ปลาสเตอร์เจียนยุโรป ปลาสเตอร์เจียนใหญ่ ปลาสเตอร์อินโทนาโค ปลาส เดอ ลา คองคอร์ด