ป๋วย_อึ๊งภากรณ์
ป๋วย_อึ๊งภากรณ์

ป๋วย_อึ๊งภากรณ์

ศาสตราจารย์[1] พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān[2] 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[3] ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน[4] และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน[5] เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว[6][7] เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม[8] ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่ประเทศอังกฤษ สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน[9] ได้กล่าวยกย่องป๋วยว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย[10] ป๋วยได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558[11][12]

ป๋วย_อึ๊งภากรณ์

อาชีพ นักเศรษฐศาสตร์, อาจารย์
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยลอนดอน
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
โรงเรียนอัสสัมชัญ
คู่สมรส มาร์เกรท สมิท
บุตร จอน อึ๊งภากรณ์
ไมตรี อึ๊งภากรณ์
ใจ อึ๊งภากรณ์
ก่อนหน้า ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ (รักษาการ)
เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2459
กรุงเทพมหานคร, ไทย
ถัดไป ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี (รักษาการ)
เสียชีวิต 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (83 ปี)
ลอนดอน, สหราชอาณาจักร

ใกล้เคียง

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปวยร์โตรีโก ปวยเล้ง ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 ปวยร์โตรีโกในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ปวยร์โตรีโกในโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

แหล่งที่มา

WikiPedia: ป๋วย_อึ๊งภากรณ์ http://bangkok-today.com/web/15522-2/ http://www.posttoday.com/social/edu/400650 http://web.archive.org/20020206010840/www.geocitie... http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B... http://www.rspg.org/mom/mom.html http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E... http://library.ra.mahidol.ac.th/archive/data/books... http://alumni.tu.ac.th/calendar/detail.aspx?id=4 http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4308/%E0... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/...