ความต้านทาน ของ ผลกระทบที่ผิว

ความต้านทานที่มีประสิทธิผลจริง (อังกฤษ: effective resistance) เนื่องจากกระแสที่ถูกคุมขังอยู่ใกล้กับผิวหน้าของตัวนำขนาดใหญ่ (หนามากกว่า δ) จะสามารถแก้ไขได้เหมือนกับว่ากระแสมีการไหลอย่างสม่ำเสมอผ่านชั้นของความหนา δ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพต้านทาน DC (อังกฤษ: DC resistivity) ของวัสดุนั้น พื้นที่หน้าตัดที่มีประสิทธิผลจะประมาณเท่ากับ δ คูณด้วยเส้นรอบวงของตัวนำ ดังนั้นตัวนำรูปทรงกระบอกยาวเช่นสายไฟที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง D มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับ δ มีความต้านทาน ประมาณ ว่าเท่ากับท่อกลวงที่มีความหนาของผนัง δ ที่มีกระแสตรงไหลผ่าน ความต้านทาน AC ของสายไฟที่มีความยาว L และสภาพต้านทาน ρ {\displaystyle \rho } ก็คือ:

R ≈ L ρ π ( D − δ ) δ ≈ L ρ π D δ {\displaystyle R\approx {{L\rho } \over {\pi (D-\delta )\delta }}\approx {{L\rho } \over {\pi D\delta }}}

การประมาณสุดท้ายสมมติว่า D ≫ δ {\displaystyle D\gg \delta }

สูตรที่สะดวก (ให้เกียรติกับนาย F.E. Terman) สำหรับเส้นผ่าศูนย์กลาง DW ของสายไฟที่มีภาคตัดขวางเป็นวงกลมที่ความต้านทานของมันจะเพิ่มขึ้น 10% ที่ความถี่ f คือ:[4]

D W = 200   m m f / H z {\displaystyle D_{\mathrm {W} }={\frac {200~\mathrm {mm} }{\sqrt {f/\mathrm {Hz} }}}}

ความต้านทาน AC ที่เพิ่มตามที่ได้อธิบายไว้ช้างบนมีค่าแม่นยำสำหรับสายไฟที่แยกอยู่ต่างหากเท่านั้น สำหรับสายไฟที่อยู่ใกล้กับสายไฟอื่น เช่นในสายเคเบิ้ลหรือในขดลวด ความต้านทาน AC ก็ถูกกระทบโดย ผลจากความใกล้ชิด (อังกฤษ: proximity effect) อีกด้วย ซึ่งมักจะทำให้เกิดการเพิ่มอย่างรุนแรงมากในความต้านทาน AC

ใกล้เคียง

ผลกระทบฮอลล์ ผลกระทบที่ผิว ผลกระทบต่อการทำฮัจญ์ในการระบาดทั่วของโควิด-19 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ผลกระทบกิบส์–ดอนนัน ผลกระทบภายนอก ผลกระทบจากอากาศหนาวจัด พ.ศ. 2555 ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลระยะยาวของโควิด-19 ผีกระสือ